หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,262 Medication reconciliation (drug reconciliation)

ช่วงนี้ต้องเตรียมการประชุมเรื่อง medication reconciliation จึงสรุปเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นเบื้องต้นไว้ครับ

Medication reconciliation คือการประสานรายการยาเป็นกระบวนการของการเปรียบเทียบคำสั่งการใช้ยาทั้งหมดของผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยา (medication errors) เช่นการไม่ได้รับยา การได้ยาซ้ำ ปฏิกิริยาระหว่างยา อื่นๆ โดยควรจะมีการทำทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนการดูแลรักษาผู้ป่วย ได้รับยาใหม่ การเขียนคำสั่งใหม่ของยาที่มีอยู่เดิม การเปลี่ยนแปลงในการดูแลต่างๆ การเคลื่อนย้ายเปลี่ยนหอผู้ป่วย การย้ายไปห้องผ่าตัด การส่งต่อ ตลอดจนในตอนที่จะให้ผู้ป่วยกลับบ้าน อื่นๆ เนื่องจากความคลาดเคลื่อนสามารถเกิดได้ทุกจุดของรอยต่อการให้บริการ โดยประมาณ 20% มีสาเหตุมาจากการส่งต่อข้อมูลคลาดเคลื่อน ไม่ครบถ้วน พบว่าร้อยละ 42-61 ของผู้ป่วยที่รับการรักษาใน รพ. ไม่ได้รับยาที่เคยใช้อยู่เดิมตั้งแต่ 1 ชนิดหรือมากกว่า
กระบวนการนี้ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การพัฒนาบัญชีรายการยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน (2) พัฒนาบัญชีรายการของยาที่สั่งใช้ (3) เปรียบเทียบรายการยา 2 ชนิด (4) การตัดสินใจทางคลินิกโดยใช้การเปรียบเทียบ และ (5) การสื่อสารในรายการใหม่ให้กับผู้ดูแลและผู้ป่วย
โดยจะสามารถลดความคลาดเคลื่อนในประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้
-การไม่ได้รับยาที่เคยใช้เป็นประจำ
-การไม่ได้หยุดยาบางตัวก่อนเข้าทำหัตถการหรือการผ่าตัด
-การไม่ได้รับยาเดิมภายหลังการสั่งหยุดชั่วคราว
-การได้ยาซ้ำซ้อนเพราะไม่ทราบว่ามีการสั่งหยุดยาแล้ว
-ได้รับยาขนาดเดิมทั้งที่มีการสั่งปรับขนาดยาแล้ว
-ได้ยาซ้ำซ้อนกับยาที่ผู้ป่วยซื้อมารับประทานเองหรือได้มาจากสถานบริการอื่น

ซึ่งนอกเหนือจากการลดความคลาดเคลื่อนในการให้ยาและเกิดความถูกต้องปลอดภัยแก่ผู้ป่วยแล้วยังพบว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายในการที่ผู้รับบริการมีการเก็บสะสมยาไว้โดยไม่ได้ใช้ ยาหมดอายุ การใด้ยาเกินความจำเป็นอีกด้วย


Ref: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK2648/
http://www.si.mahidol.ac.th/km/admin/add_information/document/document_files/110_1.pdf

2,261 Takotsubo cardiomyopathy

พบผู้ป่วยหญิงอายุ 81 ปี มีอาการคล้ายลักษณะของโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ได้ส่งต่อ รพศ. พบว่าผลตอบกลับในใบส่งตัวเป็น takotsubo cardiomyopathy จึงสืบค้นเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้

พบว่าโรคนี้ยังไม่มีชื่อเรียกภาษาไทยที่เป็นทางการในขณะนี้ ส่วนในภาษาอังกฤษอาจเรียกชื่ออื่นๆ ได้แก่ stress-induced cardiomyopathy, apical ballooning syndrome, broken heart syndrome
มีการรายงานการตรวจพบมากขึ้น เป็นกลุ่มอาการที่มีลักษณะความผิดปกติของการทำงานของช่วงซิสโตลิสแบบชั่วคราว (transient systolic dysfunction) ของส่วนปลายและ / หรือกลางของหัวใจห้องล่างซ้ายซึ่งคล้ายกล้ามเนื้อหัวใจตาย (myocardial infarction, MI) แต่ไม่พบว่ามีโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
มีการรายงานผู้ป่วยครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น takotsubo เป็นชื่อของเครื่องมือที่ใช้ดักปลาหมึกซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับลักษณะของหัวใจห้องล่างซ้ายในผู้ป่วย โดยในโรคนี้จะพบว่ามีการโป่งตัวคล้ายกับรูปร่างของบอลลูนที่ส่วนปลายของหัวใจห้องซ้ายในช่วงการบีบตัวของหัวใจ เนื่องจากหน้าที่การหดตัวในส่วนดังกล่าวถูกกดไว้ พบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย คือ 80-100% เป็นผู้หญิงตามแต่ละการศึกษา อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 61-76 ปี ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของโรคนี้
การตรวจเลือด หรือคลื่นไฟฟ้าหัวใจให้ผลผิดปกติคล้ายคลึงกับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันเช่นกัน การตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์แยกไม่ออกระหว่างโรคนี้กับโรคหลอดเลือดหัวใจ สิ่ที่จะบอกได้คือ การฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งพบว่าหลอดเลือดหัวใจปกติ ไม่มีการตีบตันรุนแรง แต่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงบางส่วน
การรักษา: ให้การรักษาแบบ support ให้ hydration และพยายามแก้ไขสิ่งกระตุ้นทางกายและด้านอารมณ์ ยังไม่มียาที่ให้การรักษาจำเพาะ ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าอาจจะให้ยามาตรฐานในการรักษา  systolic dysfunction (มีรายละเอียดเพิ่มเตืม ศึกษาเพิ่มได้จากอ้างอิงด้านล่าง)

อ้างอิงและอ่านต่อ http://www.uptodate.com/contents/stress-induced-takotsubo-cardiomyopathy
http://www.thaiheartweb.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538922902&Ntype=2

วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,260 ความเหมาะสมและความปลอดภัยในการตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่าย (diagnostic imaging)

Appropriate and safe use of diagnostic imaging
American Family Physician
April 1 2013 Vol. 87 No. 7

-ความเสี่ยงของการตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่ายต่างๆ (diagnostic imaging) ได้แก่การเกิด มะเร็งจากการสัมผัสรังสีและการเกิด nephrogenic systemic fibrosis การเพิ่มมากขึ้นของปริมาณของตรวจในระหว่างปี 1980 ถึง2006 ได้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นถึงหกเท่าของการสัมผัสต่อรังสีต่อคนต่อปี มีการคาดการณ์ว่าร้อยละ 2 ของโรคมะเร็งในอนาคตจะเกิดจากการสัมผัสรังสีจากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography,CT)
-สารทึบรังสีแกโดลิเนียม  (gadolinium) ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยที่มีโรคไตเรื้อรังขั้นที่ 4 หรือ 5 เพราะเป็นความเสี่ยงของการเกิด nephrogenic systemic fibrosis การตรวจโดยใช้ถ่ายภาพอย่างเหมาะสมตามแนวทางสำหรับสภาวะทางคลินิกที่เฉพาะเจาะจงสามารถจะลดความเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้ได้
-แม้ว่าการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ศรีษะเป็นสิ่งจำเป็นในการตัดแยกภาวะการมีเลือดออกในผู้ป่วยที่สงสัยโรคหลอดเลือดสมองภายในสามชั่วโมงแรกที่เริ่มมีอาการ, การตรวจด้วย diffusion-weighted imaging with magnetic resonance ของศรีษะและลำคอจะเหนือกว่า CT ภายใน 3- 24 ชั่วโมงของการเริ่มมีอาการ  ส่วนการตรวจด้วยภาพถ่ายระบบประสาทในผู้ป่วยซึ่งปวดศรีษะควรจะทำในสถานการณ์ที่พิเศษเท่านั้น
-ไอโซโทป sestamibi มีรังสีน้อยกว่าแทลเลียม (thallium) สำหรับใช้ในตรวจการใหลเวียนโลหิตของหัวใจ (myocardial perfusion)
-การใช้สารทึบรังสีทางหลอดเลือดดำในการตรวจช่องท้อง-อุ้งเชิงกราน จะเพิ่มความถูกต้องวินิจฉัยสำหรับโรคไส้ติ่งอักเสบอย่างมีนัยสำคัญ
-Cholescintigraphy เป็นการตรวจที่ดีกว่า CT ในการวินิจฉัยถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน ในผู้ป่วยที่มีผลการตรวจจากอัลตร้าซาวด์กำกวม
-การตรวจด้วย  three-view intravenous urography แนะนำในการหญิงตั้งครรภ์เพื่อประเมินการมีนิ่วของทางเดินปัสสาวะ ถ้าการตรวจจากอัลตร้าซาวด์ในเบื้องต้นให้ผลลบหรือกำกวม
-จะพบว่าการตรวจด้วยแม่เหล็กไฟฟ้ามักจะบอกว่ามีความผิดปกติของกระดูกสันหลังส่วนเอวในผู้ใหญ่ซึ่งไม่มีอาการ ด้วยเหตุผลนี้จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำในผู้ป่วยซึ่งมีอาการปวดหลังส่วนล่างโดยไม่มีสิ่งบ่งบอกอื่นๆ
-และการตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่ายโดยตลอดทั้งร่างกายยังไม่เป็นที่สนับสนุนจากหลักฐานที่มีในปัจจุบัน

Ref: http://www.aafp.org/afp/2013/0401/p494.html

วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,259 Salt in health and disease — a delicate balance

Review article
Medical progress
N Engl J Med  March 28, 2013

เกลือกับสุขภาพและการเกิดโรค-ความสมดุลที่เปราะบาง
จากความจริงที่ว่าเกลือ (โซเดียมคลอไรด์) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตซึ่งได้รับการยอมรับมาเป็นพันๆ ปีแล้ว จากประวัติศาสตร์ มูลค่าการแลกเปลี่ยนของเกลือมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างเส้นทางการค้า พันธมิตรทางธุรกิจ และกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โฮเมอร์เรียกเกลือเป็นสสารของพระเจ้า และเพลโตอธิบายว่าคือความรักอย่างยิ่งที่มีต่อพระเจ้า เกลือมีความเกี่ยวข้องกับสมรรถนะทางเพศ ความสามารถในการสืบเผ่าพันธุ์ และความเป็นอมตะ
ในภาวะที่ขาดโซเดียม การบริโภคเกลือเกิดจากแรงผลักดันของความรู้สึกอยากรับประทานเกลือ พฤติกรรมการตอบสนองโดยธรรมชาติและการตอบสนองต่อแรงจูงใจจะผลักดันมนุษย์หรือสัตว์ให้เกิดการแสวงหาและรับประทานอาหารและของเหลวที่มีเกลือเป็นส่วนประกอบ
อย่างไรก็ตามภายใต้สถานการณ์ปกติ เกลือที่อยู่ในอาหารมีปริมาณเกินความต้องการทางสรีรวิทยา และในมนุษย์เป็นการยากที่จะแยกแยะความกระหายเกลือตามธรรมชาติกับความชอบรับประทานเค็ม การหิวอยากที่จะรับประทานเกลือยังได้รับอิทธิพลจากรสชาติ วัฒนธรรมประเพณี ขนบธรรมเนียมของสังคม
การมีอย่างแพร่หลายและหาได้ง่ายของเกลือ และนิสัยที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับความต้องการเกลือของร่างกาย
แม้ว่าเกลือจะมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และมีความสำคัญทางสรีรวิทยา แต่การบริโภคเกลือในปริมาณสูงได้รับการยอมรับเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ในบทความนี้เราให้ภาพรวมของความเข้าใจในปัจจุบันของความสัมพันธ์ของการบริโภคเกลือต่อความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจและหลอดเลือด
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Salt Consumption and Arterial Pressure
-“Salt Sensitivity”of Blood Pressure
-Salt Consumption and Cardiovascular Disease
-Mechanisms of Salt-Induced Hypertension and Target-Organ Damage
-Recommendations and Strategies for Salt Reduction
-Conclusions
-Source Information

อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1212606

วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,258 Short stature in childhood — challenges and choices

Clinical practice
N Engl J Med March 28, 2013

-ถึงแม้ว่าการประเมินภาวะตัวเตี้ยในเด็ก (short stature) จะกระทำเมื่อมีความผิดปกติของความสูงอย่างรุนแรง (ต่ำกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ไทล์สำหรับอายุนั้นๆ) ซึ่งอัตราการเจริญเติบโตผิดปกติจะเป็นไปอย่างช้าๆ (น้อยกว่าร้อยละ 10 สำหรับอายุกระดูก), โดยที่ความสูงที่คาดการณ์ไว้มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากค่าเฉลี่ยความสูงของพ่อแม่  หรือมีความผิดปกติของสัดส่วนร่างกาย
-การรักษาด้วย growth hormone เพิ่มอัตราการเจริญเติบโต เพิ่มความสูงสำหรับผู้ใหญ่ได้พอสมควร และแสดงให้เห็นถึงความปลอดภัยจนถึงขณะนี้ แต่มีราคาแพงและความเสี่ยงในระยะยาวเมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนของประโยชน์ต่อความจำเป็นในสุขภาพสำหรับเด็กยังคงไม่ชัดเจน
-การสังเกตติดตามและให้ความมั่นใจเป็นสิ่งที่มีเหตุผลสำหรับเด็กส่วนใหญ่ที่มีภาวะตัวเตี้ย ยังขาดหลักฐานที่ดีสำหรับการเชื่อมโยงภาวะตัวเตี้ยกับอันตรายต่อจิตใจหรือการแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ทางจิตใจ-สังคมในระยะยาวกับการรักษาเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตขึ้น
-การให้ oxandrolone รับประทานในขนาดต่ำมีประสิทธิภาพและเป็นทางเลือกที่ราคาไม่แพงนักสำหรับการเร่งการเจริญเติบโต แต่ไม่ได้แสดงให้เห็นว่ามีการเพิ่มความสูงสำหรับผู้ใหญ่
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-The Clinical Problem
-Strategies and Evidence
   Evaluation
   Management
-Areas of Uncertainty
-Guidelines
-Conclusions and Recommendations
-Source Information
-Key Clinical Points

อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1213178

วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,257 คิดว่าการบาดเจ็บทางกายมีผลต่อการเกิดงูสวัดหรือไม่?

Association of physical trauma with risk of herpes zoster among medicare beneficiaries in the United States.
J Infect Dis. 2013 Mar;207(6):1007-11

ปัจจัยเสี่ยงต่อกาเกิดงูสวัด (herpes zoster, Hz) ไม่สามารถบอกได้ชัดเจน ในการศึกษาแบบ case-control โดยใช้การจับคู่อายุ เพื่อประเมินผลของการบาดเจ็บทางกายภาพต่อการเกิดงูสวัด  โดยการใช้ข้อมูลจากเมดิแคร์ พบว่าผู้ที่ได้รับการบาดเจ็บเกิดงูสวัด 3.4 เท่าของกลุ่มควบคุมในช่วงหนึ่งสัปดาห์ก่อนที่จะเกิดงูสวัด แต่ขนาดของความสัมพันธ์ระหว่างการบาดเจ็บและการเกิดงูสวัดลดลงเมื่อเวลาผ่านไป กรณีมีการบาดเจ็บที่ศีรษะพบว่าเกิดงูสวัดที่เส้นประสาทศรีษะและใบหน้ามากกว่า 25 เท่าของกลุ่มควบคุมในช่วงหนึ่งสัปดาห์ก่อนที่จะเกิดงูสวัด ดังนั้นการได้รับบาดเจ็บในช่วงเวลาไม่นานสามารถกระตุ้นการเกิดงูสวัดได้

Ref: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23307932?dopt=Abstract

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,256 ความจริงเกี่ยวกับการมีน้ำหนักเกินและโรคอ้วนที่ควรทราบ

โดยทั่วโลกพบว่าโรคอ้วนเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา
การมีน้ำหนักตัวมากเกินและโรคอ้วนเป็นความเสี่ยงลำดับที่ห้าของการเสียชีวิตโดยทั่วโลก มีผู้ใหญ่อย่างน้อย 2.8 ล้านคนซึ่งเสียชีวิตในแต่ละปีจากผลของการมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน นอกจากนี้ 44% ของโรคเบาหวาน, 23% ของโรคหัวใจขาดเลือดและ 7%-41% ของโรคมะเร็งบางชนิดมีสาเหตุจากการมีน้ำหนักเกินและโรคอ้วน
WHO ได้ประเมินในปี 2008 ไว้ดังนี้
-มากกว่า 1.4 พันล้านคนของผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 20 ปีมีน้ำหนักเกิน
-ผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกิน พบว่าผู้ชายมากกว่า 200 ล้านคนและผู้หญิงเกือบ 300 ล้านเป็นโรคอ้วน
-โดยรวมแล้วมากกว่า 10% ของประชากรผู้ใหญ่โดยทั่วโลกเป็นโรคอ้วน

ในปี 2011 มากกว่า 40 ล้านคนของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีมีน้ำหนักเกิน ครั้งหนึ่งเคยคิดว่าเป็นปัญหาในประเทศที่มีรายได้สูง แต่ปัจจุบันการมีน้ำหนักเกินและโรคอ้วนเพิ่มขึ้นในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเมือง โดยมากกว่า 30 ล้านคนของเด็กที่มีน้ำหนักตัวมากอาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาและ 10 ล้านคนอยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว
ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนมีการเชื่อมโยงไปสู่การเสียชีวิตที่มากขึ้นทั่วโลกมากกว่าการมีน้ำหนักตัวน้อย ตัวอย่างเช่น 65% ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในประเทศที่มีการเสียชีวิตเนื่องจากการมีน้ำหนักเกินและโรคอ้วนมากกว่าการเสียชีวิตจากการมีน้ำหนักตัวน้อย (ซึ่งรวมถึงประเทศที่มีรายได้สูงและส่วนใหญ่ของประเทศที่มีรายได้ปานกลาง)
*และโรคอ้วนสามารถป้องกันได้*

Ref: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs311/en/index.html

วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,255 Micturition syncope

พบผู้ป่วยชาย 51 ปี มาด้วยขณะปัสสาวะแล้ววูบหมดสติ เป็นมา 2 ครั้ง แต่ถ้าค่อยๆ ปล่อยให้ปัสสาวะออกเองโดยไม่เบ่ง จะไม่มีอาการ ไม่เคยเป็นเช่นนี้มาก่อน ตรวจร่างกายและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบความผิดปกติ คิดว่าเข้าได้กับ micturition syncope จึงสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมพบดังนี้ครับ

ลักษณะของโรค
Micturition syncope พบได้ประมาณ 8.4% ของสาเหตุการเป็นลมหมดสติทั้งหมด พบว่า 61% ของผู้ที่เคยเป็น micturition syncope เคยมีการเป็นลมหมดสติแบบอื่นๆ มาก่อน มักพบในผู้ชาย โดยเฉพาะช่วงอายุ 30-49 ปี
มักพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับ vasovagal syncope ร่วมกับการมีความดันโลหิตต่ำหรืออาจมีภาวะหัวใจเต้นช้าร่วมด้วย ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับความดันต่ำในท่ายืน (postural hypotension) และการเพิ่มขึ้นของ vagal tone จากการเบ่ง (valsalva manoeuver)
-แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการตอบสนองของ vasovagal ยังไม่มีความชัดเจน ซึ่งมีสมมุติฐานว่ากระเพาะปัสสาวะมีภาวะ hyper-reflexic ซึ่งมีสิ่งสนับสนุนคือผู้ป่วยที่บาดเจ็บไขสันหลังเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำและเป็นลมหมดสติเมื่อใส่สายสวนปัสสาวะแบบชั่วคราว (intermittent urinary catheterisation)
-นอกจากนั้น ความเสี่่ยงของการเกิดความดันโลหิตต่ำจะเพิ่มขึ้นจากยาลดความดันโลหิตต่าง ๆ เช่น alpha-blockers และแม้กระทั่งยาต้านซึมเศร้า
-การดื่มอัลกอฮอล์ปริมาณมากเกินและความอบอุ่นที่มากเกินสามารถกระตุ้นให้เกิดได้
-นอกจากนั้นการวิจัยในผู้ป่วย multiple system atrophy (MSA) จะมีอาการวิงเวียนหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม (presyncope) หรือที่เป็นลมหมดสติ (syncope) บ่อยขณะที่ปัสสาวะ (มีรายละเอียดเรื่องนี้อีก สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากอ้างอิงด้านล่าง)
การวินิจฉัย
โดยการตรวจและตัดสาเหตุที่ใกล้เคียงออกไป
การดูแลรักษา
-ค่อยๆ ลุกขึ้นยืนอย่างช้าๆจากท่านอน ไม่ให้มีวัตถุมีคมอยู่ใกล้ บางอ้างอิงแนะนำให้ปัสสาวะในท่านั่ง
-หยุดปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิด เช่น ยาลดความดันโลหิต (ถ้าเป็นไปได้ - โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  alpha-blockers) ยาต้านซึมเศร้าที่มีผลให้เกิดความดันโลห้หิตต่ำ
-ฉีด botulinum A toxin เข้ากล้ามเนื้อ detrusor ของกระเพาะปัสสาวะในผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บไขสันหลังพบความสำเร็จได้บ้าง

Ref: http://www.patient.co.uk/doctor/Micturition-Syncope.htm

2,254 แนวทางการคัดกรองความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดแดง

