วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

2,507 การใช้สารน้ำในผู้ป่วยไอซียู ระหว่างอัลบูมินและน้ำเกลือ (saline) อะไรให้ผลดีกว่ากัน?

A Comparison of Albumin and Saline for Fluid Resuscitation in the Intensive Care Unit
Original article
N Engl J Med  May 27, 2004

ที่มา: ยังคงไม่แน่ใจว่าการเลือกสารน้ำในการสำหรับการช่วยชีวิต (resuscitation fluid) ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหนัก (ICUs) ที่มีผลต่อการรอดชีวิตของผู้ป่วย การศึกษานี้ได้ทำในหลายศูนย์, เป็นการศึกษาแบบ
randomized, double-blind เพื่อเปรียบเทียบผลของการการช่วยชีวิตผู้ป่วยโดยการใช้อัลบูมินหรือน้ำเกลือ (saline) ต่ออัตราการเสียชีวิตในประชากรที่แตกต่างกันของผู้ป่วยในห้องไอซียู
วิธีการศึกษา: ทำการสุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในห้องไอซียูที่ได้รับ 4 % อัลบูมินหรือน้ำเกลือเพื่อเป็นสารน้ำทางหลอดเลือดดำในช่วง 28 วัน การวัดผลลัพธ์หลักคือการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุในช่วงระยะเวลา 28 วันหลังให้การรักษา
ผลการศึษา: จากผู้ป่วย 6,997 คน ที่ผ่านการสุ่ม 3,497 ได้รับอัลบูมิน และ 3,500 คนได้รับน้ำเกลือ; ทั้งสองกลุ่มมีลักษณะพื้นฐานที่คล้ายกัน พบว่ามีผู้เสียชีวิต 726 คนในกลุ่มที่ได้รับอัลบูมิน เทียบกับการเสียชีวิต 729 คนในกลุ่มที่ได้รับน้ำเกลือ (ความเสี่ยงของการเสียชีวิต 0.99; ความเชื่อมั่น 95%, 0.91-1.09, p = 0.87) สัดส่วนของผู้ป่วยที่มีอวัยวะล้มเหลวระบบเดียวและล้มเหลวหลายระบบคล้ายคลึงกันในทั้งสองกลุ่ม (P = 0.85)
ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มในค่าเฉลี่ย (± SD) จำนวนวันนอนในห้องไอซียู (6.5 ± 6.6 ในกลุ่มที่ได้รับอัลบูมิน และ 6.2 ± 6.2 ในกลุ่มที่ได้รับน้ำเกลือ, p = 0.44), จำนวนวันที่นอนในโรงพยาบาล (15.3 ± 9.6 และ 15.6 ± 9.6 ตามลำดับ; P = 0.30), จำนวนวันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ (4.5 ± 6.1 และ 4.3 ± 5.7 ตามลำดับ; P = 0.74), จำนวนวันของการบำบัดทดแทนไต (0.5 ± 2.3 และ 0.4 ± 2.0 ตามลำดับ; p = 0.41)
สรุป: ในผู้ป่วยไอซ๊ยู การใช้ 4 % อัลบูมินหรือน้ำเกลือในการช่วยชีวิตให้ผลลัพท์คล้ายกันที่ 28 วัน

Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa040232

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น