Original article
Engl J Med 2013 July 11, 2013
ที่มา การลดน้ำหนักเป็นสิ่งที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 บนพื้นฐานของข้อมูลจากการศึกษาในระยะสั้น แต่ผลกระทบระยะยาวเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือดยังไม่ทราบ
การศึกษานี้จะได้ตรวจสอบว่าการดำเนินชีวิตแบบเข้มงวดเพื่อลดน้ำหนักจะสามารถลดภาวะการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจได้หรือไม่
วิธีการศึกษา
ดำเนินการใน 16 ศูนย์การศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการสุ่มผู้ป่วยน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนซึ่งเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 5,145 คน เพื่อเข้าส่วนร่วมในการดำเนินชีวิตแบบเข้มงวดที่สนับสนุนการลดน้ำหนักโดยผ่านการลดแคลอรี่จากอาหารและเพิ่มการออกกำลังกาย (กลุ่มที่ได้รับการบำบัด) หรือกลุ่มที่ได้รับเฉพาะความรู้-ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโรคเบาหวาน (กลุ่มควบคุม) ผลลัพธ์หลักประกอบไปด้วยการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ, กล้ามเนื้อหัวใจตายที่ไม่ได้มีการเสียชีวิต, โรคหลอดเลือดสมองที่ไม่ได้มีการเสียชีวิต หรือการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเกียวกับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในช่วงการติดตามนานที่สุด 13.5 ปี
ผลการศึกษา
การศึกษาได้หยุดลงก่อนบนพื้นฐานของการวิเคราะห์เมื่อติดตามเฉลี่ยที่ 9.6 ปี การลดของน้ำหนักมีมากกว่าในกลุ่มที่ได้รับดำเนินชีวิตอย่างเข้มงวดเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมในตลอดการศึกษา (8.6% เทียบกับ 0.7% ณ วันที่ 1 ปี, 6.0% เทียบกับ 3.5% ณ สิ้นปีการศึกษา)
การบำบัดในการดำเนินชีวิตอย่างเข้มงวดยังทำให้เกิดการลดลงของ glycated hemoglobin มากกว่าและมีการเพิ่มของสมรรถภาพทางกายมากกว่า ตลอดจนการลดลงปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดที่เกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจยกเว้น LDL แต่พบว่าผลลัพธ์หลักเกิดขึ้นในผู้ป่วย 403 คนในกลุ่มที่ได้รับการบำบัดและ 418 คนในกลุ่มควบคุม (1.83 และ 1.92 เหตุการณ์/100 person-years ตามลำดับ; ค่า hazard ratio ในกลุ่มแทรกแซง, 0.95; ช่วงความเชื่อมั่น 95%, 0.83-1.09, P = 0.51)
สรุป
การให้การดูแลรักษาด้วยการดำเนินชีวิตอย่างเข้มงวดโดยมุ่งเน้นไปที่การลดน้ำหนักไม่ได้ลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินหรือผู้ทีอ้วนซึ่งเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 (ได้รับทุนสนับสนุนโดยสถาบันสุขภาพแห่งชาติและอื่น ๆ)
อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1212914#t=article
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น