A. CKD ระยะที่ 3 ซึ่งมีระดับการทำงานของไต (eGFR) ลดลง 8 มล./นาที/1.73 ตร.ม/เดือน 6 (22%)
B. CKD ระยะที่ 3 ซึ่งเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 และมีปัญหาควบคุมระดับน้ำตาลได้ยาก 15 (56%)
C. CKD ระยะที่ 3 มี HT ที่ควบคุมไม่ได้ด้วยยาลดความดันโลหิตขนาดสูงสุด 3 ชนิด 1 (4%)
D. CKD ระยะที่ 3 ที่ยังมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะมากเมื่อควบคุมความดันโลหิตได้ตามเป้าหมายแล้วมากกว่า 3 เดือน 3 (11%)
E. CKD ระยะที่ 4 0 (0%)
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปและอายุรแพทย์สาขาอื่นๆ สามารถให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรไตเรี้อรังระยะต้น(ระยะที่ 1-3) ได้และควรทำการส่งปรึกษาหรือส่งต่อให้กับอายุรแพทย์โรคไต ในกรณีต่อไปนี้
1. CKD ระยะที่ 3 (eGFR ต่ำกว่า 60 มล./นาท/1.73 ตารางเมตร) ที่มีปัญหาข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
-ระดับการทำงานของไต (eGFR) ลดลงมากกว่า 7 มล./นาที/1.73 ตารางเมตร/เดือน
-มีภาวะความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ด้วยยาลดความดันโลหิตขนาดสูงสุด 3 ชนิด
-มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะมากกว่า 1,000 mg ต่อวันหรือ spot urine protein/creatinine ratio มากกว่า 1,000 mg/gcr หรือตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะด้วยแถบสีมีค่า 4+ หลังได้รับการควบคุมความดันโลหิตได้ตามเป้าหมายแล้วมากกว่า 3 เดือน
2. CKD ระยะที่ 4 เป็นต้นไป (eGFR น้อยกว่า 30 มล./นาที/1.73 ตารางเมตร)
ดังนั้นคำตอบในข้อ B. จึงไม่อยู่ในข้อบ่งชี้ของการส่งปรึกษาอายุรแพทย์โรคไต
อ้างอิงจากคู่มือการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น 2555
อ้างอิงจากคู่มือการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น