โดยแบ่งตามอายุได้ดังนี้
ผู้ที่อายุ 20 ปี ควรคัดกรอง
• ประวัติครอบครอบว่ามีบิดามารดาหรหรือพี่น้องเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือด
• ประวัติการสูบบุหรี่ กิจกรรมทางกาย การรับประทานอาหารและการดื่มสุรา
• ดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอว
• จังหวะและอัตราการเต้นของหัวใจ
• ระดับความดันโลหิต
• ตรวจหาอาการแสดงของภาวะไขมนในเลือดสูง เช่น เอ็นหวายหนา ก้อนไขมันบริเวณข้อ
หากไม่พบความผิดปกติ พิจารณาตรวจคัดกรองซ้ำทุกปี ถ้าพบควมผิดปกติให้ตรวจซ้ำหรือปฏิบัติตามแนวทาง
อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ตรวจเพิ่มดังนี้
• โปรตีนในปัสสาวะ
• ระดับน้ำตาลในเลือด
• ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อย 1 อย่าง ควรตรวจ lipid profile (total cholesterol, TG, HDL-C)
และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือภาพถ่ายรังสีทรวงอกเพิ่มเติม
หากไม่พบความผิดปกติ พิจารณาตรวจคัดกรองซ้ำ 5 ทุกปี ถ้าพบควมผิดปกติให้ตรวจซ้ำหรือปฏิบัติตามแนวทาง
อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ตรวจเพิ่มดังนี้
• โปรตีนในปัสสาวะ
• ระดับน้ำตาลในเลือด
• ตรวจ lipid profile (total cholesterol, TG, HDL-C) และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือภาพถ่ายรังสีทรวงอกเพิ่มเติม
หากไม่พบความผิดปกติ พิจารณาตรวจคัดกรองซ้ำ 3 ทุกปี ถ้าพบควมผิดปกติให้ตรวจซ้ำหรือปฏิบัติตามแนวทาง

Ref: แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการป้องกันโรคหลอดเลือดแดงปฐมภูมิ

วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,253 การประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ

กำลังจะจัดกิจกรรมเพื่อดูแลและแก้ไขความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจให้กับบุคลากรในโรงพยาบาล จึงมีแนวคิดว่าจะให้แต่ละคนมาประเมินความเสี่ยง เพื่อจะได้ทราบคะแนนความเสี่ยง แต่อาจจะจัดกิจกรรมโดยให้แต่ละคนใส่ความเสี่ยงที่มีลงในแอพพคิเคชั่นหรือใส่ค่าคำนวนออนไลน์เองเลย เมื่อได้คะแนนความเสี่ยงแล้วจะมีแนวทางการปฏิบัติหรือกิจกรรมเพื่อป้องกันแก้ไขตามความเสี่ยงของแตละคนให้ต่อ  จึงมาทบทวนเรื่องนี้ครับ

ซึ่งอาจใช้ Framingham risk scoring โดยจะใช้ข้อมูลมาจาก
1. อายุ
2. เพศ
3. ระดับ total cholesterol
4. ระดับ HLD
5. การสูบบุหรี่
6. ความดันโลหิตตัวบน (systolic blood pressure)
7. และการใช้ยารักษาความดันโลหิตสูง
ซึ่งนอกเหนือจากข้อมูลจากคะแนนที่ได้แล้วยังต้องประเมินโรคหรือปัจจัยอื่นๆ ที่ผู้ป่วยมีอยู่ด้วย โดยสามารถประเมินได้ดังด้านล่างนี้

ระดับความเสี่ยง
-ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงมาก ได้แก่ ผู้ที่มีความเสี่ยงตั้งแต่ 10% ขึ้นไป รวมถึงผู้ที่มี CVD อยู่แล้ว หรือมีหลักฐานของ CVD, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2,ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ที่มี target organ damage, ผู้ป่วย CKD ที่มี GFR น้อยกว่า 60 mL/min/1.73 m2
-ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ที่มีความเสี่ยงตั้งแต่ 5 - 10%  รวมถึงผู้ที่มี familial dyslipidaemias และความดันโลหิตสูงรุนแรง
-ผู้ที่มีความเสี่ยงปานกลาง  ได้แก่ ผู้ที่มีความเสี่ยงตั้งแต่1% จนถึงน้อยกว่า 5% ในผู้ใหญ่วัยกลางคนมักจะคำนวนได้อยู่ในกลุ่มนี้ ซึ่งความเสี่ยงนี้ถูกควบคุมโดยประวัติครอบครัวของการเกิดโรคของ coronary artery disease ที่อายุไม่มาก, อ้วนลงพุง, การดำเนินชีวิตที่เสี่ยงต่อการเกิด CVD, HDL-C, TG, hs-CRP, Lp(a), fibrinogen, homocysteine, apo B, และรวมถึงชั้นสถานะทางสังคม
-ผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำ ได้แก่ ผู้ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า 1%

ซึ่งค่า total cholesterol และ HDL-C ควรได้จากการเฉลี่ย 2 ครั้งโดยวิธี lipoprotein analysis โดยวิธีการคำนวนจะมีรายละเอียดมาก เนื่องจากมีการให้คะแนนแตกตามแต่ละความรุนแรงของปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังกล่าว เมื่อได้ออกมาแล้วจะมาแปลเป็นความเสี่ยงอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งถ้าสนใจก็สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากลิ้งค์นี้ ลิ้งค์
หรือเพื่อความสะดวกรวดเร็วสามารถคำนวนออนไลน์ได้จาก ลิ้งค์นี้ ลิ้งค์

Ref:  http://hp2010.nhlbihin.net/atpiii/calculator.asp?usertype=prof#moreinfo
http://www.pha.nu.ac.th/practice/dis1/articles/NCEP%20III.pdf
http://www.framinghamheartstudy.org/risk/hrdcoronary.html
http://www.med.cmu.ac.th/hospital/dis/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=45:framingham-risk-score&catid=16:answers-the-questions&Itemid=34

วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,252 ความสัมพันธ์ระหว่างความอ้วนและเบาหวาน

ช่วงนี้กำลังเตรียมจัดกิจกรรมเรื่องภาวะน้ำหนักเกิน-อ้วนและการลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองให้กับบุคลากรในโรงพยาบาล พบบทความนี้จึงสรุปมาลงไว้ครับ

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ประมาณ 80% จะมีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรืออ้วน ซึ่งสาเหตุหลักอันหนึ่งมาจากการที่ความอ้วนทำให้เกิดภาวะดื้อต่อฮฮร์โมนอินซูลิน (insulin resistance) เนื่องจากไขมันที่เพิ่มขึ้นทำให้อินซูลินรีเซบเตอร์ทำงานได้ไม่ดี และมีการศึกษาพบว่าโอกาสที่คนอ้วนจะเป็นเบาหวานขึ้นกับปัจจัยดังนี้
- ระดับความอ้วนหรือน้ำหนักที่มากเกินของบุคคลนั้น
- ระดับไขมันบริเวณหน้าท้อง (อ้วนลงพุง)
- ประว้ติกรรมพันธุ์ที่มีต่อภาวะดื้ออินซูลิน
- ความสามารถในการสร้างอินซูลิน และประสิทธิภาพของอินซูลินในคนนั้นๆ 

Ref: http://thaincd.com/document/file/download/leaflet/download1no26.pdf

วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,251 ข้อควรทราบเรื่องการออกกำลังกายแบบแอโรบิกและการลดน้ำหนัก

การออกกำลังกายแบบแอโรบิก (aerobic exercise) เป็นการออกกำลังกายประกอบเพลง เริ่มครั้งแรกโดยแพทย์ประจำกองทัพอากาศของสหรัฐอเมริกา ซึ่งคำว่าแอโรบิกเป็นคำคุณศัพท์ หมายถึงการใช้อากาศยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องว่าการออกกำลังแบบนี้ต้องเป็นการเต้นแอโรบิก (aerobic dance) เท่านั้น แต่ที่จริงแล้วหมายถึงการออกกำลังกายใดๆ ที่นานจนทำให้ร่างกายต้องใช้พลังงานด้วยขบวนการทางชีวเคมีแบบใช้ออกซิเจน ดังนั้นหากเราสามารถออกแบบการออกกำลังกายที่ต่อเนื่องยาวนาน จนถึงระดับที่ร่างกายใช้พลังงานแบบใช้ออกซิเจนได้ และร่างกายจะใช้ออกซิเจนให้เกิดความเพียงพอกับความต้องการพลังงานในระหว่างออกกำลังกาย
ซึ่งการออกกำลังกายบางอย่าง เช่น การเดินเร็ว ปั่นจักรยาน จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อคนอ้วน คนที่มีปัญหาข้อต่อ คนสูงอายุที่ไม่มีโอกาสไปร่วมเต้นแอโรบิก การออกกำลังกายที่ถือว่าเป็นแอโรบิกนั้นมีองค์ประกอบ 4  อย่างคือ ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ๆ เช่น แขน ขา, หนักพอ, นานพอ  และต้องทำติดต่อกัน โดยให้ได้ 70-75% (บางอ้างอิงใช้ที่ 60-85%) ของความสามารถสูงสุดของอัตราการเต้นของหัวใจของแต่ละบุคคล ซึ่งจะดูได้จากชีพจร ชีพจรต้องเต้นจนถึงขนาดที่กำหนดตามอายุของแต่ละคน (หากอายุมากขึ้น จะมีชีพจรสูงสุดในการทำงานลดลง) จึงจะถือว่าการออกกำลังกายนั้นหนักพอ  ในการคำนวณหาความสามารถสูงสุด  =  220 - อายุ
การออกกำลังกายต่อเนื่องประมาณ 20 - 30 นาที มีความเพียงพอที่จะกระตุ้นพัฒนาการของอวัยวะต่างๆ แต่หากต้องการลดน้ำหนักอาจต้องออกกำลังกายเพิ่มขึ้นเป็น 30 - 60 นาทีเป็นอย่างน้อย

Ref: แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและดูแลรักษาโรคอ้วน สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 
http://www.srinagarind-hph.kku.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=109:2011-12-23-02-32-27&catid=44:2011-06-13-02-42-42&Itemid=63
http://www.sponsor.co.th/sponsorboard2013/index.php?topic=632.0
http://en.wikipedia.org/wiki/Aerobic_exercise

วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,250 Colony-stimulating factors for febrile neutropenia during cancer therapy

