วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

2,467 การประเมินความรุนแรงของ mitral regurgitation ด้วยวิธีการวัด Proximal Isovelocity Surface Area (PISA)

PISA คือ Proximal Isovelocity Surface Area จะมีขนาดใหญ่ในกรณีที่มี volume jets ใหญ่และเล็กลงในกรณี volume jets เล็ก และ PISA เองก็มีการเปลี่ยนตามแต่ละ cardiac cycle
การทำโดยใช้ apical view ซึ่งต้องใช้ความชำนาญและเวลาพอสมควร เพื่อคำนวนหาพื้นที่ (surface area) ตำแหน่งที่ใช้คำนวน PISA คือตำแหน่งที่เป็น flow convergence ที่เกิดในช่วง systolic ดังในรูป
(ขอให้ศึกษาเรื่อง flow ที่เกิดจาก mitral regurgitation และความสำคัญ เพิ่มจากในอ้างอิงด้านล่างครับ) ลด color scale ลงจะทำให้เห็นตำแหน่ง PISA ง่ายและชัดขึ้น ทำการวัดเส้นรัศมีจากรูเปิด (orifice) จนถึงจุดที่มีการเปลี่ยนสี แล้วคำนวนจากสูตร regurgitation flow rate = Va x orifice area (โดย Va คือ aliasing velocity ซึ่งจะได้มาระหว่างการคำนวนดังกล่าว)




-โดย Orifice area =  2 x π x Rยกกำลังสอง (หรืออาจจะคำนวนโดยใช้ application หรือการคำนวนออนไลน์)
-EROA = effective regurgitant orifice area = Reg Flow/PkVReg
การแปลผล
-น้อยกว่า  0.20 cm^2 = mild 
-0.2-0.4 cm^2 = ปานกลาง
-มาก 0.40 cm^2 = รุนแรง

(ซึ่ง Reg flow = regurgitant flow
PkVReg = peak velocity of the regurgitant jet)

แล้วนำค่าที่ได้มาเปรียบเที่ยบกับค่าอ้างอิงเพื่อประเมินความรุนแรง
วีดีโอการวัด PISA http://www.youtube.com/watch?v=_hYdJAnoyK0
หรือ http://www.youtube.com/watch?v=O0EapRNaNJ0

Ref:
http://www.echoincontext.com/learn_anat_pisa.asp
http://echocardiographer.org/Calculators/Calculator.MRPISA.html
http://www.wikiecho.org/wiki/Proximal_isovelocity_surface_area
http://ehjcimaging.oxfordjournals.org/content/4/4/237/F2.expansion

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น