Original article
N Engl J Med October 3, 2013
ผู้รอดชีวิตจากการเจ็บป่วยที่รุนแรงมักจะมีความบกพร่องของการรับรู้เป็นระยะเวลานานหรือการสูญเสียหน้าที่ ซึ่งยังมีลักษณะไม่เด่นชัดนัก จึงได้ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่มีการหายใจล้มเหลวหรือช็อคในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรมหรือศัลยกรรม เพื่อประเมินการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลัน (delirium) ที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลและการประเมินการรับรู้โดยรวม (global cognition) และความสามารถในด้านการบริหาร (executive function) ที่ 3 และ 12 เดือนหลังจากกลับจากโรงพยาบาล โดยการใช้ Repeatable Battery for the Assessment of Neuropsychological Status
ผลการศึกษาสรุปได้ว่าผู้ป่วยหนักอายุรกรรมหอศัลยกรรมมีความเสี่ยงสูงสำหรับความบกพร่องต่อการรับรู้เป็นระยะเวลานาน ภาวะสับสนเฉียบพลันที่ยาวนานกว่ามีความสัมพันธ์กับการรับรู้โดยรวมและความสามารถในด้านการบริหารที่ลดลง ณ 3 และ 12 เดือน
Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1301372
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น