-ในผู้ป่วย heart failure ที่มี AF โดยอัตราการเต้นหัวใจขณะพักมากกว่า 80 ครั้ง/นาที หรือขณะออกแรงมากกว่า 110 ครั้ง/นาที สามารถใช้ยาได้เลยตั้งแต่แรก โดยเฉพาะการให้ digoxin ร่วมกับ beta blocker จะทำให้ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจได้ดียิ่งขึ้นกว่าการให้ digoxin เดี่ยวๆ
-ขนาดยาที่ใช้คือ 0.125-0.25 มก./วัน ในผู้ป่วยที่การทำงานของไตลดลงควรปรับลดขนาดยาเป็น 0.0625-0.125 มก./วัน โดยมีการตรวจติดตามและปรับระดับยาในเลือดประมาณ 0.5-0.9 นาโนกรัม/ดล. (บางแนวทางใช้ที่ 0.6-1.2 นาโนกรัม/ดล.)
-ส่วนกรณีที่เป็น systolic herat failure โดยไม่มี AF จะพิจารณาให้ในกรณีที่ได้รับยากลุ่ม ACEI (หรือ/และ ARB), beta blocker, diuretic และ spironolactone แล้ว และผู้ป่วยยังมีอาการอยู่ โดยในบางแนวทางจะใช้ใน stage C และ D ตาม ACC/AHA Stages of heart failure ถ้าแบ่งโดย NYHA functional class จะใช้ที่ class 2-4 หรือกรณีที่มี LVEF ตั้งแต่ 40% ลงมา ซึ่งการศึกษาบอกว่าไม่ได้ลดอัตราการเสียชีวิต แต่ช่วยลดอัตราการนอนโรงพยาบาล
-โดยมีข้อห้ามใช้ก็คือ 2nd-3rd AV block (ที่ยังไม่ได้ใส่ pace maker), pre-excitation syndrome, และต้องระวังในกรณีสงสัย sick sinus syndrome, และการที่เคยมีประวัติไม่สามารถทนต่อยาได้ และต้องระวังยาบางตัวที่อาจเพิ่มระดับยา digoxin เช่น amiodarone, diltiazem, verapamil, quinidine และยาปฏิชีวนะบางตัว รวมถึงต้องมีการตรวจระดับโปแตสเซียมและระดับครีเอตินินร่วมด้วยเป็นช่วงๆ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะพิษจาก digoxin และในกรณีที่เป็น sinus rhythm ไม่ต้องให้แบบ loading dose
Ref: -Siriraj Internal Board Review 3rd edition
http://www.thaiheartclinic.com/guidelines/ESC2008CHF.pdf
http://www.aafp.org/afp/2006/0815/p613.html
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น