Clinical therapeutics 
N Engl J Med    March 21, 2013

วงจรของเซลในไขกระดูกมีความไวต่อยาเคมีบำบัดในบางรูปแบบ รวมทั้งยาที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อดีเอ็นเอ (DNA-damaging agents) และยับยั้งการดำเนินไปตามวงจรของเซล (inhibit cell-cycle progression) ดังนั้นในผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในสูตรดังกล่าว เซลของสายเม็ดโลหิต (hematopoietic cells) ที่ปกติจะได้รับความเสียหายทั้งในทันทีและแบบสะสม
ผลของยาเคมีบำบัดที่รุนแรงซึงเกิดขึ้นแบบทันทีคือภาวะที่ผู้ป่วยมีไข้ร่วมกับการเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลในเลือดต่ำ (febrile neutropenia) ซึ่งนิยามคือการมีจำนวนนิวโทรฟิลน้อยกว่า 500 เซลต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร และมีอุณหภูมิร่างกายมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียส ยาเคมีบำบัดในขนาดมาตรฐานโดยส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์กับการมีนิวโทรฟิลต่ำ 6 -8 วัน ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ (National Cancer Institute, NCI) พบว่าผู้ป่วยมากกว่า 60,000 คน ได้รับการรับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อการรักษาในแต่ละปี หรือประมาณ 8 คนต่อประชากร 1,000 คนที่ได้รับยาเคมีบำบัด
การมีนิวโทรฟิลต่ำเป็นปัจจัยนำไปสู่การติดเชื้อเชื้อร้ายแรงและอาจจะทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้านิวโทรฟิลต่ำอย่างรุนแรงนานมากกว่า 10 -14 วัน จากข้อมูลการศึกษาของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลคือ 6.8% และในการวิเคราะห์อีกการศึกษาหนึ่งพบว่าอัตราการเสียชีวิตโดยรวมในโรงพยาบาลเท่ากับ 9.5% (15.3% ในผู้ป่วยที่มีหลักฐานของการติดเชื้อ) ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อการรักษาในโรงพยาบาลในทั้งสองการศึกษาเท่ากับ 13,372 เหรียญสหรัฐและ 19,110 เหรียญสหรัฐ ตามลำดับ
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-The Clinical Problem
-Pathophysiology and Effect of Therapy
-Clinical Evidence
-Clinical Use
-Adverse Effects
-Areas of Uncertainty
-Guidelines
-Recommendations
-Source Information

อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMct1210890

วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,249 วิธีการรับประอาหารไม่ให้อ้วน

กำลังจะจัดทำโครงการดูแลสุขภาพเจ้าหน้าที่ซึ่งพบว่าปัญหาน้ำหนักเกิน อ้วน เป็นปัญหาที่สำคัญ จากการสืบค้นพบวิธีการรับประอาหารไม่ให้อ้วน จึงนำมาเรียนรู้ร่วมกันครับ
1. รับประอาหารอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ในแต่ละวัน แต่ไม่จำเป็นต้องรับประทานครบทั้ง 5 หมู่ ใน 1 มื้อ
2. รับประอาหารอาหารวันละ 3 มื้อ และอาหารว่าง 1 มื้อ
3. ไม่งดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง แต่ควรลดขนาดของแต่ละมื้อแทน
4. การรับประอาหารอาหารมื้อเล็กๆ วันละ 4-5 มื้อจะช่วยให้น้ำหนักลดเร็วขึ้น
5. ไม่ควรรับประอาหารอาหารซ้ำๆ ติดต่อกันหลายวัน
6. หลีกเลี่ยงอาหารทอด ผัด อาหารที่มีครีม ไขมัน น้ำมัน กะทิ และน้ำตาลเป็นส่วนผสม
7. ไม่รับประอาหารอาหารจากกล่อง หรือกระป๋องโดยตรง ให้เทอาหารจำนวนพอเหมาะลงในจาน และ
เมื่อหมดแล้วไม่เติมอีก
8. ใช้จานขนาดเล็กทุกมื้อ เพื่อหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมากเกินไป
9. ตั้งกฎเกณฑ์ให้กับตนเองจะกินเฉพาะที่โต๊ะอาหาร ไม่กินระหว่างการเดินทางซึ่งมักจะเป็น
อาหารที่มีไขมันสูง
10. ไม่ควรยืนรับประอาหาร หรือรับประอาหารไปดูทีวีไป เพราะจะทำให้รับประอาหารมากเกินไปโดยไม่รู้ตัว
11. จำกัดอาหารที่ใช้มือหยิบรับประอาหาร เพราะจะทำให้กินเพลินจนไม่รู้ตัวว่ากินไปมากน้อยเท่าไร
12. หยุดรับประอาหารทันทีที่รู้สึกอิ่ม ไม่จำเป็นต้องกินอาหารจนหมดจาน การกินอาหารด้วยความเสียดายจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
13. ดื่มน้ำมากๆ ทั้งในมื้ออาหารและระหว่างมื้ออาหาร

Ref: แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและดูแลรักษาโรคอ้วน
สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 

วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,248 การตรวจประเมินการมีเลือดออกซ่อนเร้นในระบบทางเดินอาหาร

Evaluation of occult gastrointestinal bleeding
American Family Physician 
March 15 2013 Vol. 87 No. 6

การมีเลือดออกซ่อนเร้นในระบบทางเดินอาหาร มีความหมายคือการมีเลือดออกในทางเดินอาหารที่ไม่สามารถมองเห็นได้โดยผู้ป่วยหรือแพทย์ ซึ่งอาจจะพบได้ทั้งจากการตรวจพบเลือดที่ซ่อนเร้นอยู่ในอุจจาระ (fecal occult blood test) หรือการมีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กโดยอาจจะมีหรือไม่มีเลือดที่ออกซ่อนเร้นอยู่ในอุจจาระก็ได้ การประเมินแบบเป็นขั้นตอนจะช่วยบอกสาเหตุของการเลือดออกได้ในผู้ป่วยส่วนใหญ่
กล้องส่องตรวจหลอดอาหาร-กระเพาะอาหาร-ลำใส้เล็กส่วนต้น (esophagogastroduodenoscopy, EGD) และการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) จะพบตำแหล่งของการมีเลือดออกได้ร้อยละ 48-71
ในผู้ป่วยที่มีเลือดออกซ้ำ การตรวจซ้ำด้วย EGD และส่องกล้องลำไส้ใหญ่ อาจพบรอยโรคที่ไม่พบจากการตรวจครั้งแรกได้ร้อยละ 35, ถ้ายังไม่พบสาเหตุหลังจากทำการตรวจด้วย EGD และกล้องลำไส้ใหญ่, การตรวจทางเดินอาหารด้วยการกลืนแคปซูลจิ๋ว (capsule endoscopy) จะสามารถให้การวินิจฉัยได้ร้อยละ 61-74
กล้องส่องตรวจลำใส้ชนิดลึก (deep enteroscopy) สามารถจะข้าไปได้ลึกถึงในลำไส้เล็กส่วนกลางและส่วนปลายเพื่อการตรวจสอบเพิ่มเติมและให้การรักษารอยโรคที่พบในระหว่างการตรวจโดยใช้แคปซูลจิ๋วหรือการสร้างภาพของลำใส้จากคอมพิวเตอร์ (computed tomographic enterography)
การประเมินผู้ป่วยที่มีการตรวจพบเลือดที่ออกซ่อนเร้นอยู่ในอุจจาระโดยไม่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กควรเริ่มต้นด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่, ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการซึ่งการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ให้ผลลบไม่จำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติมต่อจนกว่าจะเกิดมีภาวะโลหิตจางผู้ชายทุกคนและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และผู้หญิงก่อนวัยหมดประจำเดือนที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กที่ไม่สามารถอธิบายได้จากการประจำเดือนออกมาก ควรได้รับการประเมินการมีเลือดออกซ่อนเร้นในระบบทางเดินอาหาร
แพทย์ไม่ควรจะอ้างเหตุผลการที่ตรวจพบเลือดออกซ่อนเร้นอยู่ในอุจจาระว่าเกิดจากการได้รับยาแอสไพรินขนาดต่ำหรือยากันเลือดแข็งตัวโดยไม่มีการประเมินเพิ่มเติม

อ่านต่อ http://www.aafp.org/afp/2013/0315/p430.html

วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,247 การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนสัมผัส (HIV Pre-Exposure Prophylaxis, PrEP)

PrEP ย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxisเป็นการป้องการติดเชื้อวิธีใหม่ โดยการให้ยาต้านไวรัสแก่ผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อเอชไอวี ก่อนที่จะมีการสัมผัสโรค (pre-exposure) ในผู้ที่มีเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เพื่อป้องกัน (prophylaxis) การติดเชื้อ เพื่อลดปัญหาของความล่าช้าหรือการไม่ได้รับการรักษาหลังสัมผัส (Post-Exposure Prophylaxis, PEP สามารถลดการติดเชื้อทั้งในชายรักชาย และชายรักต่างเพศ รวมถึงในผู้ที่ฉีดสารเสพติดเข้าเส้นเลือด
องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้รับรองยาที่สามารถใช้ PrEP ตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 คือยา tenofovir (TDF) ขนาด 300 มก. และ emtricitabine (FTC) ขนาด 200 มก. ซึ่งรวมอยู่ในยาเม็ดเดียวกัน (TDF/FTC) โดยการรับประทานครั้งละ 1 เม็ดวันละครั้ง และต้องรับยาทุกวันอย่างสม่ำเสมอตลอดช่วงเวลาที่ยังมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอน (ไม่ใช่รับประทานเฉพาะเวลาที่จะมีเพศสัมพันธ์) ทั้งนี้จะต้องเน้นให้ผู้ที่ได้รับ PrEP เห็นความสำคัญของการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอร่วมกับการใช้ PrEP โดยผู้ที่จะได้รับ PrEP จะต้องมีหลักฐานจากการตรวจเลือดว่าไม่มีการติดเชื้อเอชไอวี ณ เวลาที่ได้รับ PrEP รวมทั้งไม่มีประวัติ และอาการและ/หรืออาการแสดงที่บ่งชี้ถึงการติดเชื้อเอชไอวีเฉียบพลัน จากการศึกษาพบว่า PrEP มีประสิทธิผล ร้อยละ 44-73 ในชายรักชาย และ ร้อยละ 62-75 ในหญิงหรือชายที่มีเพศสัมพันธ์แบบรักต่างเพศ ทั้งนี้ประสิทธิผลของ PrEP ขึ้นอยู่กับการรับประทานยาอย่างครบถ้วนสม่ำเสมอ (adherence) เป็นสำคัญ

Ref: thaiaidssociety.org/index.phpoption=com_content&view=article&id=123&Itemid=9
www.cdc.gov/hiv/prep/

วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,246 เกณฑ์ประเมินการเปิดของหลอดเลือดหัวใจ (reperfusion) หลังได้ยาละลายลิ่มเลือด ในผู้ป่วย STEMI

ในผู้ป่วย STEMI หลังจากการให้ยาระลายลิ่มเลือดเราก็ต้องประเมินต่อว่าการรักษาประสบความสำเร็จหรือไม่ ซึ่งสามารถประเมินได้ดังนี้
เกณฑ์ประเมินการเปิดของหลอดเลือดหัวใจ (reperfusion) หลังได้ยาละลายลิ่มเลือด

