ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังสมดุลย์ของธาตุเหล็กจะมีการเปลี่ยนแปลงในหลายจุดของวงจรหมุนเวียนธาตุเหล็ก เหตุผลยังไม่ชัดเจนนัก แต่จากที่มีข้อมูลพบว่ามีการลดลงของธาตุเหล็กที่สะสมในร่างกายและพบว่าความสามารถในการนำธาตุเหล็กไปใช้ลดลง ระดับของทรานเฟอร์รินจะมีประมาณ 2/3 ของค่าปกติทำให้เกิดการลดการขนส่งธาตุเหล็กไปยังไขกระดูก การสูญเสียธาตุเหล็กจะเกิดขึ้นหลายเท่าในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเมื่อเปรียบเทียบกับคนปกติ (ปกติจะมีการสูญเสีย 1-2 มก./วัน จากการมีเลือดออกและการหลุดลอกของเซลล์ผิวหนังและเซลล์เยื่อบุต่างๆ) แมคโครฟาจจะเก็บกินธาตุเหล็กจากเม็ดเลือดแดงเซลแก่ที่เสื่อมสภาพ ในโรคไตเรื้อรังจะพบว่ามีการปิดกั้นการปล่อยธาตุเหล็กจากแมคโครฟาจไปสู่ทรานเฟอร์ริน และในบางอ้างอิงกล่าว่าอายุของเม็ดเลือดแดงลดลงและความยืดยุ่นของผนังเม็ดเลือดแดงลดลงจากการมีของเสียที่ไม่สามารถขับออกโดยไตแล้วคั่งค้างในเลือด ผู้ป่วยมักมีปัญหาการขาดสารอาหารและธาตุเหล็กจากการรับประทานได้ลดลง การดูดซึมธาตุเหล็กทำได้ลดลง มีโอกาสการสูญเสียเลือดง่ายเนื่องจากการทำหน้าที่ของเกล็ดเลือดลดลง และถ้าผู้ป่วยมีการล้างไตทางหลอดเลือด (hemodialysis) จะมีการสูญเสียธาตุเหล็กประมาณ 2 กรัม/ปี ที่สำคัญคือการที่ร่างกายมีปริมาณอีริทโทรโพอีตินลดลง ทำให้การสร้างเม็ดเลือดแดงลดลงยิ่งส่งผลให้เกิดภาวะซีด ซึ่งสาเหตุนี้ถือว่าเป็นสาเหตุหลักของภาวะซีดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ดังนั้นหลักการรักษาคือต้องให้ยาอีริทโทรโพอีตินร่วมกับการเสริมธาตุเหล็ก ส่วนการเสริมธาตุเหล็กโดยการรับประทานกับวิธีการให้ทางหลอดเลือดดำมีข้อดี-ข้อด้อยแตกต่างกันอย่างไร ขอให้ศึกษาเพิ่มเติมนะครับ โดยภาวะซีดจะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อ GFR ตั้งแต่ 60 มล./นาที (โรคไตเรื้อรังระยะ 3) ลงมา
Ref: Anemia in chronic kidney disease:Causes, diagnosis, treatment, Saul Nurko, MD
http://www.renalandurologynews.com/iron-supplements-in-ckd-an-update/article/122241/#
http://www.uptodate.com/contents/diagnosis-of-iron-deficiency-in-chronic-kidney-disease
http://content.nejm.org/cgi/content/full/352/10/1011
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20014980
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น