Evaluation of nausea and vomiting: A case-based approach
Anderson III WD, Strayer SM
American Family Physician
September 15 2013 Vol. 88 No. 6
ในกรณีที่ไม่มีอาการปวดท้องเฉียบพลัน ไม่มีอาการปวดศีรษะอย่างมีนัยสำคัญหรือการที่เพิ่งเริ่มใช้ยาบางชนิด, อาการคลื่นไส้อาเจียนเฉียบพลันมักจะเป็นผลมาจากการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารที่ดีขึ้นได้เอง นอกจากนี้อาการคลื่นไส้อาเจียนยังมียังเป็นผลที่พบได้บ่อยๆ จากการได้รังสีรักษา, เคมีบำบัด และการดมยาสลบผ่าตัด สาเหตุอื่น ๆ ที่อาจเป็นไปได้ ได้แก่ สภาวะที่เกี่ยวเนื่องกับต่อมไร้ท่อ (รวมถึงการตั้งครรภ์), ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง, สาเหตุด้านจิตเวช, การสัมผัสสารพิษ, ความผิดปกติของเมตาโบลิซึม, และการอุดตันหรือการทำงานหน้าที่ผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
สาเหตุของอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างเฉียบพลันสามารถประเมินได้จากประวัติและการตรวจร่างกาย สัญญาณเตือน เช่นการขาดน้ำ ภาวะเป็นกรดที่เกิดจากความผิดปกติของเมตาโบลิซึม หรือความผิดปกติในช่องท้องเฉียบที่ต้องการการประเมินเพิ่มเติม
ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความสงสัยในการวินิจฉัยสาเหตุ การตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐาน อาจรวมถึงการตรวจปัสสาวะ, การตรวจการตั้งครรภ์จากการตรวจปัสสาวะ, CBC, การตรวจทางด้านเมตาโบลิซึม, การตรวจระดับอะไมเลสและไลเปส, TSH, การตรวจและเพาะเชื้ออุจจาระ
การตรวจภาพถ่ายทางการแพทย์รวมถึงการถ่ายภาพเอกซเรย์ช่องท้อง การตรวจอัลตร้าซาวด์ และการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ควรตรวจเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ของศีรษะถ้าสงสัยเกี่ยวกับความผิดปกติของสมองอย่างเฉียบพลัน อาการคลื่นไส้อาเจียนเรื้อรังหมายถึงมีอาการคงอยู่อย่างน้อยหนึ่งเดือน
ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารหรือมีอาการเตือนควรได้รับการประเมินด้วยกล้องส่องตรวจหลอดอาหาร-กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น (esophagogastroduodenoscopy) ถ้าสงสัยกล้ามเนื้อที่ผนังกระเพาะอาหารทำงานน้อยกว่าปกติ (gastroparesis) การตรวจดูช่วงเวลาที่อาหารผ่านกระเพาะอาหาร (gastric emptying study) เป็นสิ่งที่แนะนำ นอกจากนี้สาเหตุที่เกิดจากความผิดปกติจากการทำงาน (functional causes) ยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณาถึงสาเหตุจากทางจิตเวชเมื่อทำการประเมินผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้และอาเจียนเรื้อรัง
Ref: http://www.aafp.org/afp/2013/0915/p371
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น