วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

2,459 การศึกษาเปรียบเทียบ proton-pump inhibitors ชนิดให้ทางหลอดเลือดดำกับให้โดยการรับประทานในภาวะเลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร

Intravenous vs. oral proton-pump Inhibitors for bleeding peptic ulcers 
David J. Bjorkman, MD, MSPH (HSA), SM (Epid.) reviewing Tsoi KKF et al. Aliment Pharmacol Ther 2013 Aug 5

การใช้ยา proton-pump inhibitors (PPIs) แสดงให้เห็นถึงการลดลงของการมีเลือดออกซ้ำในผู้ป่วยที่มีเลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหารและผู้ที่มีสิ่งบ่งบอก (stigmata) ถึงความเสี่ยงสูงในการมีเลือดออกซ้ำ
ในการศึกษาส่วนใหญ่ พบว่าผู้ป่วยจะได้รับ PPIs ทางหลอดเลือดดำเป็นเวลา 3 วัน หลังจากการรักษาด้วยการส่องกล้อง มีการศึกษาไม่มากเพื่อเทียบการให้โดยการรับประทานกับการให้ทางหลอดเลือดดำ
นักวิจัยได้ดำเนินศึกษาโดย systematic review และ meta-analysis จากหลายๆ การศึกษาที่มีอยู่ โดยทำการ randomized, prospective studies เพื่อดูผลลัพท์ทางคลินิกแล้วนำมาเปรียบเทียบในผู้ป่วยที่มีเลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหารจำนวน 615 คน (อายุเฉลี่ย 60 ปี; เป็นผู้ชาย 71%) ที่ได้รับยาโดยการรับประทานหรือทางหลอดเลือดดำ
จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าไม่มีไม่แตกต่างกันในการมีเลือดออกซ้ำ, การให้เลือด, การผ่าตัดหรือทุกสาเหตุการเสียชีวิต ระยะเวลาของการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสั้นสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยาแบบรับประทาน การวิเคราะห์กลุ่มย่อยของการให้ยาทางหลอดเลือดดำขนาดสูง ในผู้ป่วยที่มีสิ่งบ่งบอกถึงการมีความเสี่ยงสูงพบว่าไม่มีแตกต่างกัน
โดยในหัวข้อความคิดเห็นได้กล่าวไว้ว่า แม้ว่าทั้งสองวิธีจะมีประสิทธิภาพในการรักษา แต่ความถูกต้องเที่ยงตรงยังเป็นที่สงสัย โดยการศึกษาได้รวม meta-analysis ที่ไม่ใหญ่และยังไม่ได้คุณภาพเต็มที่ รวมถึงความแตกต่างของการรักษาโดยการส่องกล้องที่ใช้ และบางการศึกษาได้รวมผู้ป่วยที่มีสิ่งบ่งบอกการมีความเสี่ยงต่ำเข้าด้วยซึ่งจะไม่ได้ประโยชน์จากการให้ยา จึงน่าจะมีการทำการศึกษาที่ใหญ่และการออกแบบที่ดีเพื่อการเปรียบเทียบต่อไป

Ref: http://www.jwatch.org/na31982/2013/08/16/intravenous-vs-oral-proton-pump-inhibitors-bleeding-peptic

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น