ในผู้ป่วยซึ่งเป็นโรคไตเรื่อรังจะพบว่ามีทั้งการเพิ่มขึ้นของการแข็งตัว-อุดตันของหลอดเลือดแดงและการเกิดเลือดออกง่าย และในผู้ป่วยซึ่งเป็นโรคไตเรื่อรังในระยะที่เป็นมากจะทำให้มีปัจจัยที่จะนำไปสู่การแข็งตัวของเลือด (procoagulant) มีการคงอยู่อย่างถาวร และในภาวะที่มีของเสียคั่งในกระแสเลือด (uremia) จะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับการสูญเสียการทำหน้าที่ของเกล็ดเลือด (platelet dysfunction) ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดมีภาวะเลือดออก ซึ่งกลไกของการเกิดยังคงไม่เป็นที่เข้าใจอย่างขัดเจน โดยในปัจจุบันนี้เชื่อว่าความผิดปกติในการห้ามเลือดดังกล่าวเกิดจากการเพิ่มขึ้นของ circulating TF และ PAI-1 ซึ่งจะนำไปสู่ความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดและหัวใจ แต่บทบาทที่แน่นอนของการก่อให้เกิดความผิดปกติดังกล่าวยังไม่เป็นที่ทราบ นอกจากนั้นยังคงไม่ทราบว่าทำไม procoagulant นี้จึงมีแนวโน้มเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคไตเรื่อรังและมีปฏิกิริยาปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดแบบดั้่งเดิมและปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ไม่ใช่รูปแบบเดิม
การรักษาในระยะยาวคือการให้การรักษาบำบัดทดแทนไต (renal replacement therapy) การให้ erythropoietin ก็มีส่วนช่วยเนื่องจากการที่มีเม็ดเลือดแดงมากขึ้นจะมีกลไกส่วนหนึ่งที่ทำให้การเกิด platelet adhesion ดีขึ้น ส่วนการรักษาในภาวะฉุกเฉินคือการให้ในผู้ป่วยที่กำลังมีเลือดออกหรือต้องทำผ่าตัด ให้ใช้ DDAVP ซึ่งจะทำให้เกิดการเพิ่มของระดับ vWF และ factor VIII ในเลือดในทันทีหลังการให้ หรืออาจจะให้ cryoprecipitate ซึ่งมี vWF และ factor VIII เป็นส่วนประกอบ
นอกจากนั้นการใช้ estrogen สามารถช่วยลดการมีเลือดออกในผู้ป่วยที่มีของเสียคั่งในกระแสเลือด
Ref:
Disorders of Hemostasis Associated with Chronic Kidney Disease
Diana I. Jalal, M.D.,
Michel Chonchol, M.D.,
and Giovanni Targher, M.D.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น