ในผู้ป่วย STEMI หลังจากการให้ยาระลายลิ่มเลือดเราก็ต้องประเมินต่อว่าการรักษาประสบความสำเร็จหรือไม่ ซึ่งสามารถประเมินได้ดังนี้
เกณฑ์ประเมินการเปิดของหลอดเลือดหัวใจ (reperfusion) หลังได้ยาละลายลิ่มเลือด
1. อาการเจ็บเค้นอกลดลง หรือหายอย่างรวดเร็ว
2. คลื่นไฟฟ้าหัวใจส่วนของ ST ที่ยกสูงขึ้นกลับลงมาสู่เกณฑ์ปกติ (ST resolution) ภายใน 120 นาทีหลังได้รับยาละลายลิ่มเลือด
3. ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่อาจพบได้แก่
3.1. Accelerated idioventricular rhythm จากอ้างอิงของ medscape พบได้ 42%
3.2. Frequent premature ventricular complexes เป็น arrhythmia แรกที่มักเกิดขึ้น พบได้ถี่มากขึ้นกว่าเดิม 2 เท่าภายใน 90 นาทีหลังให้ยาละลายลิ่มเลือด
3.3. Nonsustained ventricular tachycardia (NSVT) จากอ้างอิงของ medscape พบได้ 7%
4. ระดับ cardiac enzyme CK-MB จะขึ้นสูงสุดประมาณ 12 ชั่วโมงหลังอาการเจ็บหน้าอกของผู้ป่วย (ปกติถ้าไม่มี reperfusion ระดับของ CK-MB จะขึ้นสูงสุดที่ 24-36 ชั่วโมง)
เพิ่มเติม
-และจากอ้างอิงใน medscape ยังกล่าวถึง arrhythmia อื่นๆ ที่พบได้น้อยได้แก่ Atrial fibrillation 6%, ventricular fibrillation 3%, อาจพบหัวใจเต้นช้าได้ 18% โดยส่วนใหญ่จะเป็น sinus bradycardia, และจะมีผู้ป่วยบางส่วนไม่มี arrhythmia ใดๆ เกิดขึ้นเลย
-ส่วนในหนังสือโครงการพัฒนาทักษะการดูแลผู้ป่วย STEMI ในโรงพยาบาลเครือข่ายเขต 14 กล่าวว่าสามารถพบ T wave inversion ได้เร็วขึ้นจาก 4 ชม. เป็น 1 ชม. ถ้าเกิดการเปิดของหลอดเลือด
-ST segment ที่ลลดลงมากกว่า 70% บ่งบอกถึงการพยากรณ์โรคที่ดีมาก
Ref: มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน สถาบันโรคทรวงอก
หนังสือโครงการพัฒนาทักษะการดูแลผู้ป่วย STEMI ในโรงพยาบาลเครือข่ายเขต 14
http://www.medscape.com/viewarticle/409110_3
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2556
2,246 เกณฑ์ประเมินการเปิดของหลอดเลือดหัวใจ (reperfusion) หลังได้ยาละลายลิ่มเลือด ในผู้ป่วย STEMI
ป้ายกำกับ:
Cardiology,
Critical care
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น