1. อาการเจ็บเค้นอกลดลง หรือหายอย่างรวดเร็ว
2. คลื่นไฟฟ้าหัวใจส่วนของ ST ที่ยกสูงขึ้นกลับลงมาสู่เกณฑ์ปกติ (ST resolution) ภายใน 120 นาทีหลังได้รับยาละลายลิ่มเลือด
3. ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่อาจพบได้แก่
  3.1. Accelerated idioventricular rhythm จากอ้างอิงของ medscape พบได้ 42%
  3.2. Frequent premature ventricular complexes เป็น arrhythmia แรกที่มักเกิดขึ้น พบได้ถี่มากขึ้นกว่าเดิม 2 เท่าภายใน 90 นาทีหลังให้ยาละลายลิ่มเลือด
  3.3. Nonsustained ventricular tachycardia (NSVT) จากอ้างอิงของ medscape พบได้ 7%
4. ระดับ cardiac enzyme CK-MB จะขึ้นสูงสุดประมาณ 12 ชั่วโมงหลังอาการเจ็บหน้าอกของผู้ป่วย (ปกติถ้าไม่มี reperfusion ระดับของ CK-MB จะขึ้นสูงสุดที่ 24-36 ชั่วโมง)

เพิ่มเติม
-และจากอ้างอิงใน medscape ยังกล่าวถึง arrhythmia อื่นๆ ที่พบได้น้อยได้แก่ Atrial fibrillation 6%, ventricular fibrillation 3%, อาจพบหัวใจเต้นช้าได้ 18% โดยส่วนใหญ่จะเป็น sinus bradycardia, และจะมีผู้ป่วยบางส่วนไม่มี arrhythmia ใดๆ เกิดขึ้นเลย
-ส่วนในหนังสือโครงการพัฒนาทักษะการดูแลผู้ป่วย STEMI ในโรงพยาบาลเครือข่ายเขต 14 กล่าวว่าสามารถพบ T wave inversion ได้เร็วขึ้นจาก 4 ชม. เป็น 1 ชม. ถ้าเกิดการเปิดของหลอดเลือด
-ST segment ที่ลลดลงมากกว่า 70% บ่งบอกถึงการพยากรณ์โรคที่ดีมาก

Ref: มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน สถาบันโรคทรวงอก
หนังสือโครงการพัฒนาทักษะการดูแลผู้ป่วย STEMI ในโรงพยาบาลเครือข่ายเขต 14
http://www.medscape.com/viewarticle/409110_3

วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,245 การแยกความแตกต่างระหว่างภาวะสมองฝ่อ (brain atrophy) กับการมีน้ำคั่งในสมอง (hydrocephalus) ในการตรวจด้าน imaging

พบผู้ป่วยหญิงสูงอายุ มีลักษณะของสมองเสื่อมและการช่วยเหลือตนเองลดลงในเวลาค่อนข้างเร็ว ผลเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมองพบว่ามีการลดลงของเนื้อสมองซึ่งสงสัยระหว่างภาวะสมองฝ่อ (brain atrophy) กับการมีน้ำค้งในสมอง (hydrocephalus) จึงสืบค้นการแยกความแตกต่างดังกล่าว พบว่าความแตกต่างจากการตรวจด้าน imaging (รวมหลายๆ อย่าง) ซึ่งสนับสนุนการมีน้ำคั่งในสมองมากกว่าสมองฝ่อได้แก่
-มีการขยายตัวของ temporal horns
-ไม่มีการขยายตัวของ perihippocampal fissures
-มีการเพิ่มขึ้นของรัศมี frontal horn
-Ventricular มีลักษณะเป็นหมุนแหลม
-มีการบวมของเนื้อเยื่อรอบ ventricular จากการตรวจด้วย transependymal flow
-พบว่ามีการใหลของน้ำไขสันหลังภายใน ventricular จากการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
-มีการกว้างขึ้นของ third ventricular recesses : ที่ระดับ mid sagittal
-มีการเคลื่อนขึ้นด้านบนของ corpus callosum : ที่ระดับ mid sagittal
-มีการยุบตัวลงของ posterior fornix : ที่ระดับ mid sagittal
-มีการลดความห่างระหว่าง mammillo-pontine : ที่ระดับ mid sagittal

ซึ่งในแต่ละตำแหน่งทางกายวิภาคที่กล่าวมาถ้าจำไม่ได้หรือไม่แน่ใจก็สามารถเปิดค้นหาจากเสิร์ชเอ็นจิ้นเพื่อศึกษาเพิ่มเติมได้นะครับ

Ref: http://radiopaedia.org/articles/hydrocephalus-versus-atrophy

วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,244 ควรตรวจคัดกรองและให้การรักษา H. pyroli แบบ routine ในผู้ป่วย GERDหรือไม่

การตรวจคัดกรองและให้การรักษาแบบ routine ไม่ได้เป็นคำแนะนำเนื่องจากยังไม่มีข้อมูลหลักฐานเพียงพอว่าการตรวจและการรักษาจะมีผลต่ออาการของ GERD ในผู้ป่วยหรือไม่ นอกจากนั้นการตรวจ H.pyroli ไม่เป็นคำแนะเนื่องจากการคำนึงถึงว่าในผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่ได้รับยา proton pump inhibitor (PPI) เป็นเวลานานมักจะเกิด atrophic gastritis ซึ่งจะคล้ายๆ กับแนวทางเดิมที่ไม่แนนำให้กาตรวจแบบ routine ในกรณีที่เป็น GERD อย่างเดียว แต่ควรจะตรวจในกรณีที่กำลังมีการเกิด peptic ulcer หรือมีประวัติ peptic ulcer ในอดีต
Ref: www.medscape.com/viewarticle/780737?nlid=29203_1048&src=wnl_edit_dail
www.medscape.com/viewarticle/460810

วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,243 The pathogenesis of the antiphospholipid syndrome

Review article
Mechanism of disease
N Engl J Med   March 14, 2013

Antiphospholipid syndrome เป็นความผิดปกติของ prothrombotic ที่สามารถส่งผลต่อทั้งระบบใหลเวียนของหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดง โดยหลอดเลือดดำชั้นลึกของขาและหลอดเลือดแดงในสมองเป็นตำแหน่งที่พบได้บ่อยที่สุดของการตีบในหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เนื้อเยื่อต่างๆ หรืออวัยวะที่มีเส้นเลือดไปหล่อเลี้ยงสามารถได้รับผลกระทบ
Catastrophic antiphospholipid syndrome มีลักษณะของการอุดตันในหลอดเลือดขนาดเล็กจำนวนมากและนำไปสู่การล้มเหลวของอวัยะหลายส่วน (multiorgan failure) และมีอัตราการเสียชีวิตสูง โดยเกิดขึ้นในกลุ่มย่อยเล็กๆ ของผู้ป่วย
ในสถานการณ์ที่ใช้การยืนยันโดยจุลพยาธิวิทยา การตีบของหลอดเลือดควรจะเกิดขึ้นโดยไม่มีหลักฐานของการอักเสบในผนังหลอดเลือด ลักษณะทางคลินิกอื่น ๆ ที่สำคัญของ antiphospholipid syndrome คือในด้านสูติศาสตร์ ซึ่งรวมถึงการเสียชีวิตของทารกที่อยู่ในครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 10 สัปดาห์ตั้งแต่หนึ่งครั้งขึ้นไปโดยไม่่่สามารถอธิบายสาเหตุได้, ในทารกที่มีรูปร่างปกติปกติซึ่งคลอดก่อนอายุครรภ์ 34 สัปดาห์ตั้งแต่หนึ่งครั้งขึ้นไปอันเนื่องมาจากทั้ง eclampsia หรือ severe  preeclampsia, และการแท้งก่อนสัปดาห์ที่ 10 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งเกิดขึ้นเองอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สามครั้งขึ้นโดยไม่สามารถอธิบายสาเหตุได้
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Role of autoantibodies with lupus-anticoagulant activityu
-Thrombotic mechanism
  Post-Translational Redox Modifications of β2-Glycoprotein I
  Conformations of β2-Glycoprotein I
  Triggers of Thrombosis
  Endothelial Nitric Oxide Synthase
  Endothelial Cells and Monocytes
  Tissue Factor
  Factor XI
  Platelets
  Annexin A5 Anticoagulant Shield and Hydroxychloroquine
  Complement and Neutrophils
  Disturbance of Innate Immunity
-Source information

อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1112830

วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,242 เมื่อตรวจพบ anti-HCV ให้ผลบวก จะทำอย่างไรต่อ

- ตรวจปริมาณ HCV RNA ในเลือดเพื่อยืนยันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
- ถ้าตรวจไม่พบ HCV RNA ให้ตรวจ HCV RNA อีกครั้งที่ 6 เดือน ถ้าไม่พบ ให้หยุดติดตามได้
- ถ้าตรวจพบ HCV RNA ให้ประเมินสภาวะของโรคตับ ด้วยการตรวจเลือดแสดงการทำงานของตับ (liver function test; LFT) ตรวจทางรังสีวิทยาเช่น อัลตราซาวนด์ และ/ หรือวิธีอื่นได้แก่ ตรวจวัดความยืดหยุ่นของตับ (liver stiffness) ด้วย transient elastography เป็นต้น และตรวจ HBsAg, anti-HBc, HIV Abและ HAV Ab เพื่อพิจารณา แนวทางการดูแลรักษาในผู้ป่วยทุกราย
-ตรวจสายพันธ์ไวรัสตับอักเสบซี (HCV genotype) เพื่อวางแนวทางการรักษา
-แนะนำให้ตรวจหาหลักฐานการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ในผู้ป่วยที่ไม่พบสาเหตุของการมีภาวะตับอักเสบ โดยเฉพาะผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง หรือผู้ป่วย HIV หรือ ผู้ป่วยที่ได้ยากดภูมิคุ้มกัน ด้วยการตรวจ HCV RNA ในเลือด แม้ว่าการทดสอบ anti-HCV เบื้องต้นให้ผลลบ
เพิ่มเติม
ซึ่งเหตุผลที่ต้องตรวจยืนยันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี เนื่องจากผลบวกปลอม (false positive) ของ Anti-HCV อาจพบได้ใน autoimmune disorder, spontaneous, transplant recipient, chronic renal failure on dialysis, HIV positive

Ref: แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังในประเทศไทยปี พ.ศ. 2555
http://www.medicthai.net/picture/news/154805abbott321.pdf

วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,241 ความแตกต่างของคำว่า angina pectoris, stable angina, unstable angina และ acute coronary syndrome

เวลาตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยในกลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจอาจจะพบศัพท์บางคำบ่อย บางครั้งต้องนึกถึงนิยามของคำเหล่านั้น บางครั้งก็ไม่แน่ใจหรือลืม จึงมาทบทวนความหมายกันหน่อยนะครับ

