มีน้องสอบถามเรื่องกรณีผู้ป่วย COPD แล้วมีอาการกำเริบเฉียบพลันร่วมกับสงสัยการติดเชื้อแบคทีเรียจะพิจารณาการให้ systemic steroid เช่น dexamethasone หรือ prednisolone อย่างไร?
จากการสืบค้นพบว่าแนวทางส่วนใหญ่มักจะไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ คือจะแยกเขียนในส่วนของการให้คอร์ติโคสเตียรอยด์ และส่วนการให้ยาปฏิชีวนะ แต่ไม่ได้กล่าวถึงในในหัวข้อนี้อย่างชัดเจน ซึ่งจากการ
สืบค้นเพิมเติมจึงได้เป็นเพียงแนวทางกว้างๆ เพื่อประกอบการพิจารณาและตัดสินใจดังนี้ครับ
-ในกรณีที่มีอาการกำเริบเฉียบพลันถือเป็นข้อบ่งชี้ในการให้ systemic steroid (เนื่องจาก inhaled corticosteroid จะมีบทบาทน้อยในช่วงกำเริบเฉียบพลัน) ยกเว้นว่าจะมีข้อห้ามที่มีความรุนแรง (serious contraindications) ซึ่งต่อมาเราก็มาดูว่าข้อห้ามดังกล่าวที่เกี่ยวกับการติดเชื้อมีอะไรบ้าง เช่น วัณโรคที่กำลังมีความรุนแรงยังไม่สงบ (active tuberculosis), การติดไวเชื้้อบางอย่าง เช่น สุกใส, งูสวัด, หัด รวมถึงการติดเชื้อในตำแหน่งสำคัญๆ บางอย่าง เช่นที่กระจกตา และจากข้อมูลก็ต้องใช้เวลาสักพักจึงจะมีผลต่อการติดเชื้ออย่างชัดเจน และใช้ขนาดสูง (แต่ในกรณีนี้จะใช้ขนาดสูงอยู่แล้ว)
-บางอ้างอิงจะกล่าวโดยรวมถึงข้อห้ามในกรณีการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราเฉียบพลัน แต่ผมลองพิจารณาดูแล้ว เช่น ในกรณีการติดเชื้อแบคทีเรีย จะพบว่าสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน
ส่วนหนึ่งก็มาจากการติดเชื้อโดยเฉพาะในทางเดินหายใจ ซึ่งเราคงต้องเปรียบเที่ยบถึงประโยชน์-ผลดี-ผลเสียที่จะเกิดขึ้น ยกตัวอย่างได้แก่ กรณีที่มีการกำเริบเฉียบพลันรุนแรงผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิตจากการขาดออกซิเจน การให้คอร์ติโคสเตียรอยด์ ในช่วงสั้นๆ จะทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิต แต่ถ้าไม่ให้อาจเสียชีวิตได้ โดยการติดเชื้อที่มีอยู่อาจไม่รุนแรง มีเวลาในการแก้ไขจัดการ ยังพอมีเวลา.oการให้ยาปฏิชีวนะมากกว่าเมื่อเทียบกับการที่ผู้ป่วยขาดออกซิเจนจากการอุดกั้นของหลอดลม
-จากการศึกษาล่าสุดพบว่าการให้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ 5 วันไม่แตกต่างจากการให้นานกล่าวนี้ ซึ่งก็จะทำให้เราสบายใจมากขึ้นในการใช้ในระยะเวลาที่ลดลง
-และอย่าลืมว่า threatening infections บางอย่างก็มีการศึกษาพบว่าได้ประโยชน์จากการให้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ในช่วงแรกๆ เช่น peunumonia, miliary tuberculosis, septicemia, HIV associated pneumocystis carinii pneumonia เป็นต้น
ดังนั้นจากข้อมูลข้างต้นคิดว่าน่าจะพอเป็นประโยชน์เพื่อช่วยในการพิจารณาและตัดสินใจการใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์ในภาวะดังกล่าว และถ้าท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมหรือจะให้ความเห็นเพิ่มเติมก็ยินดีนะครับ
Ref: http://www.nhs.uk/Conditions/Corticosteroid-(drugs)/Pages/Sideeffects.aspx
http://www.aafp.org/afp/2001/0815/p603.html
http://pharmacology4students.com/2010/05/30/enumerate-the-contraindications-of-corticosteroids/
http://eczema.dermis.net/content/e05treatment/e02avaliable/index_eng.html
http://www.pacificu.edu/optometry/ce/courses/22300/oculardiseasepg4.cfm
http://jama.jamanetwork.com/article.aspx?articleid=1688035
http://medical-dictionary.thefreedictionary.com/corticosteroids
http://journal.publications.chestnet.org/article.aspx?articleid=1061951
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556
2,466 ข้อมูลเพื่อช่วยในการพิจารณาและตัดสินใจให้คอร์ติโคสเตียรอยด์ ในผู้ป่วย COPD exacerbation ที่สงสัยมีการติดเชื้อในร่างกาย
ป้ายกำกับ:
Critical care,
Drug,
Infectious disease,
Pulmology
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น