วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

2,299 เฉลยแบบทดสอบ 2 พค. 56: เรื่องโรคไตเรื้อรัง

มีผู้ร่วมตอบดังนี้ครับ
A. ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคไตเรื้อรังควรได้รับการประเมินค่า eGFR อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 6  (29%)
B. CKD-EPI  เป็นสูตรในการคำนวณค่า eGFR ที่สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยแนะนำว่ามีความเหมาะสมและมีความถูกต้องอยู่ในเกณฑ์ที่ดี  5 (24%)
C. การใช้ Crockcoft-Gault equation มีข้อดีคือไม่ต้องปรับมาตรฐานด้วย BSA 1.73 m2  10 (48%)
D. การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะต้องอย่าลืมคำนึงถึงผลบวกปลอมด้วย  0 (0%)
E. ผู้ป่วย CKD ควรได้รับการประเมินและลดระดับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด 0 (0%)

เฉลย
-ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคไตเรื้อรังควรได้รับการประเมินค่า eGFR อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (สามารถดูรายละเอียดของผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ได้จากในอ้างอิงอีกครั้ง)
-เพิ่งไปประชุมราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ที่ผ่านมา คุ้นๆ ว่าสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยแนะนำสูตร  CKD-EPI เป็นสูตรในการคำนวณค่า eGFR แต่หาที่จดไว้ไม่พบ โทรถามอายุแพทย์โรคไตที่เป็นเพื่อนกันก็บอกว่าน่าจะเป็นสูตรนี้ ในคู่มือการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น 2555 ก็แนะนำสูตรนี้และสูตรที่สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยใช้ร่วมกับสปสช. ก็เป็นสูตรนี้ครับ โดยการคำนวนจะมีการแบ่งราย
ละเอียดการคำนวนตาม เพศ อายุ และระดับขั้นของ Cr ด้วย ถ้าท่านผู้ใดมีข้อมูลตรงนี้เพิ่มช่วยเสริมได้นะครับ
-การใช้ Crockcoft-Gault equation จะต้องปรับมาตรฐานด้วย BSA 1.73 m2 ก่อนครับ
-การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะต้องอย่าลืมคำนึงถึงผลบวกปลอมด้วย เช่น มีไช้สูง ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
-ผู้ป่วย CKD ควรได้รับการประเมินและลดระดับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคดังกล่าว
ดังนั้นข้อที่ผิดมากที่สุดคือข้อ C นะครับ

อ้างอิงจากคู่มือการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น