Angina pectoris (anginal pain) เป็นอาการเจ็บอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่มีลักษณะคือ
1. มีความรู้สึกไม่สบายเจ็บแน่นใต้กระดูกหน้าอก (substernal) โดยอาจจะมีหรือไม่มีอาการปวดร้าวก็ได้ ถ้ามีจะเจ็บร้าวไปที่แขน คาง ฟัน คอ ไหล่ หลัง ร้าวตามแขนด้านในลามถึงข้อมือ (แต่ในบางอ้างอิงถ้าไม่มีอาการร้าวจะถือว่าเป็น atypical angina pectoris) ร่วมกับมีลักษณะดังในข้อ 2 และ 3
2. กระตุ้นให้เพิ่มขึ้นโดยการออกกำลังหรืออารมณ์เครียด
3. ดีขึ้นได้ด้วยการพักหรือได้ยา nitroglycerine
โดย typical จะหมายถึงการมีลักษณะดังกล่าวทั้ง 3 ข้อ ถ้ามีแค่ข้อ 1 แต่ไม่มีข้ออื่นครบ จะเป็นลักษณะ atypical
Stable angina  (เจ็บอกแบบคงที่) มีอาการเจ็บอกที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงภายในช่วงสองเดือน
Unstable angina (เจ็บอกแบบไม่คงที่) มีอาการเจ็บอกขณะพัก (rest pain) มีการเจ็บอกครั้งใหม่รุนแรง (new onset severe angina) ในช่วงเวลาน้อยกว่า 2 เดือน และมีอาการเจ็บเพิ่มมากขึ้น (increasing angina) เจ็บอกนานขึ้นรุนแรงขึ้น เจ็บอกถี่ขึ้น ทำให้ทำงานออกแรงได้น้อยลง
Acute coronary syndrome (ACS) กลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จะมีลักษณะคือ เจ็บอกแบบ angina pectoris หรือ เจ็บอกขณะพักนานตั้งแต่ 20 นาทีขึ้นไป (พบร้อยละ 80) เจ็บอกครั้งใหม่ที่มีความรุนแรง หรือเจ็บอกรุนแรงมากกว่าที่เคยเจ็บ (พบร้อยละ 20) ตรวจร่างกายส่วนมากไม่พบความผิดปกติ แต่อาจตรวจพบอาการแสดงอื่นๆ ที่ผิดปกติได้ เช่น ได้เสียง gallop หรือ murmur เป็นต้นโดย ACS แบ่งได้เป็น unstable angina, NSTEMI และ STEMI

Ref: แนวทางเวชปฏิบัติในการวินิจฉัยและรักษาโรคหัวใจขาดเลือดเ ฉียบพลัน โดยสถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์
 http://annals.org/article.aspx?articleid=1392193
http://humility.hubpages.com/hub/Typical-and-Atypical-Angina-Pectoris

วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,240 ว่าด้วยเรื่องอาหารกับการมีโพแทสเซียมในเลือดสูงในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

กำลังเตรียมการสอนเรื่องโรคไตเรื้อรัง เห็นเนื้อหาเรื่องอาหารกับการมีโพแทสเซียมในเลือดสูง คิดว่ามีประโยขน์จึงนำมาลงไว้ครับ

ผู้ป่วยโรคไตที่มีการทำงานของไตลดลง ร่างกายไม่สามารถขับโพแทสเซียมออกได้ตามปกติ ทำให้ผู้ป่วยบางรายมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงและอาจนำไปสู่อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจเต้นผิดปกติ หรือหยุดเต้นได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง และเลือกรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำหรือปานกลางแทน
โดยพิจารณาดังนี้
-ผู้ที่มีระดับโพแทสเซียมในเลือดมากกว่า 5.2 mEq/L ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงถึงปานกลาง
และเลือกผลไม้โพแทสเซียมต่ำ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ส่วน หรือผักที่มีโพแทสเซียมต่ำ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 ส่วนต่อวัน
-ผู้ที่มีระดับโพแทสเซียมในเลือดน้อยกว่า 3.5 mEq/L สามารถรับประทานผลไม้หรือผักที่มีโพแทสเซียม
สูง น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ส่วน/วัน, ผลไม้หรือผักที่มีโพแทสเซียมปานกลาง น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 ส่วน/วัน, ผลไม้โพแทสเซียมต่ำ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 ส่วน/วันหรือผักที่มีโพแทสเซียมต่ำ น้อยกว่าหรือเท่ากับ4 ส่วน/วัน
นอกจากนี้ผู้ที่มีภาวะไตเสื่อมควรระมัดระวังการใช้ผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่มีโซเดียมต่ำในท้องตลาด เนื่องจากผลิตภัณฑ์ กลุ่มดังกล่าวมักใช้เกลือโพแทสเซียมแทน ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงๆ ได้ ดังนั้นจึงควรอ่านฉลากบนบรรจุภัณฑ์ก่อนการเลือกซื้อสิ้นค้า
ปริมาณโพแทสเซียมในผักและผลไม้แต่ละชนิดสามารถอ่านรายละเอียดได้จากในอ้างอิงด้านล่างนะครับ

Ref: คู่มือการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น โดยสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย

วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,239 เหตุผลที่คนไทยควรลดการบริโภคเกลือลงครึ่งหนึ่ง

วันนี้เห็นแผ่นพับ "ลดเค็มครึ่งหนึ่ง คนไทยห่างไกลโรค" โดยเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
จึงสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมและสรุปเหตุผลที่คนไทยควรลดการบริโภคเกลือลงครึ่งหนึ่ง

เพราะเนื่องจากมีการศึกษาพบว่าคนไทยบริโภคเกลือประมาณ 10.8 กรัมต่อวัน ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้รับบริโภคเกลือน้อยกว่า 5 กรัมต่อวัน (เกลือ 5 กรัม คือประมาณน้ำปลา 3 ช้อนชา) เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดแลหัวใจ  โดยข้อมูลต่างจากทั่วโลกบ่งชี้ว่าประชากรส่วนใหญ่จะบริโภคเกลือมากกว่า 5 กรัมต่อวัน คือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาน 9 -12 กรัม การบริโภคเกลือมากก่อให้เกิดการมีเกลือและน้ำคั่งในอวัยวะต่างๆ  เกิดความความดันโลหิตสูงมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจเพิ่มมากขึ้น มีผลต่อการทำงานของไตเนื่องจากต้องเพิ่มการกรองโซเดียมและน้ำส่วนเกินของร่างกายผลที่ตามมาคือเกิดความดันในหน่วยไตสูงขึ้น และการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะมากขึ้นนอกจากนี้ยังกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารบางอย่าง สิ่งเหล่านี้ทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น อาจนำมาสู่โรคไตเรื้อรัง และโดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงอยู่ก่อนแล้วเช่น ผู้สูงอายุ น้ำหนักเกิน เป็นเบาหวาน โรคไตเดิม ซึ่งรายละเอียดที่เขียนเป็นภาษาไทยและปริมาณโซเดียมในอาหารแต่ละชนิด - เครื่องปรุงรส รายละเอียดการปฏิบัติตัวเพื่อลดปริมาณโซเดียมในอาหารลง สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากอ้างอิงที่ 4 ครับ

Ref: http://www.nephrothai.org/news/news.asp?type=KNOWLEDGE&news_id=371
http://www.who.int/gho/ncd/risk_factors/unhealthy_diet_text/en/index.html
http://www.who.int/dietphysicalactivity/reducingsaltintake_EN.pdf
http://www.nephrothai.org/nephrothai_boffice/images_upload/news/273/files/nephro_journal_2011120901.pdf

วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,238 ศักยภาพของโรงพยาบาลที่สามารถให้บริการการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันด้วยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ

ต่อเนื่องจกาก post ก่อนหน้านี้ในเรื่องการเตรียมตัวเพื่อพัฒนาช่องทางด่วนสำหรับโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน (stroke fast tract) 
โดยเป็นสถานบริการที่สามารถให้บริการ 24 ชม. ในเรื่องต่างๆ ดังนี้
1. ประสาทแพทย์หรือแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน/อายุรแพทย์ ที่ได้รับประกาศนียบัตรอบรมการให้ยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA) ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันในระยะเฉียบพลันโดยได้รับการรับรองจากสถาบันที่ได้รับการยอมรับระดับชาติ
2. ประสาทศัลยแพทย์
3. มี CT brain
4. สามารถตรวจ Bood sugar, CBC, Electrolyte, BUN, Cr, Coagulogram
5. สามารถหาเลือดและส่วนประกอบของเลือด เช่น FFP, Cryoprecipitate, platelet concentrate และ pack red cell
6. มี ICU หรือ stroke unit (SU)
7. มีการสำรอง rt-PA ไว้ในบริเวณที่รักษา เช่น ER, ICU หรือ SU

แต่ศักยภาพของ รพ. พิมายไม่มีประสาทศัลยแพทย์และความพร้อมในบางส่วนจึงจะเป็นลักษณะของการวินิจฉัย และการให้ให้ยาละลายลิ่มเลือด ก่อนที่จะส่งไปยัง รพศ. ที่เป็นแม่ข่ายของเรา

Ref: แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันด้วยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ
http://pni.go.th/cpg/sft-2007.pdf

วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,237 แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันด้วยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ

ที่โรงพยาบาลกำลังพัฒนาช่องทางด่วนสำหรับโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน (stroke fast tract) จึงสืบค้นข้อมูลเพื่อหาแนวทาง พบแนวทางซึ่งจัดทำโดยสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-ศักยภาพของโรงพยาบาลที่สามารถดำเนินการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันด้วยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ
-แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันด้วยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ
-ข้อบ่งชี้และข้อห้ามในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันด้วยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ
-การบริหารยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ
-การรักษาภาวะแทรกซ้อน
-Monitor and care during and after thrombolytic treatment
-Elevated Blood Pressure Treatment Sheet for Thrombolytic Therapy
-เอกสารอ้างอิง
-ภาคผนวก

ลิ้งค์ดาวน์โหลด http://pni.go.th/cpg/sft-2007.pdf

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,236 Governance challenges in global health: ความท้าทายในการกำกับดูแลสุขภาพทั่วโลก

Review article
Global health
N Engl J Med   March 7, 2013

สุขภาพทั่วโลกเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ มีเพียงไม่กี่ครั้งในประวัติศาสตร์ที่โลกเผชิญหน้ากับความท้าทายที่ซับซ้อนขนาดนี้ โดยมีสิ่งคุกคามถึงสามอย่าง: สิ่งแรกคือการที่ยังไม่สิ้นสุดของงานด้านการติดเชื้อ ทุพโภชนาการ และปัญหาด้านอนามัยการเจริญพันธุ์, สองคือการเพิ่มขึ้นปัจจัยโดยทั่วโลกของโรคไม่ติดต่อและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เช่นการสูบบุหรี่และโรคอ้วน; และสามคือความท้าทายที่เกิดจากโลกาภิวัตน์เอง เช่นผลกระทบต่อสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและนโยบายทางด้านการค้า ความต้องการที่นอกเหนือจากสุขภาพแบบดั่งเดิม ภัยคุกคามเหล่านี้มีการพัฒนาในหลายแง่มุมและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อนื่องในบริบทซึ่งโลกมีความหลากหลายเป็นอย่างมากของบรรทัดฐานของสังคม ค่านิยมและความสนใจ เช่นเดียวกับความไม่เสมอภาคเป็นอย่างมากในการแพร่กระจายของความเสี่ยงทางด้านสุขภาพและทรัพยากรไปยังพวกเขา

เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
Understanding Global Health and Governance
The Global Health System: The New Reality of Pluralism
Major Governance Challenges for Global Health
   The Sovereignty Challenge
   The Sectoral Challenge
   The Accountability Challenge
Four Functions of the Global Health System
Implications for Policy
Source Information

อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1109339

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,235 โรคและความผิดปกติที่เกิดจากโรคอ้วน

กลุ่มโรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับโรคอ้วน 
-ความดันโลหิตสูง มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 2.9 เท่า
-โรคหัวใจและหลอดเลือด พบอันตรายจากโรคหัวใจโคโรนารีเพิ่มขึ้น แม้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10  
-โรคมะเร็งบางชนิด เสียชีวิต 1.3 เท่าในเพศชาย และ 1.6 เท่าในเพศหญิง
-โรคนิ่วในถุงน้ำดี มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 3-4 เท่า
-โรคตับอักเสบจากไขมันสะสม (non-alcoholic fatty liver disease, NAFLD) พบร้อยละ 90 ในคนที่ดัชนีมวลกายมากกว่า 40 กก./ม.2 โดยในผู้ป่วยโรค NAFLD พบโรคอ้วนร่วมด้วยร้อยละ 60-90
กลุ่มความผิดปกติของต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม
-โรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีความเสี่ยงในการเกิดโรค 2 เท่าในคนอ้วนเล็กน้อย, 5 เท่าในคนอ้วนปานกลางและ 10 เท่าในคนที่อ้วนมาก
-ภาวะไขมันผิดปกติ (dyslipidemia) ไตรกลีเซอไรด์สูง, เอชดีแอล-ซี (HDL-C) ต่ำ, แอลดีแอล-ซี (LDL-C) มักปกติ ในขณะที่แอลดีแอล-ซี (LDL-C) ชนิดเล็กและหนาแน่น (small dense) เพิ่มขึ้น พบ postprandial hyperlipidemia
-ความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์ พบกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่ ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 1-2 เท่า พบมีฮอร์โมนระบบสืบพันธุ์ผิดปกติ ประจำเดือนผิดปกติ มีบุตรยาก
-Metabolic syndrome เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
-โรคเกาต์ ระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่าคนปกติ และมีโอกาสเป็นโรคเกาต์มากขึ้น
กลุ่มโรคหรือภาวะที่เกิดจากน้ำหนักตัวและไขมันมากเกิน
-โรคข้อเสื่อม เพิ่มความเสี่ยงต่อข้อเข่าเสื่อม ข้อกระดูกสันหลังเสื่อมซึ่งเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลาที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
-โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ นอนกรน, Obstructive sleep apnea พบร้อยละ 10 ในคนอ้วนที่ดัชนีมวลกาย ≥ 30 กก./ม2 และพบร้อยละ 44 ในคนอ้วนที่ดัชนีมวลกาย ≥ 40 กก./ม2
-ปัญหาอื่นๆ พบโรคผิวหนังได้มากกว่าปกติ อาทิ เชื้อรา moniliasis บริเวณใต้ราวนม รักแร้และขาหนีบ ผิวหนังบริเวณรอบคอและรักแร้เป็นปื้นดำ เรียกว่า acanthosis nigricans การไหลเวียนเลือดจากขาขึ้นสู่หัวใจไม่สะดวก เกิด varicose vein, venous thrombosis และ stasis dermatitis มีปัญหาจากการดมยาสลบ การผ่าตัด การคลอดบุตร และแผลผ่าตัดหายช้ามากกว่าคนทั่วไป อาจมีอาการท้องผูก ถ่ายอุจจาระลำบาก ผู้หญิงอาจมีอาการกลั้นปัสสาวะได้ไม่ดี
-กลุ่มปัญหาทางสังคม จิตใจและคุณภาพชีวิตที่สัมพันธ์กับโรคอ้วน มักไม่ได้รับความเป็นธรรมในสังคม อาทิ การสมัครเข้าทำงานเป็นต้น อาจรู้สึกท้อแท้ มีปมด้อยเวลาเข้าสังคม ความผิดปกติทางจิตใจ อาทำให้เปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานมากขึ้น


Ref: แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและดูแลรักษาโรคอ้วน
http://www.dms.moph.go.th/imrta/images/pdf_cpg/2553/53-4.pdf

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,234 ข้อควรพิจารณาเรื่องการรักษาไทรอยด์ก้อนเดี่ยวที่เป็นถุงน้ำ (cystic thyroid nodule)

ในเวชปฎิบัติยังพบการให้ thyroid hormone suppression therapy ในการรักษา cystic thyroid nodule และบางครั้งใช้กันนาน 2-3 ปี จึงขอทบทวนเรื่องนี้เพื่อเป็นข้อควรพิจารณาครับ

ไทรอยด์ก้อนเดี่ยวที่เป็นถุงน้ำส่วนใหญ่ที่ดูดออกแล้วยุบจะเป็น benign การให้ thyroid hormone suppression therapy ไม่ได้ช่วยป้องกันการเกิดซ้ำ จึงไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้ในการรักษา cystic thyroid nodule
ถ้าเจาะดูดซ้ำ 1 ครั้ง โอกาศหาย 25%, เจาะดูดซ้ำ 3 ครั้ง โอกาศหาย 56%, ถ้าเจาะดูดซ้ำ 5 ครั้ง โอกาศหาย 74% แต่ในกรณีที่เกิดขึ้นซ้ำเกิน 3 ครั้ง มักจะมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น ขนาดใหญ่เกิน 3 ซม. ซึ่งอาจมีโอกาสเป็นมะเร็งได้ จึงควรพิจารณาในการสืบค้นเพิ่มเติม และให้การรักษาด้วยการผ่าตัดออก แต่ถ้ามีปัจจัยของการเกิดมะเร็งต่ำอาจเจาะดูดซ้ำมากกว่า 3 ครั้งได้
เพิ่มเติม
-ส่วนใหญ่ของถุงน้ำจะมีส่วนที่เป็นเนื้อบางส่วน (partialy solid) หรือเป็นลักษณะ mixed or complex nodule  สาเหตุส่วนใหญ่มาจาก degenerating thyroid adenoma หรืออาจเกิดจากการมีเลือดออกหรือการมีเลือดออกร่วมกับเนื้อตายของต่อมไทรอยด์ก้อนเดี่ยวที่มีอยู่เดิม ซึ่งในกรณีนี้มักจะมีอาการปวด
-50% ของไทรอยด์ก้อนเดี่ยว (solitary thyroid nodules) จะเป็นชนิด cystic ซึ่งในบางอ้างอิงกล่าวว่าการตรวจประเมินและการดูแลรักษายังไม่เป็นที่สรุปชัดเจน
-ประมาณ 5% ไทรอยด์ก้อนเดี่ยวจะเป็นมะเร็ง

Ref: Clinical practise guideline 2010 เล่มที่ 1 ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://www.uptodate.com/contents/cystic-thyroid-nodules
http://www.aafp.org/afp/2003/0201/p559.html
http://emedicine.medscape.com/article/127491-overview
http://www.mayoclinic.com/health/thyroid-nodules/DS00491/DSECTION=causes

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,233 ความแตกต่างระหว่าง fibrillation และ fasciculation ของกล้ามเนื้อ

วันนี้พบผู้ป่วยหญิง อายุ 73 ปี มาด้วยมีอาการสั่นพริ้วเป็นจุดใต้ผิวหนังโดยทั่วร่างกาย ตรวจร่งกายพบว่าเป็นลักษณะ fasciculation ของกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นอาการแสดงอย่างหนึ่งของรอยโรคแบบ  lower motor neuron แต่ก็คุ้นๆ ว่ามีศัพท์คำว่า fibrillation ที่ใกล้เคียงหรืออาจเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ด้วยจึงสืบค้นข้อมูลพบดังนี้ครับ
Fibrillation จะเกิดขึ้นในแต่ละเส้นใยของกล้ามเนื้อเนื่องจากมีความเสียหายของเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงทำให้แอกซอนเกิดการผลิตศักย์กิริยา (action potential) ขึ้นเอง แต่เป็นลักษณะที่เป็นคลื่นสั่นพริ้ว  (fibrillation potential) เป็นผลให้เกิดการหดตัวของแต่ละเส้นใยกล้ามเนื้อ การหดตัวเหล่านี้จะไม่สามารถมองเห็นได้จากทางผิวหนังแต่จะสามารถตรวจได้โดยการใช้ electromyography (EMG) ผ่านทางเข็มที่ใช้ตรวจและจากการตรวจด้วยอัลตร้าซาวด์ โดย fibrillation ไม่ได้เกิดขึ้นในบุคคลที่มีสุขภาพดีทั่วไป แต่เป็นลักษณะสำคัญของความผิดปกติที่รุนแรงของเส้นประสาทส่วนปลาย, ความผิดปกติของกล้ามเนื้อซึ่งเกิดการแยกตัวของกล้ามเนื้อหรือการอักเสบ และในรอยโรคที่แบบ lower motor neuron  ต่างจาก fasciculation ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตา โดยเป็นลักษณะของใยกล้ามเนื้อที่เป็นกลุ่มเล็กๆ  ซึ่ง fasciculation ไม่จำเป็นต้องเป็นความผิดปกติเหมือนกับ fibrillation ถึงแม้ว่าทั้งสองจะสามารถพบได้ในรอยโรคของ lower motor neuron เหมือนกัน

Ref: http://en.wikipedia.org/wiki/Fibrillations

วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,232 Suprapubic cystostomy

พบผู้ป่วยซึ่งไม่สามารถปัสสาวะได้เองและไม่สามารถใส่สายสวนปัสสาวะได้บางครั้ง จึงทบทวนหัตถการที่จะสามารถช่วยผู้ป่วยได้...
Cystostomy เป็นกระบวนการทางศัลยกรรมเพื่อเปิดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ หรืออาจจะเรียกให้ละเอียดว่า suprapubic cystostomy หรือ suprapubic catheterization จะทำในกรณีที่ไม่สามารถใส่สายสวนเข้าทางท่อปัสสาวะตามปกติได้ด้วยสาเหตุต่างๆ, มีการบาดเจ็บ, การมีภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง หรือต้องการการผ่าตัดเปลี่ยนช่องทางขับถ่ายปัสสาวะ (urinary diversion) ในระยะยาว
โดยมี 2 วิธี
1. โดยผ่านการเปิดแผลเล็กๆ (open approach) ใต้สะดือ (เหนือ pubic symphysis)
2. โดยการผ่านทางผิวหนังของผนังช่องท้อง (percutaneous approach) อาจจะทำโดยเทคนิคต่างๆ ซึ่ง แบ่งได้เป็น
1. ใช้ seldinger technique
2. การใส่ catheter โดยใช้ sharp trocar
3. การผ่าตัดเข้าไปเพื่อหาตำแหน่งและทำโดยตรง
4. การใช้อัลตร้าซาวด์
5. การใช้ lowsley retractor
ข้อห้ามโดยสมบูรณ์ของการทำผ่านทางผิวหนัง
-กระเพาะปัสสาวะไม่ขยายตัวทำให้ไม่สามารถบอกตำแหน่งได้ หรือไม่สามารถตรวจหาได้จากการใช้อัลตร้าซาวด์
-มีประวัติของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
ข้อห้ามสัมพัทธ์ของการทำผ่านทางผิวหนัง
-มีความผิดปกติการแข็งตัวของเลือด
-เคยผ่าตัดช่องท้องส่วนล่างหรือช่องเชิงกราน
-มะเร็ช่องเชิงกราน โดยอาจจะเคยหรือไม่เคยได้รับการฉายรังสี
-มีการใส่อุปกรณ์ที่กระดูกหรือการรักษากระดูกเชิงการหัก
ถ้ามีข้อห้ามให้ทำแบบผ่านทางผิวหนัง สามารถทำโดยการเปิดแผลแทนเพื่อการเลาะผังผืดที่ยึดติด หลีกเลี่ยงการบาดเจ็บต่อลำไส้ ซึ่งอาจจะทำโดยศัลยแพทย์ทั่วไปหรือศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะ

