ประสิทธิภาพและประโยชน์ของการป้องกันแบบทุติยภูมิของแอสไพรินเป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว แต่ประโยชน์ในการป้องกันแบปฐมภูมิยังไม่ชัดเจน
โดยมีข้อมูลว่าน่าจะมีประโยชน์แต่ก็เพิ่มความเสี่่ยงของการมีเลือดออก ซึ่งการให้ยาจะเกิดประโยชน์แตกต่างมากน้อยในแต่ละบุคคลซึ่งสามารถดูจากความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในอนาคตแล้วเปรียบเทียบกับความเสี่ยงของการมีเลือดออก โดยการประเมินความเสี่ยงดังกล่าวจะใช้หลายปัจจัยร่วมกัน เช่น อายุ เพศ การสูบบุหรี่ ไขมันในเลือด ระดับความดันโลหิต เป็นต้น สามารถคำนวนแบบออนไลน์ได้ ตัวอย่างเช่นในลิ้งค์นี้ http://hp2010.nhlbihin.net/atpiii/calculator.asp?usertype=prof
หรือลิ้งค์นี้ http://www.globalrph.com/10_year_risk.htm
โดยมีคำแนะนำแตกต่างกันตามแต่ละการศึกษาและสถาบัน เช่นของ The University of Auckland, Auckland, New Zealand แนะนำเมื่อมีมีความเสี่ยงความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจที่ 5 ปี (five-year CVD risk) ตั้งแต่ 15% ในผู้ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป ส่วนช่วงอายุ 70-79 ปี ให้พิจารณาใช้ยาลดไขมัน ยาลดความดันโลหิตในการรักษาความเสี่ยงต่างๆ ก่อนแล้วจึงมาประเมินว่ายาแอสไพรินจะสามารถเพิ่มประโยชน์ได้อีกหรือไม่อย่างไร
ส่วนของ American Academy of Family Physicians แนะนำให้ในผู้ชายที่มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจใน 10 ปี (10-year risk score) ไว้ดังนี้
1. ผู้ที่มีความเสี่ยงร้อยละ 4 ในช่วง 45-59 ปี
2. ผู้ที่มีความเสี่ยงร้อยละ 9 ในช่วง 60-69 ปี
3. และผู้ที่มีความเสี่ยงร้อยละ 12 ในช่วง 70-79 ปี
ส่วนในผู้หญิงเป็นดังนี้
1. ผู้ที่มีความเสี่ยงร้อยละ 3 ในช่วง 50-59 ปี
2. ผู้ที่มีความเสี่ยงร้อยละ 8 ในช่วง 60-69 ปี
3. และผู้ที่มีความเสี่ยงร้อยละ 11 ในช่วง 70-79 ปี
(จำง่ายๆ คือในแต่ละช่วงความเสี่ยงในผู้หญิงจะน้อยกว่าในผู้ชายร้อยละ 1)
Ref: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23019080
http://www.aafp.org/afp/2011/0615/p1380.html
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20690297
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556
2,363 สิ่งที่ควรทราบเรื่องการใช้แอสไพรินในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจแบบปฐมภูมิ (primary prevention of cardiovascular disease)
ป้ายกำกับ:
Cardiology,
Drug
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น