วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

2,301 เฉลยแบบทดสอบ 4 พค. 56: ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการตรวจดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง?

มีผู้ร่วมตอบโดยแบ่งได้ดังนี้
A. GCS score น้อยกว่า 8 หรือมีเสี่ยงต่อการเกิด aspiration ควรได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ  1 คน  (4%)
B. CBC, BS, BUN, Cr, electrolytes เป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยเร่งด่วนที่ควรจะทำ  14 คน  
(56%)
C. ผู้ป่วยมีอาการสูญเสียหน้าที่ของสมองอย่างเฉียบพลันและยังคงอยู่ต่อเนื่องโดยไม่มีประวัติของการได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ 95%   0 คน (0%)
D. ผู้ป่วยโรคตับ โรคไต ใช้ยาเสพติดอาจจะมีลักษณะทางคลินิกคล้ายโรคหลอดเลือดสมองได้  9 คน (36%)
E. โรคหลอดเลือดสมองแตก มีอุบัติการณ์ประมาณร้อยละ 25-35 ของโรคหลอดเลือดสมอง  1 คน (4%)

เฉลย
-ผู้ป่วยทุกคนที่มาโรงพยาบาลด้วยอาการที่เกิดจากการสูญเสียหน้าที่ของสมองอย่างเฉียบพลัน (sudden neurological deficit) ต้องทำการตรวจ vital signs, neurological signs เพื่อประเมินว่าต้องให้ emergency advanced life support หรือไม่ ดู airway, ventilation เพียงพอหรือไม่ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีระดับความรู้สึกตัวต่ำ โดยถ้ามี Glasgow Coma Scale (GCS) score น้อยกว่า 8 หรือเสี่ยงต่อการเกิด aspiration ควรได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ พร้อมกับส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยเร่งด่วน (CBC, BS, BUN, Cr, electrolytes)
-ซักประวัติและตรวจร่างกายที่เกี่ยวข้อง เช่น การบาดเจ็บที่ศีรษะ ดื่มสุรา ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคเลือด โรคตับ โรคไต การใช้ยา anticoagulants ยาเสพติด เพื่อแยกภาวะอื่นที่ไม่ใช่โรคหลอดเลือดสมอง (extra cranial cause)
-ออกจากการศึกษาพบว่า ถ้าผู้ป่วยมีอาการสูญเสียหน้าที่ของสมองอย่างเฉียบพลันและยังคงอยู่ต่อเนื่องโดยไม่มีประวัติของการได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ (sudden onset of persistent focal  neurological deficit and no history of head trauma) จะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ 80%
-โรคหลอดเลือดสมองแตก มีอุบัติการณ์ประมาณร้อยละ 25-35 ของโรคหลอดเลือดสมอง
ดังนั้นในข้อ C. ต้องเป็น 80% ไม่ใช่ 95% ครับ
โดยความเห็นของท่านผู้ตอบและในการทำงานจริงอาจจะแตกต่างไปบ้างจากในงแนวทางเวชปฏิบัติ (ข้อแนะนำต่าง ๆ ในแนวทางเวชปฏิบัติไม่ใช่ ข้อบังคับของการปฏิบัติ โดยผู้ใช้สามารถปฏิบัติแตกต่างไปจากข้อแนะนำได้ ในกรณีที่สถานการณ์แตกต่างออกไปหรือมีเหตุผลที่สมควร โดยใช้วิจารณญาณที่เป็นที่ยอมรับในสังคม)

อ้างอิงจาก แนวทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือดสมองแตก สำหรับแพทย์
และแนวทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สำหรับแพทย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น