ขอขอบคุณสำหรับความเห็นที่ร่วมเรียนรู้ครับ
ผลจากรังสีแพทย์อ่านว่า: Mixted subacute to chronic subdural hematoma along left frontal, temporal and parietal regions cause subfalcine and descending trantentorial brain herniation
-จากภาพพบ CT มีลักษณะเป็นเสี้ยวพระจันทร์ (crescent) ซึ่งเป็นลักษณะของการเลือดออกแล้วขังอยู่ใน subdural space โดยลักษณะความเข้มของเลือดที่อยู่ใน subdural hematoma จะมีความแตกต่างกันไปตามระยะเวลาที่มีเลือดออก โดยในช่วงเฉียพลัน (acute phase) คือประมาณ 1 สัปดาห์แรกจะมีลักษณะ
hyperdense ต่อมาในช่วงกึงเฉียบพลัน (subacute phase) คือประมาณช่วง 2-3 สัปดาห์ จะมีลักษณะ
isodense ถัดมาจะเข้าสู่ระยะเรื้อรัง จะมีลักษณะ hypodense ที่สำคัญคือช่วงที่มีลักษณะ isodense ไปกับเนื้อสมองจะทำให้ดูยาก แต่ควรสงสสัยในกรณีที่พบมีลักษณะทางคลินิกของการกดเบีนดเนื้อสมอง (mass effect) การพบมี midlineshift หรือ blunting of sulci ซึ่ง MRI จะได้เปรียบกว่าตรงจุดนี้
-โดย subfalcine herniation คือการที่บริเวณใต้รอยแบ่งกึ่งกลางระหว่างสมองใหญ่สองซีกหรือ falx cerebri เกิดมีการเคลื่อนของสมองใหญ่ซีกหนึ่งไปยังซีกตรงข้ามที่มีแรงดันน้อยกว่า
-ส่วน transtentorial herniation คือการที่เนื้อสมองมีการข้าม tentorium ที่ระดับ incisura โดยแบ่งได้เป็น ascending และ descending transtentorial herniation ซึ่งมีกลไกและลักษณะของการเกิดแตกต่างกัน (แต่ transtentorial herniation เองก็ยังมีการแบ่งแบบอื่นๆ ด้วย) ขอให้ศึกษาเพิ่มเติมจากอ้างอิงด้านล่างนะครับ
Chronic subdural hematoma at left frontal convexity, causing subfalcine and transtentorial brain herniation.
ตอบลบ