วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

2,295 เฉลยคำถาม 29-4-56

ข้อที่ 1 ข้อใดไม่ใช่ความหมายของโรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease)?

มีผู้ร่วมตอบ 35 คน แบ่งได้ดังนี้
A. ตรวจพบ microalbuminuria 2/3 ครั้ง ในระยะเวลา 3 เดือน  4 (12%)
B. ตรวจพบเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะอย่างต่อเนื่องนานกว่า 6 เดือน  8 (24%)
C. อัลตราซาวน์พบถุงน้ำในไต, นิ่ว, ไตพิการ หรือมีไตข้างเดียว  17 (50%)
D. ตรวจพบพยาธิสภาพจากผลการเจาะตรวจเนื้อเยื่อไต   3 (9%)
E. eGFR น้อยกว่า 60 มล./นาที/1.73 ตารางเมตร ติดต่อกันเกิน 3 เดือน 2 (6%)

เฉลย
โรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease)
หมายถึง ผู้ป่วยที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งในสองข้อต่อไปนี้
 1. ผู้ป่วยที่มีภาวะไตผิดปกตินานติดต่อกันเกิน 3 เดือน โดยอาจจะมีอัตรากรองของไตผิดปกติหรือไม่ก็ได้
ภาวะไตผิดปกติหมายถึงลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
       1.1 พบความผิดปกติจากการตรวจปัสสาวะอย่างน้อย 2 ครั้ง ในระยะเวลา 3 เดือนดังต่อไปนี้
-ผู้ป่วยเบาหวานที่ตรวจพบ microalbuminuria
-ผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นเบาหวานที่ตรวจพบ proteinuria มากกว่า 500 มก./วัน หรือตรวจพบUrine protein/creatinineratio(UPCR) > 500 mg/g หรือ protein dipstick ≥ 1+
ตรวจพบเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ (hematuria)
       1.2 ตรวจพบความผิดปกติทางรังสีวิทยา เช่น อัลตราซาวน์พบถุงน้ำในไต, นิ่ว, ไตพิการ หรือมีไตข้างเดียว
       1.3 ตรวจพบความผิดปกติทางโครงสร้างหรือพยาธิ
สภาพจากผลการเจาะเนื้อเยื่อไต
2. ผู้ป่วยที่มี GFR น้อยกว่า 60 มล./นาที/1.73 ตารางเมตร ติดต่อกันเกิน 3 เดือน โดยที่อาจจะตรวจพบหรือไม่พบร่องรอยของไตผิดปกติก็ได้
ดังนั้นในข้อ B. ต้องตรวจพบเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะอย่างต่อเนื่องนานกว่า 3 เดือนนะครับ

ข้อที่ 2 ข้อใดผิดเกี่ยวกับการใช้ยาเบาหวานในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง?

มีผู้ร่วมตอบ 35 คน แบ่งได้ดังนี้
A. Chlorpropamide : ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง   1  (3%)
B. Glybenclamide : ไม่แนะนำให้ใช้ถ้า eGFR น้อยกว่า 30 มล./นาที/1.73 ตร.ม   1 (3%)
C. Glipizide และ gliclazide : สามารถใช้ได้ใน CKD โดยไม่ต้องปรับขนาดยา แต่ต้องระวังในผู้ป่วยที่ eGFR น้อยกว่า 10 มล./นาที/1.73 ตร.ม. 10  (29%)
D. ยากลุ่ม thiazolidinedione : สามารถใช้ได้ใน CKD โดยไม่ต้องปรับขนาดยา  12 (35%)
E. ข้อดีของอินซูลินคือไม่ต้องคำนึงถึงระดับการทำงานของไต  10 (29%)

เฉลย (นำมาลงเฉพาะกลุ่มยาที่อยู่ในคำถามนะครับ)
ยากลุ่ม biguanide (metformin): ไม่แนะนำให้ใช้ยากลุ่มนี้ถ้าระดับครีอะตินินในซีรั่มมากกว่า 1.5 มก./ดล. ในผู้ชายหรือมากกว่า 1.4 มก./ดล. ในผู้หญิง (บางตำราแนะนำไม่ควรใช้ยา metformin เมื่อ eGFR น้อยกว่า 30 มล./นาท/1.73 ตร.ม.) และลดขนาดยาลงครึ่งหนึ่ง เมื่อ eGFR อยู่ในช่วง 30-60มล./นาที/1.73 ตร.ม.
ยากลุ่ม sulfonylurea :
-Chlorpropamide: ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 
-Glybenclamide: ไม่แนะนำให้ใช้ถ้า eGFR น้อยกว่า 30 มล./นาที/1.73 ตร.ม.2 
-Glipizide และ gliclazide: สามารถใช้ได้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโดยไม่ต้องปรับขนาดยา แต่ต้องระวังใน ผู้ป่วยที่ eGFR น้อยกว่า 10 มล./นาที/1.73 ตร.ม.
ยากลุ่ม thiazolidinedione: สามารถใช้ได้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโดยไม่ต้องปรับขนาดยา แต่ต้องระวังภาวะบวมและหัวใจวายจากการที่มีเกลือและน้ำคั่ง
อินซูลิน : เป็นยาที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง โดยเฉพาะเมื่อการทำงานของไตลดลงอย่างมาก (eGFR น้อยก่วา 30 มล./นาท/1.73 ตร.ม.) แต่ควรมีการปรับลดขนาดของยาจากปริมาณเดิมที่ใช้ เมื่อการทำงานของไตลดลง โดยคำแนะนำว่าควรลดขนาดยาลงร้อยละ 25 เมื่อ GFR อยู่ในช่วง 10-50 มล./นาที/1.73 ตร.ม. และลดขนาดลงร้อยละ 50 เมื่อ GFR น้อยกว่า 10 มล./นาที/1.73 ตร.ม.
ดังนั้นในข้อ E. การใช้อินซูลินต้องคำนึงถึงระดับการทำงานของไตครับ

อ้างอิงจากคู่มือการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น