การเริ่มยากันชักตั้งแต่การชักครั้งแรกอาจจะพิจารณาในกรณีดังต่อไปนี้
1. มีประวัติของโรคหรือความผิดปกติทางสมอง เช่น เคยติดเชื้อในสมอง การมีรอยโรคใน
สมองจากการบาดเจ็บศรีษะ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
2. ตรวจพบมีร่องรอยของความผิดปกติทางระบบประสาท (neurological deficit)
3. มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายจากการชัก หรือมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต อาชีพ
เป็นอย่างมาก เช่นทำงานในที่สูง ขับยานพาหนะ
4. มีอาการชักแบบ partial ยกเว้น idiopathic partial epilepsy
5. พบคลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติแบบ epileptiform discharge
6. ชักแบบ complex partial seizure และมีโอกาศเสี่ยงสูงต่อการเกิดอุบัติเหตุถ้าชักซ้ำ
7. อาชีพที่ต้องอดนอนเป็นประจำ
Ref: -แนวทางการรักษาโรคลมชัก สำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปและทีมสหสาขาวิชาชีพ คณะแพทยศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ สปสช.
-แนวทางการรักษาโรคลมชักสำหรับแพทย์ สถาบันประสาทวิทยา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น