การให้โลหิตจำนวนไม่มากและไม่เร็วเกินไป ไม่จำเป็นต้องอุ่นโลหิต แต่ถ้าจำเป็นต้องอุ่น เช่น
ในกรณี
-ให้โลหิตอย่างรวดเร็ว คือให้ปริมาณ 50 มล./กก./ชม. ในผู้ใหญ่และ 15 มก.กก./ชม. ในเด็ก
-การเปลี่ยนถ่ายโลหิต (exchange transfusion)
-กรณีผู้ป่วยเป็นโรค cold agglutinin syndrome
ควรใช้เครื่องสำหรับอุ่นโลหิตโดยเฉพาะที่ได้รับการรับรอง เช่น blood warmer หรือ waterbath ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ แสดงอุณหภูมิให้เห็น และมีสัญญานเตือนเมื่ออุณหภูมิเกิน แต่บางอ้างอิงอาจยินยอมให้ใช้การอุ่นด้วยน้ำอุ่นแต่ต้องทำการวัดอุณหภูมิให้แน่นอนด้วเทอร์โมมิเตอร์ไม่เกิน 37องศาเซลเซียสโลหิตที่อุ่นแล้วต้องให้แก่ผู้ป่วยทันที ถ้าต้องคืนโลหิตที่อุ่นแล้วต้องแจ้งหน่วยคลังโลหิตด้วย และห้ามใช้ไมโครเวฟในการอุ่นเลือดโดยขาด
Ref: -คู่มือบริการงานธนาคารเลือด โรงพยาบาลราชวิถี
http://medinfo2.psu.ac.th/pathology/Service/LabManual/15_bb_proc_99-114.pdf
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น