วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,364 การใส่ท่อช่วยหายใจทางจมูก (nasotracheal intubation) ในภาวะฉุกเฉิน

แพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน อาจจะประสบปัญหาการใส่ท่อช่วยหายใจทางปากยาก หรือบริเวณช่องปาก-ฟัน-คอ ไม่เหมะสมในการใส่ทำให้ใส่ไม่ได้ การใส่ท่อท่อหายใจทางจมูกจึงเป็นอีกทางเลือกสำหรับการช่วยเหลือผู้ป่วย
ข้อบ่งชี้ เช่น ในกรณีผู้ปวยมีหรือสงสยว่าจะมีการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังส่วนคอ หรือคาดว่าจะไม่สามารถใส่ได้ทางปาก เช่น เกร็งปากมาก กัดฟันแน่น บาดเจ็บรุนแรงบริเวณช่ิงปาก ลักษณะของช่องปากและฟันไม่สามารถใส่ทางช่องปากได้ เป็นต้น
ในการทำควรใช้เป็นชนิด nasal tube แต่ถ้าไม่มีและมีความจำเป็นต้องทำ สามารถใช้ oral tube แทนได้
โดยใช้เบอร์เล็กลงกว่าขนาดที่ใส่ทางปาก 1/2-1 เบอร์ ใช้ K-Y หรือ xylocaine jelly  ทาปลายท่อ โดยหล่อลื่นให้ดีเพียงพอ แล้วค่อย ๆ สอดลงในรูจมูกข้างใดข้างหนึ่งอย่างนุ่มนวล (ซึ่งบางอ้างอิงแนะนำให้มุมของท่อเกือบจะตั้งฉากกับใบหน้า) หากมีการติดขัดให้ย้ายมาอีกขัางหนึ่ง  โดยในขณะที่ค่อยๆ เลื่อนท่อลง จะสังเกตได้ว่ามีลมออกมาจากปลายท่อ ให้ค่อยๆ สอดต่อไปจนเสียงลมที่ออกมามีการเปลี่ยนแปลง และเมื่อมีลมออกมาแรงมากขึ้นแสดงว่าขณะนี้ปลายของท่อจ่ออยู่บริเวณ epiglottis หรือ vocal cord แล้ว รอจังหวะที่ผู้ป่วยหายใจเข้าซึ่งเป็นจังหวะที่ vocal cord เปิด ให้รีบสอด tube เขาไปทันที ถ้าเขาถูกตำแหน่งจะมีลมออกมามากขึ้น แต่ถ้าเข้าผิดตำแหนง คือเข้าหลอดอาหารก็จะไม่มีลมออกมาจากปลายท่อ ถ้าลองทำ 2-3 ครั้งแล้วไม่เข้า อาจเปลี่ยนข้างหรืออาจลองเปลี่ยนท่อใหม่ที่มีลักษณะความโค้งส่วนปลายที่ต่างกัน ถ้าลองใหม่แล้วยังไม่ได้ผล และผู้ป่วยพอจะอ้าปากได้ให้ลองใส่ direct laryngoscope และใช้ Magi l l forceps ช่วย ซึ่งการทำ blind intubation โดยผู้ชำนาญมีโอกาสที่สำเร็จค่อนข้างสูงมาก
วิดีโอสาธิต
ดูวิดีโอ click ที่ลิ้งค์นี้ http://www.youtube.com/watch?feature=endscreen&v=Dufi_LlOSl8&NR=1

Ref: -แนวทางประเมินผล และรักษาผู้ป่วยที่บาดเจ็บ
หลายแห่ง ที่แผนกศัลยกรรมอุบัติเหตุ อ. นพ. สมบูรณ์ ตั้งกุลบริบูรณ์
-การใส่ท่อช่วยหายใจ (endotracheal intubation) 
อ. พญ. ธิดา เอื้อกฤดาธิการ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น