หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

2,529 การศึกษาเรื่องแอสไพรินกับเบาหวานจาก ADA 2013

ในการศึกษาของ The Antithrombotic Trialists’ (ATT) collaborators ได้มีการตีพิมพ์เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยเป็นลักษณะของ individual patient-level meta-analysis ของหกการศึกษาขนาดใหญ่ของยาแอสไพรินในป้องกันแบบปฐมภูมิในประชากรทั่วไป การทดลองนี้มีผู้เข้าร่วม 95,000 คน เกือบ 4,000 คนเป็นเบาหวาน โดยรวมแล้วพบว่ายาแอสไพรินช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดจากเหตุการณ์ของหลอดเลือด 12% (RR 0.88, 95% CI 0.82–0.94) ที่ลดได้มากที่สุดคือในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่ไม่เสียชีวิต (nonfatal MI) ส่วนที่มีผลเล็กน้อยคือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่เสียชีวิต (coronary heart disease death) (RR 0.95, 95% CI 0.78–1.15) หรือในโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด (total stroke) มีหลักฐานบางอย่างของความแตกต่างในผลของแอสไพรินต่อเพศ โดยที่แอสไพรินลดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ชายอย่างมีนัยสำคัญแต่ไม่พบในผู้หญิง ตรงกันข้าม แอสไพรินไม่มีผลต่อโรคหลอดเลือดสมองในผู้ชาย แต่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในผู้หญิง และเป็นที่น่าสังเกตว่าผลของยาแอสไพรินต่อเพศไม่พบในการศึกษาของการป้องกันแบบทุติยภูมิ
จากทั้งหกของการศึกษาโดย ATT collaborators พบว่าผลของแอสไพรินต่อเหตการณ์ของหลอดเลือดที่สำคัญคล้ายกันทั้งในผู้ป่วยที่เป็นและไม่ได้เป็นเบาหวาน RR 0.88 (95% CI 0.67–1.15) และ  0.87 (95% CI 0.79–0.96) ตามลำดับ โดยค่าความเชื่อมั่นกว้างกว่าในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานเนื่องจากมีจำนวนน้อยกว่า
ดังนั้นจากข้อมูลหลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน  แอสไพรินมีประสิทธิภาพพอสมควรในการลดเหตุการณ์ของโรคหลอดเลือดอุดตัน ร่วมกับการลดลงอย่างชัดเจนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของการที่มีความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด
ผลข้างเคียงหลักของแอสไพรินคือการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหาร โดยมีความเสี่ยงอยู่ในช่วง 1-5 ต่อ 1,000 คนต่อปีโดยทั่วโลก ในผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease, CVD) มากกว่า 1% ต่อปี พบว่าจำนวนในการป้องกันเหตุการณ์จะใกล้เคียงหรือมากกว่าจำนวนครั้งที่ก่อให้เกิดการมีเลือดออก ถึงแม้ว่าภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นมีผลต่อสุขภาพในพระยะยาวไม่เท่ากัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น