วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,247 การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนสัมผัส (HIV Pre-Exposure Prophylaxis, PrEP)

PrEP ย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxisเป็นการป้องการติดเชื้อวิธีใหม่ โดยการให้ยาต้านไวรัสแก่ผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อเอชไอวี ก่อนที่จะมีการสัมผัสโรค (pre-exposure) ในผู้ที่มีเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เพื่อป้องกัน (prophylaxis) การติดเชื้อ เพื่อลดปัญหาของความล่าช้าหรือการไม่ได้รับการรักษาหลังสัมผัส (Post-Exposure Prophylaxis, PEP สามารถลดการติดเชื้อทั้งในชายรักชาย และชายรักต่างเพศ รวมถึงในผู้ที่ฉีดสารเสพติดเข้าเส้นเลือด
องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้รับรองยาที่สามารถใช้ PrEP ตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 คือยา tenofovir (TDF) ขนาด 300 มก. และ emtricitabine (FTC) ขนาด 200 มก. ซึ่งรวมอยู่ในยาเม็ดเดียวกัน (TDF/FTC) โดยการรับประทานครั้งละ 1 เม็ดวันละครั้ง และต้องรับยาทุกวันอย่างสม่ำเสมอตลอดช่วงเวลาที่ยังมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอน (ไม่ใช่รับประทานเฉพาะเวลาที่จะมีเพศสัมพันธ์) ทั้งนี้จะต้องเน้นให้ผู้ที่ได้รับ PrEP เห็นความสำคัญของการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอร่วมกับการใช้ PrEP โดยผู้ที่จะได้รับ PrEP จะต้องมีหลักฐานจากการตรวจเลือดว่าไม่มีการติดเชื้อเอชไอวี ณ เวลาที่ได้รับ PrEP รวมทั้งไม่มีประวัติ และอาการและ/หรืออาการแสดงที่บ่งชี้ถึงการติดเชื้อเอชไอวีเฉียบพลัน จากการศึกษาพบว่า PrEP มีประสิทธิผล ร้อยละ 44-73 ในชายรักชาย และ ร้อยละ 62-75 ในหญิงหรือชายที่มีเพศสัมพันธ์แบบรักต่างเพศ ทั้งนี้ประสิทธิผลของ PrEP ขึ้นอยู่กับการรับประทานยาอย่างครบถ้วนสม่ำเสมอ (adherence) เป็นสำคัญ

Ref: thaiaidssociety.org/index.phpoption=com_content&view=article&id=123&Itemid=9
www.cdc.gov/hiv/prep/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น