สำหรับตัวอย่างของการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสมในผู้สูงอายุ ตามที่ตรวจพบด้วยเกณฑ์ของ STOPP และมีรายงานไว้ในวารสาร มีดังนี้
-ใช้ thiazide กับผู้ป่วยโรคเก๊าต์
-ใช้ beta-blocker กับผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง
-ใช้ beta-blocker กับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เกิดภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดบ่อยครั้ง
-ใช้ calcium channel blocker กับผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกเรื้อรัง
-ใช้แอสไพรินในขนาดสูงกว่า 150 มิลลิกรัมต่อวัน
-ใช้ tricyclic antidepressant กับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม (ส่งผลให้ผู้ป่วยล้ม กระดูกฟีเมอร์หัก หรือเพ้อ)
-ใช้ benzodiazepine ที่ออกฤทธิ์ยาวกับผู้ป่วยเป็นเวลานาน (ส่งผลให้ผู้ป่วยล้ม กระดูกหัก ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ ได้รับยาเกินขนาด หรือการรับรู้ลดลง)
-ใช้ antihistamine ชนิดที่ทำให้ง่วงซึมต่อเนื่องเป็นเวลานาน
-ใช้ยาแก้ท้องเสีย (diphenoxylate, loperamide, codeine) กับผู้ป่วยโรคท้องร่วงที่มีการติดเชื้อ (มีไข้ ถ่ายเป็นมูกเลือด)
-ใช้ proton pump inhibitor ในการรักษาแผลเพปติก ติดต่อกันนานกว่า 8 สัปดาห์
-ใช้ theophylline เป็นยาเดี่ยวในการรักษาโรคถุงลมโป่งพอง
-ใช้สเตรอยด์ชนิดกินแทนที่จะใช้ชนิดสูดหรือพ่น เข้าหลอดลมกับผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง
-ใช้ NSAID หรือแอสไพรินโดยไม่ให้ยาป้องกันแผลเพปติกกับผู้ที่มีประวัติเป็นแผลในทางเดินอาหาร
-ใช้ NSAID กับผู้มีความดันเลือดสูงปานกลางถึงมาก
-ใช้ NSAID กับผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว
-ใช้ NSAID ระยะยาวกับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีอาการน้อยถึงปานกลาง
-ใช้ NSAID กับ warfarin ร่วมกัน
-ใช้ NSAID กับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง
-ใช้ยาต้านฤทธิ์มัสคารินิกกับผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโต
-ใช้ยาในกลุ่มเดียวกันซ้ำซ้อน
หมายเหตุ
Screening Tool of Older Persons’ potential ly inappropriate Prescriptions (STOPP) เป็นเกณฑ์พัฒนามาจากแพทย์เฉพาะทางด้านผู้สูงอายุในไอร์แลนด โดยพัฒนาเพื่อลดข้อจำกัดของ Beers’ criteria คือ ครอบคลุมการใช้ยาไม่เหมาะสมอย่างอื่นและการใช้ยาที่มีผลต่อการเกิดผลข้างเคียงที่สำคัญในผู้สูงอายุ
Ref:
-การสั่งใช้ยาในผู้สูงอายุสำนักงานประสานการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
-ปัญหาการใช้ยาในผู้สงอายุ ผศ.พญ.ปณิตา ลิมปะวัฒนะ