หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

2,500 Carotid stenosis

Clinical practice
N Engl J Med 2013  September 19, 2013

Carotid artery disease พบว่าเป็นสาเหตุประมาณ 10-20% ของโรคหลอดเลือดสมองและภาวะแทรกซ้อน การให้การดูแลที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองทั้งในระดับทุติยภูมิและและอาจรวมถึงในระดับปฐมภูมิด้วย
ระดับการตีบของหลอดเลือดแดงคาโรติด เป็นปัจจัยที่สำคัญของความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
การแข็งตัวของหลอดเลือด (atherosclerosis) เป็นโรคที่ส่งผลต่อการตีบของหลอดเลือดแดงคาโรติดมากที่สุด เกิดขึ้นบ่อยที่สุดที่ทางแยกของหลอดเลือด ( bifurcation)
Atherosclerotic plaques ทำให้เกิดอาการโดยผ่านทางการมีลิ่มเลือดอุดตันที่ส่วนปลายแขนงของหลอดเลือดแดงจอประสาทตา (retinal arteries) หรือหลอดเลือดสมอง (cerebral arteries) เมื่อการตีบแคบของหลอดเลือดอย่างมีนัยสำคัญอาจส่งผลในการลดลงของการใหลเวียนของเลือดเป็นอย่างมาก

Key Clinical Points
-โรคของหลอดเลือดแดงคาโรติด (carotid artery disease) เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของโรคหลอดเลือดสมองและควรได้รับการประเมินโดยใช้วิธีการหนึ่งในหลาย ๆ วิธีที่ไม่รุกล้ำในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA) หรือโรคหลอดเลือดสมองที่มาจากหลอดเลือดแดงคาโรติด
-การควบคุมการสูบบุหรี่, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูงและการใช้ยาต้านเกล็ดเลือดบ่งถึงการลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองในผู้ที่มีโรคหลอดเลือดแดงคาโรติด
-ในผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดหรือ TIA ที่มาจากหลอดเลือดแดงคาโรติด, carotid endarterectomy ควรพิจารณาภายใน 2 สัปดาห์หากมีการตีบมากกว่า 70% ของเส้นผ่าศูนย์กลางของหลอดเลือดแดงคาโรติดข้างนั้นๆ (วัดตามวิธีการที่ใช้ใน North American Symptomatic Carotid Endarterectomy Trial) เนื่องจากการมีหลอดเลือดตีบแข็ง โดยมีประโยชน์น้อยกว่าในผู้ป่วยที่มีการตีบ 50-69% และในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการและไม่มีประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีการตีบของน้อยกว่า 50%
-Carotid stenting เป็นทางเลือกของ carotid endarterectomy โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการผ่าตัดและในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า (น้อยกว่า 70 ปี)

เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
The Clinical Problem
  -Atherosclerosis
  -Dissection and Fibromuscular Dysplasia
Strategies and Evidence
  -Diagnosis
  -Medical Management
  -Carotid Endarterectomy
  -Carotid Stenting
Areas of Uncertainty
Guidelines
Conclusions and Recommendations
Key Clinical Points
Source Information

Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1214999

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น