โดย British Thoracic Society (BTS) Guideline for non-CF Bronchiectasis, A Quick Reference Guide
-ควรมีการส่งเสมหะเพาะเชื้อก่อน
-ยาที่เลือกตัวแรกคือ amoxicillin ขนาด 500 มก. 3 ครั้ง/วัน ถ้าแพ้ยาเพนนิซิลลินให้เป็น clarithromycin 500 มก. 2 ครั้ง/วัน
-ถ้าอาการรุนแรงหรือการมี colonize อย่างต่อเนื่องของเชื้อ Haemophilus influenza ให้ amoxicillin
1,000 มก. 3 ครั้ง/วัน
-ให้ ciprofloxacin ในผู้ที่มีการ colonize โดยเชื้อ Pseudomonas aeruginosa โดยใช้ด้วยความระมัดระวังในผู้สูงอายุ
-ผลเสมหะเพาะเชื้อในครั้งก่อนๆ สามารถนำมาช่วยในการตัดสินใจในการเลือกใช้ยา
-ถ้าไม่ตอบสนองต่อการใช้ยาควรจะมีการส่งเสมหะเพาะเชื้อใหม่ทันที
-การใช้่ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ ควรพิจารณาในผู้ที่อาการรุนแรง มีการดื้อต่อยา หรือไม่ตอบสนองต่อการใช้ยาแบบรับประทาน
-ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนเรื่องการให้ยาต้านไวรัสในการป้องกันแบบ routine
-ไม่มีความจำเป็นต้องให้ยา 2 ชนิดร่วมกันในกรณี colonize ของเชื้อ Haemophilus influenzae, Moraxella catarrhalis, Staphylococcus aureus (methicillin-sensitive) และ Streptococcus pneumoniae
-ถ้าพบเชื้อที่เป็นสาเหตุมากกว่า 1 ชนิด ให้เลือกใช้ยาปฏิชีวนะที่สามารถครอบคลุมเชื้อทั้งหมดได้ แต่ถ้าทำไม่ได้จึงพิจารณายาให้ยา 2 ชนิดร่วมกัน
-ถ้าผลเพาะเชื้อเป็น Pseudomonas aeruginosa และมีความไวต่อยา ciprofloxacin ชนิดรับประทาน สามารถให้ยา ciprofloxacin อย่างเดียวเป็นยาทางเลือกแรกได้
-ถ้าเชื้อ Pseudomonas aeruginosa ดื้อต่อยา 1 ชนิดหรือมากกว่า ควรให้ยาปฏิชีวนะ 2 ขนิดร่วมกัน โดยมี ciprofloxacin อยู่ในนั้น 1 ตัว หรืออาจใช้ในกรณีที่แพทย์เห็นว่าเพื่อช่วยลดการดื้อยา
-MRSA ควรให้ยารับประทาน 2 ชนิด หรือยาทางหลอดเลือดดำ 1 ชนิด
-ยา aminoglycosides ทางหลอดเลือดดำ ควรใช้อย่างเหมาะสม ในขนาดที่มีประสิทธิภาพดี
และมีระบบการตรวจสอบในสถานซึ่งได้ได้รับความคิดเห็นจากนักจุลชีววิทยาในพื้นที่และเภสัชกร
Ref: Click
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น