Skip the Emergency Department to Save Time?
Howard C. Herrmann, MD reviewing Bagai A et al. Circulation 2013 Jul 23. Antman EM. Circulation 2013 Jul 23.
เพื่อศึกษาว่าผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยคลื่นหัวใจ STEMI จากภายนอกโรงพยาบาลจะดีขึ้นเมื่อมีการลัดข้ามแผนกฉุกเฉินไปยังห้องตรวจสวนหัวใจเพื่อทำ PCI หรือไม่? นักวิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ป่วย STEMI จำนวน 12,581 คนที่ขึ้นทะเบียนในสหรัฐที่ถูกส่งตัวโดยหน่วยบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) ไปยังโรงพยาบาลที่มีความสามารถในการทำ PCI
จากการศึกษานี้มีผู้ป่วยจำนวน 1,316 คน (10.5%) ซึ่งไม่ต้องผ่านห้องฉุกเฉิน โดยมีการเพิ่มขึ้นจาก 8.5% ในปี 2008 เป็น 11.5% ในปี 2011; ผู้ป่วยจะมีการลัดโดยไม่ต้องผ่านห้องฉุกเฉินในช่วงเวลาทำงานปกติมากกว่าในช่วงนอกเวลา (18% เทียบกับ 4% ของเวลา) เวลาเฉลี่ยระหว่างการที่บุคลากรทางการแพทย์คนแรกที่พบ (FMC) และการมาถึงโรงพยาบาลช้ากว่าเล็กน้อยในหมู่ผู้ป่วยที่ไม่ผ่านแผนกฉุกเฉิน เมื่อเทียบกับในผู้ที่ผ่านแผนกฉุกเฉิน (39 เทียบกับ 30 นาที)
แต่อย่างไรก็ตามระยะเวลาเฉลี่ยในการกลับมามีการใหลเวียน (ระยะจากบุคลากรทางการคนแพทย์แรกที่พบจนถึงการใช้อุปกรณ์ถ่างขยายหลอดเลือดแดงโคโรนารี) ได้เร็วกว่าอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มที่ลัดข้ามแผนกฉุกเฉิน (68 เทียบกับ 88 นาที) และพบว่ามีความแตกต่างอย่างนัยสำคัญที่มากของระยะเวลาเฉลี่ยในการกลับมามีการใหลเวียนใหม่ในช่วงเวลาที่น้อยกว่า 90 นาที (81% ของผู้ป่วยที่ลัดข้ามแผนกฉุกเฉินเทียบกับ 54% ของผู้ป่วยที่มีต้องผ่านห้องฉุกเฉิน) ประโยชน์จากการลัดข้ามแผนกฉุกเฉินมีความคล้ายคลึงกันในช่วงเวลาทำงานปกติและนอกเวลา แม้ว่าทั้งหมดจะเร็วกว่าในช่วงเวลาปกติ โดยที่ adjusted mortality risk คล้ายกันในทั้งสองกลุ่ม
Ref: http://www.jwatch.org/na31837/2013/08/06/skip-emergency-department-save-time
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556
2,408 การที่ไม่ต้องผ่านห้องฉุกเฉินจะช่วยลดระยะเวลาในผู้ป่วย STEMI?
ป้ายกำกับ:
Cardiology,
Critical care
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น