Ref: http://emedicine.medscape.com/article/1893882-overview#aw2aab6b2b2

วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,231 Melanonychia: ความผิดปกติสีของเล็บน้ำตาล-ดำ

Melanonychia คือเล็บที่มีลักษณะเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ โดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นเส้นในแนวยาว เรียกว่า longitudinal (LM) melanonychia หรือ melanonychia striata สาเหตุที่สำคัญที่สุดคือ subungual melanoma ซึ่งอาจจะมีสาเหตุอื่นๆ อีกหลายอย่าง ได้แก่ ลักษณะที่เกิดจากสรีรวิทยาตามปกติ (physiologic longitudinal melanonychia), ความผิดปกติของโรคในระบบต่างๆ, จากการบาดเจ็บ, กาอักเสบ, เกิดจากเชื้อรา, ยา, และการเพิ่มการเพิ่มจำนวนของเซลชนิดที่ไม่ใช่เนื้องอกร้าย (benign melanocytic hyperplasias)
Melanonychia ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นเนื่องจากการผลิตเมลานินที่เพิ่มขึ้นโดยเมลาโนไซต์ (melanocytes) ในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีจะมีประมาณ 200 เมลาโนไซต์ต่อตารางเซนติเมตรในเนื้อเยื่อใต้โคนเล็บ (nail matrix) ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงสงบอยู่แต่เมื่อถูกกระตุ้น เมลาโนโซมจะเต็มไปด้วยเมลานินและจะถูกย้ายไปที่เนื้อเยื่อใต้โคนเล็บต่างๆ โดยจะไปที่ส่วนปลายกลายเป็นเซลที่แผ่นเล็บ (nail plate onychocytes) ทำให้เห็นเป็นเส้นหรือลายของสีในแผ่นเล็บ เท่าที่ค้นดูเหมือนจะยังไม่มีชื่อที่เป็นภาษาไทยของโรคนี้โดยตรง หรือถ้าท่านผู้อ่านท่านใดทราบก็ช่วยบอกด้วยก็ได้ครับ ส่วนการรักษาจะพิจารณาการรักษาตามสาเหตุ หรือยาที่ทำให้เกิดครับ

Ref: http://emedicine.medscape.com/article/1375850-overview#a0101

2,230 บทความ ข้อคิดชีวิตเรื่องความพลัดพรากกับความเป็นแพทย์

วันนี้ไปเยี่ยมสุนัขพูดเดิ้ล ซึ่งเคยซื้อร่วมกับเพื่อนแพทย์ด้วยกันตอนจบแพทย์ใหม่ๆ เมื่อ 13 ปีก่อน ตอนนี้เขาอยู่ที่บ้านเพื่อน เนื่องจากเพื่อนมีเวลามากกว่า ที่บ้านมีสถานที่กว้าง และที่สำคัญเขารักมากอาบน้ำทุกวัน ให้นอนด้วยกัน ตอนซื้อมาเป็นสุนัขที่เหลือเกือบจะตัวสุดท้ายเพราะสีของเขาน้ำตาลปนดำดูด่างๆ ทั้งใบหน้า-ลำตัว ตัวอื่นๆ ที่สวยกว่าจึงถูกซื้อไปหมดในบรรดาลูกๆ หลายตัวของแม่สุนัขท้องนี้ 
เราคิดว่าต้องรักเขามากๆ เพราะธรรมชาติให้สีเขามาไม่สวย คนมักไม่ชอบ เราควรจะชดเชยให้เค้า เราตั้งชื่อว่าเจ้า "มอมแมม" เขาฉลาด ชอบวิ่งจากบ้านพักมาตามหาเราที่ รพ. กลางคืนเวลานอนจะไม่กวนเดินเบาๆ ไม่เห่าหรือหยอกล้อกับตัวอื่นที่จะทำให้เรานอนไม่หลับ แต่ถ้าเช้าแล้วเขาจะมาอยู่ใกล้เพื่อปลุก เมื่อเราตื่นจึงจะเริ่มหยอกล้อกันหรือเห่าบ้าง 
เพื่อนแจ้งข่าวว่าเขามีอาการเหนื่่อยเบื่ออาหารตรวจพบมีก้อนที่ข้างลำตัวและในปอดสองข้าง ผลชิ้นเนื้อเป็น sarcomatoid carcinoma เพื่อนได้ส่งโรงพยาบาลสัตว์ทำการตรวจและรักษาพอสมควรมาระยะหนึ่งแล้ว แต่การรักษาไม่เป็นผลตอนนี้เขาผอมซูบมาก หิวหนังเหี่ยวย้นมากเนื่องจากการที่เคยอ้วนมาก่อน ป้อนอะไรก็ไม่กิน กินได้แต่น้ำเล็กน้อยแล้วก็จะใหลออกมาคืน หอบเหนื่อยค่อนข้้างมากตลอดเวลา ต้องหายใจทางปากช่วย ลุกเดินแทบจะไม่ไหว ดวงตาไม่สดใส ไร้ร่องรอยของสุนัขที่เล่นเก่งและประจบคนเก่งเหมือนแต่ก่อน เห็นแล้วเศร้ามาก นี่แหละมั้งเหตุผลที่ผมไม่อยากจะมีลูก เพราะขนาดสุนัขเรายังทุกข์-เศร้าได้ขนาดนี้ ถ้าเป็นลูกเราเอง เราจะเจ็บและทุกข์กว่านี้มากแค่ไหน และเป็นอีกเหตุผลที่ผมรับประทานมังสวิรัติมาตั้งแต่ก่อนจะเรียนแพทย์ และแม้แต่ตบยุงหรือบี้มดก็ไม่ทำมานานแล้ว เพราะไม่อยากก่อให้เกิดความพลัดพรากเนื่องจากเรา ซึ่งหลายๆ คนแม้แต่ภรรยาบอกว่าผมแปลก คิดไม่เหมือนคนอื่นๆ อันนี้ผมก็ยอมรับครับ 
เหตุการณ์นี้ทำให้ผมได้บทเรียนว่าคนหรือสิ่งอันเป็นที่รักของทุกๆคน ใครๆ ก็คงรักไม่อยากให้จากไป การเป็นหมออาจจะช่วยไม่ให้คนเราต้องพลัดพลาดจากคนอันเป็นที่รักโดยยังไม่สมควร สิ่งที่พบในวันนี้ทำให้ผมรู้สึกมีกำลังใจในการทำงานเป็นหมอและพัฒนาความรู้ทางการแพทย์อีกครั้ง แม้บางครั้งจะเหนื่อย แทบจะไม่มีวันหยุด ไม่ได้นอน บางวันไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะได้นอนตอนไหนทั้งที่ไม่ได้นอนมา 24 ชม. แล้ว ไม่สามารถปิดโทรศัพท์ได้เลยตั้งแต่ซื้อโทรศัพท์ครั้งแรกเมื่อ 13 ปีก่อน อดนอนจนเวียนศรีษะคลื่นใส้ ทรงตัวไม่ค่อยไหว การทำงานมากความรับผิดชอบและเสี่ยงต่างๆ ก็มากตาม มีปัญหาอุปสรรคมากกมายในชีวิตการทำงานที่ต้องแก้ไข 
ผมขอให้สิ่งที่ผมทำมาตลอดและยาที่สืบค้นข้อมูลมาและนำไปให้ช่วยตอบสนองให้เจ้ามอมแมมดีขึ้นบ้าง แม้จะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก แต่ผมก็ทำได้เท่านี้ รู้สึกดีกว่าที่จะไม่ได้ทำอะไรเลย วันนี้ได้เขียนบทความให้เจ้ามอมแมมสัตว์ผู้ซื่อสัตย์และเป็นเพื่อนแท้ของมนุษย์ เจ้าเป็นสัตว์ตัวเล็กๆ มีหัวใจที่ใสสะอาด ไร้เดียงสาตั้งแต่เห็นครั้งแรกจนใกล้วาระสุดท้ายของชีวิต เจ้าทำให้ข้าได้ข้อคิด รู้ซึ้งต่างๆ มากถึงเพียงนี้ น้ำตาใหลออกมาอย่างกลั้นไม่อยู่ ทั้งที่เป็นคนที่ร้องให้ยากมาก บทความนี้ผมเขียนเพื่อระลึกถึง ให้เกียรติและตอบแทนความซื่อสัตย์ ความรักเจ้าของ ความไร้เดียงสาแก่สัตว์ผู้ซึ่งเป็นที่รักของผม มิได้ต้องการแสดงหรืออวดตัวใดๆ ทั้งสิ้น เพราะสิ่งที่ผมทำ ก็มักจะไม่ได้บอกใครอยู่แล้วและเป็นแนวคิด-ข้อคิดเห็นของปุถุชนคนหนึ่งที่ยังมีรักโลภโกรธหลงอยู่ครับ...

วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,229 แนะนำแอพพลิเคชั่นในการดูกล้องจุลทรรศน์เพื่อตรวจตะกอนปัสสาว (urinary sediments)

Urinemicro (urine microscopy guide)

โดย Heidi Andersen, Department of Medical Biology, Diakonhjemmet Hospital
เป็นแอพพลิเคชั่นในการดูกล้องจุลทรรศน์เพื่อตรวจตะกอนปัสสาว (urinary sediments) โดยใช้ข้อมูลจาก European Urinalysis Guidelines มีตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับสูง มี 188 ภาพที่แสดงให้เห็นการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ร่วมกับลักษณะทางคลินิกที่สำคัญ ซึ่งผมลองเปิดดูพบว่ามีภาพต่างในการตรวจปัสสาวะอย่างครบถ้วน และยังมีแบบทดสอบโดยการดูภาพแล้วตอบทั้งระดับระดับพื้นฐานและระดับสูง เมื่อตอบเสร็จจะมีคะแนนบอกและมีคอมเม้นท์ให้ด้วย ลองดาวน์โหลดไปศึกษาดูนะครับเพราะฟรี และมีทั้งเวอร์ชั่น android และ iPhone-iPad ครับ


ลิ้งค์ กดที่นี่