Appropriate and safe use of diagnostic imaging
American Family Physician
April 1 2013 Vol. 87 No. 7
-ความเสี่ยงของการตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่ายต่างๆ (diagnostic imaging) ได้แก่การเกิด มะเร็งจากการสัมผัสรังสีและการเกิด nephrogenic systemic fibrosis การเพิ่มมากขึ้นของปริมาณของตรวจในระหว่างปี 1980 ถึง2006 ได้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นถึงหกเท่าของการสัมผัสต่อรังสีต่อคนต่อปี มีการคาดการณ์ว่าร้อยละ 2 ของโรคมะเร็งในอนาคตจะเกิดจากการสัมผัสรังสีจากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography,CT)
-สารทึบรังสีแกโดลิเนียม (gadolinium) ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยที่มีโรคไตเรื้อรังขั้นที่ 4 หรือ 5 เพราะเป็นความเสี่ยงของการเกิด nephrogenic systemic fibrosis การตรวจโดยใช้ถ่ายภาพอย่างเหมาะสมตามแนวทางสำหรับสภาวะทางคลินิกที่เฉพาะเจาะจงสามารถจะลดความเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้ได้
-แม้ว่าการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ศรีษะเป็นสิ่งจำเป็นในการตัดแยกภาวะการมีเลือดออกในผู้ป่วยที่สงสัยโรคหลอดเลือดสมองภายในสามชั่วโมงแรกที่เริ่มมีอาการ, การตรวจด้วย diffusion-weighted imaging with magnetic resonance ของศรีษะและลำคอจะเหนือกว่า CT ภายใน 3- 24 ชั่วโมงของการเริ่มมีอาการ ส่วนการตรวจด้วยภาพถ่ายระบบประสาทในผู้ป่วยซึ่งปวดศรีษะควรจะทำในสถานการณ์ที่พิเศษเท่านั้น
-ไอโซโทป sestamibi มีรังสีน้อยกว่าแทลเลียม (thallium) สำหรับใช้ในตรวจการใหลเวียนโลหิตของหัวใจ (myocardial perfusion)
-การใช้สารทึบรังสีทางหลอดเลือดดำในการตรวจช่องท้อง-อุ้งเชิงกราน จะเพิ่มความถูกต้องวินิจฉัยสำหรับโรคไส้ติ่งอักเสบอย่างมีนัยสำคัญ
-Cholescintigraphy เป็นการตรวจที่ดีกว่า CT ในการวินิจฉัยถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน ในผู้ป่วยที่มีผลการตรวจจากอัลตร้าซาวด์กำกวม
-การตรวจด้วย three-view intravenous urography แนะนำในการหญิงตั้งครรภ์เพื่อประเมินการมีนิ่วของทางเดินปัสสาวะ ถ้าการตรวจจากอัลตร้าซาวด์ในเบื้องต้นให้ผลลบหรือกำกวม
-จะพบว่าการตรวจด้วยแม่เหล็กไฟฟ้ามักจะบอกว่ามีความผิดปกติของกระดูกสันหลังส่วนเอวในผู้ใหญ่ซึ่งไม่มีอาการ ด้วยเหตุผลนี้จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำในผู้ป่วยซึ่งมีอาการปวดหลังส่วนล่างโดยไม่มีสิ่งบ่งบอกอื่นๆ
-และการตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่ายโดยตลอดทั้งร่างกายยังไม่เป็นที่สนับสนุนจากหลักฐานที่มีในปัจจุบัน
Ref: http://www.aafp.org/afp/2013/0401/p494.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น