-การตรวจระดับไขมันควรตรวจตั้งแต่แรกวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตเรื้อรังและตรวจซ้ำหลังจากนั้น 2-3 เดือน เพื่อยืนยันค่าที่ตรวจครั้งแรก ต่อไปควรตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงการรักษา เช่น มีการปรับยาลดไขมัน หรือมีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อระดับไขมัน ควรตรวจถี่ขึ้นเป็นทุก 2-3 เดือนและควรค้นหาภาวะอื่นที่ทำให้มีภาวะไขมันสูง (secondary causes) เช่น nephrotic syndrome, โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย โรคเบาหวาน และยาต่างๆ (ดูจากอ้างอิงเพิ่มเติม)
-ควรควบคุมให้มีระดับ LDL น้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 mg/dL
-ในผู้ป่วยซึ่งมีโรคหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดสมองควรควบคุมให้ระดับ LDL น้อยกว่า 70 mg/dl และเลือกใช้ยาในกลุ่ม statins ตั้งแต่ต้น
-การใช้ยากลุ่ม statins หรือใช้ยากลุ่ม statins รวมกับยากลุ่ม fibrates, nicotinic acid, cyclosporin, ยาต้านเชื้อกลุ่ม azole, ยากลุ่ม macrolides, protease inhibitors, non-dihydropyridine calcium antagonist และ amiodarone มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงได้แก่การมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง (myopathy) จึงควรติดตามระดับ creatine kinase (CK)
-ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดกล้ามเนื้อรวมกับมีระดับ CK เพิ่มขึ้นนมากกว่า 10 เท่า จะต้องหยุดยากลุ่ม statin ไว้ก่อน
-กรณีใช้ยากลุ่ม statin, fibrates ไม่ได้ผลตามเป้าหมายให้ส่งปรึกษาแพทย์ด้านต่อมไร้ท่อ
อ้างอิง: คู่มือการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556
2,263 ข้อควรทราบเรื่องการตรวจและรักษาภาวะไขมันในเลือดสูงในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
ป้ายกำกับ:
Metabolism,
Nephrology
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น