หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

2,381 การอ่อนแรงแบบ pyramidal (pyramidal weakness)

การอ่อนแรงแบบ pyramidal weakness จะพบว่า แขนจะอ่อนแรงด้าน extensor มากกว่าด้าน flexor และในทางตรงข้ามขาจะอ่อนแรง flexor มากกว่า extensor ซึงการตรวจพบลักษณะดังกล่าวจะช่วยให้เราสามารถให้การวินิจฉัยโรคของการอ่อนแรงที่เกิดจากระบบปิรามิดได้อย่างรวดเร็วแม่มยำ

โดยสิ่งที่เกิดขึ้นสามารอธิบายได้จากความรู้พื้นฐานทางด้านระบบประสาทดังนี้
ระบบปิรามิดเริ่มจากเซลล์ที่มีรูปร่างคล้ายปิรามิดที่มีขนาดใหญ่ เรียกว่า giant betz cell ใน primary motor cortex  จะมีแอกซอน (axon) วิ่งผ่านลงมาทาง corona radiata มารวมกันเป็น tract ที่ internal capsule ไปยัง cerebral peduncle ของก้านสมองส่วน midbrain เมื่อถึงสมองส่วน medulla จะเกิดการทอดไปยังฝั่งตรงข้าม ณ บริเวณที่เรียกว่า pyramidal decussation และจะเกิดการรวมกลุ่มกันเป็น lateral corticospinal tract ไปสิ้นสุดยังไขสันหลังซึ่งเป็นจุดหมายปลายทาง โดยใยประสาทนี้จะไปเลี้ยงเซลล์ประสาทอัลฟมอเตอร์ (α motor neuron) และแอกซอนของเซลล์ประสาทมอเตอร์ก็จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อลาย (skeleton muscle) ต่อไป เนื่องจากเมื่อมีรอยโรคจะไม่มีการสัญญารประสาทยับยั้งมาจากสมองส่วนของ cortex (cortical inhibition) มายังที่ flexor ของร่างกายส่วนบนและ extensor ของร่างกายส่วนล่างจึงก่อให้เกิด reciprocal inhibition ในส่วน extensor ร่างกายส่วนบน และ flexor ในส่วนของร่างกายส่วนล่าง
Reciprocal inhibition คือการที่กล้ามเนื้อฝั่งหนึ่งของข้อคลายตัวเพื่อปรับตัวต่อการหดตัวของกล้ามเนื้ออีกฝั้่งหนึ่งของข้อ และอย่าลืมว่าลักษณะที่อ่อนแรงเป็นผลมาจากระบบปิรามิดของสมองในฝั่งตรงกันข้าม
และสิ่งที่ควรตระหนักคือการอ่อนแรงแบบ pyramidal ก็สามารถเกิดได้ใน lower motor neuron (LMN) syndromes เช่น Guillain-Barré syndrome และ acute UMN syndromes เช่น spinal shock ในช่วงแรก ก็อาจมีลักษณะของ LMN ได้ เช่นการมี  flaccidity และ areflexia 

Ref:
http://en.wikipedia.org/wiki/Upper_motor_neuron_lesion
https://www.facebook.com/Neurologeek/posts/657275904289449
http://www.spectrumak.com/resources/spectrum-articles/muscle-patterns.html
http://doctorsjunction.blogspot.com/2012/12/upper-motor-neurone-umn-syndrome.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น