วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556

2,275 แนวทาง-ข้อบ่งชี้ของการป้องกันการติดเชื้อเยื่อบุหัวใจในปัจจุบัน

ข้อบ่งชี้ของการป้องกันการติดเชื้อเยื่อบุหัวใจมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงประมาณสิบที่ผ่านมาเพราะขาดหลักฐานในการที่จะนำมาใช้ แนวทางล่าสุดได้แนะนำการป้องกันเฉพาะในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจซึ่งมีความเสี่ยงสูง ได้แก่ผู้ป่วยที่มีประวัติของการติดเชื้อเยื่อบุหัวใจมาก่อน ผู้ป่วยที่มีลิ้นหัวใจเทียมหรือวัสดุเทียมที่ใช้ในการซ่อมแซมลิ้นหัวใจ ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจหลังจากการปลูกถ่ายหัวใจ ผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดจำเฉพาะบางอย่าง หัตการที่ต้องให้การป้องกันการติดเชื้อก็จำกัดลงด้วย
โดยในปัจจุบันนี้แนะนำในผู้ป่วยที่ได้รับการทำหัตถการทางทันตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อของเหงือกหรือบริเวณรอบๆ ปลายรากฟัน (periapical region) และหัตถการที่รุกล้ำของช่องปากหรือรุกล้ำต่อระบบทางเดินหายใจที่เกี่ยวข้องกับการการผ่าตัดหรือการตัดชิ้นเนื้อออกของเนื้อเยื่อในระบบทางเดินหายใจ และไม่ได้แนะนำให้การป้องกันในหัตการของระบบ genitourinary และ gastrointestinal tract
ซึ่งยาที่ใช้ในการป้องกันในกรณีที่ทำหัตถการทางทันตกรรมเป็นดังนี้
-ในผู้ที่ไม่ได้แพ้ยากลุ่ม beta lactams จะให้ amoxycillin 2 กรัม (ในเด็กให้ 50 มิลลิกรัม /กก.) หรือ ampicillin 2 กรัม ทางหลอดเลือดดำ (ในเด็กให้ 50 มิลลิกรัม /กก.)
-ถ้าแพ้ยากลุ่ม beta lactams ให้เป็น clindamycin 600 มิลลิกรัม (ในเด็กให้ 20 มิลลิกรัม /กก.)หรือ clindamycin 600 มิลลิกรัมทางหลอดเลือดดำ (ในเด็กให้ 50 มิลลิกรัม /กก.) โดยจะให้ภายใน 60 นาทีก่อนทำหัตถการ
-ยาทางเลือกอื่นๆ ได้แก่ cephalexin 2 กรัม ทางหลอดเลือดดำ (ในเด็กให้ 50 มิลลิกรัม /กก.)
 หรือ cefazolin หรือ ceftriaxone 1 กรัม ทางหลอดเลือดดำ (ในเด็กให้ 50 มิลลิกรัม /กก.)
-โดยที่ยากลุ่ม cephalosporins ไม่ควรให้ในผู้ป่วยที่มีประวัติ anaphylaxis, angioedema หรือ urticaria จากการที่เคยได้รับ penicillin หรือ ampicillin

Ref: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20218953
http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1206782?query=featured_home
http://emedicine.medscape.com/article/1672902-overview#aw2aab6b6

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น