ช่วงนี้มีภาวะไข้เลือดออกระบาดรุนแรงเป็นวงกว้าง จึงทบทวนเรื่องการให้เกล็ดเลือดในผู้ป่วยไข้เลือดออก
แม้ว่าผู้ป่วยจะมีเกล็ดเลือดน้อยกว่า 20,000 /mm3ก็ไม่จำเป็นต้องให้เกล็ดเลือดทุกราย เพราะเกล็ดเลือดมักจะถูกทำลายอย่างรวดเร็วหลังได้รับ โดยจะให้ในกรณีที่มี clinical significant bleeding ถ้าไม่มีลักษณะทางคลินิกของการมีเลือดออก พิจารณาให้เกล็ดเลือดในกรณีทีมี prolong partial thromboplastin time (PTT) หรือ thrombin time (TT) เนื่องจากเป็นสิ่งบ่งขี้ว่าผู้ป่วยมีโอกาสมีเลือดออกได้มาก แต่ในกรณีที่เกล็ดเลือดน้อยกว่า 20,000 /mm3 ควรจะมีการติดต่อธนาคารเลือดเพื่อเตรียมผลิตภัณฑ์เลือดไว้เผื่อมีความจำเป็นต้องใช้
และโดยส่วนใหญ่แล้วเกล็ดเลือดจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมักกลับมาสู่ระดับปกติภายใน 1 สัปดาห์หลังไข้ลง
Ref: แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออก โดยสำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
แนวทางเวชปฏิบัติเรื่องการให้เกล็ดเลือด โดยสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
2,371 ข้อควรทราบเรื่องการให้เกล็ดเลือดในผู้ป่วยไข้เลือดออก
ป้ายกำกับ:
hematology,
Infectious disease
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น