Betahistine (N alpha-methyl-2-pyridylethylamine) มีโครงสร้างเป็น weak histamine H1 receptor agonist และมีคุณสมบัติเป็น potent H3 receptor antagonist [โดย H3 receptor ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ CNS มีเพียงส่วนน้อยที่อยู่ใน PNS]
Betahistine ทำให้การชดเชยการทรงตัว (vestibular compensation) ในสัตว์ดีขึ้นในรูปแบบของการมีความผิดปกติฝั่งเดียว (unilateral vestibular dysfunction) โดยเฉพาะกลไกของยาต่อระบบประสาทส่วนกลาง
โดยมีการเสนอว่า betahistine อาจจะลดของการทำงานที่ไม่สมดุลของ sensory vestibular organs ที่ส่วนปลาย นอกเหนือจากการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่ vestibulocochlear โดย antagonising local H3 heteroreceptors
Betahistine ออกฤทธิ์ต่อส่วนกลางโดยการเพิ่มการสังเคราะห์ฮีสตามีนภายใน tuberomammillary nuclei ของ posterior hypothalamus และเพิ่มการหลั่งฮีสตามีนภายใน vestibular nuclei ผ่านทาง antagonism of H3 autoreceptors
ซึ่งกลไกต่างๆ เหล่านี้ร่วมกับผลที่มีเฉพาะเจาะจงน้อยกว่าของ betahistine ในการควบคุมผ่านทาง cerebral H1 receptors จะส่งเสริมและเอื้อต่อการชดเชยความผิดปกติของการทรงตัว
ซึ่งจากการอ่านรายละเอียดจากบทคัดย่อผมก็ยังงงๆ อยู่ อาจเพราะรายละเอียดน้อย แต่พอดีไม่สามารถอ่านฉบับเต็มได้ ถ้าใครมีฉบับเต็มจะช่วยอนุเคระห์มาให้อ่านเพิ่มจะขอบพระคุณอย่างมากเลยครับ
อ้างอิงและอ่านต่อ: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11700150
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556
2,461 กลไกของ betahistine ที่เกี่ยวกับการรักษาอาการเวียนศรีษะบ้านหมุนและความผิดปกติของการทรงตัว
ป้ายกำกับ:
Drug,
Ear nose throat,
Neurology
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น