กลุ่มโรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับโรคอ้วน
-ความดันโลหิตสูง มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 2.9 เท่า
-โรคหัวใจและหลอดเลือด พบอันตรายจากโรคหัวใจโคโรนารีเพิ่มขึ้น แม้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10
-โรคมะเร็งบางชนิด เสียชีวิต 1.3 เท่าในเพศชาย และ 1.6 เท่าในเพศหญิง
-โรคนิ่วในถุงน้ำดี มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 3-4 เท่า
-โรคตับอักเสบจากไขมันสะสม (non-alcoholic fatty liver disease, NAFLD) พบร้อยละ 90 ในคนที่ดัชนีมวลกายมากกว่า 40 กก./ม.2 โดยในผู้ป่วยโรค NAFLD พบโรคอ้วนร่วมด้วยร้อยละ 60-90
กลุ่มความผิดปกติของต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม
-โรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีความเสี่ยงในการเกิดโรค 2 เท่าในคนอ้วนเล็กน้อย, 5 เท่าในคนอ้วนปานกลางและ 10 เท่าในคนที่อ้วนมาก
-ภาวะไขมันผิดปกติ (dyslipidemia) ไตรกลีเซอไรด์สูง, เอชดีแอล-ซี (HDL-C) ต่ำ, แอลดีแอล-ซี (LDL-C) มักปกติ ในขณะที่แอลดีแอล-ซี (LDL-C) ชนิดเล็กและหนาแน่น (small dense) เพิ่มขึ้น พบ postprandial hyperlipidemia
-ความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์ พบกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่ ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 1-2 เท่า พบมีฮอร์โมนระบบสืบพันธุ์ผิดปกติ ประจำเดือนผิดปกติ มีบุตรยาก
-Metabolic syndrome เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
-โรคเกาต์ ระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่าคนปกติ และมีโอกาสเป็นโรคเกาต์มากขึ้น
กลุ่มโรคหรือภาวะที่เกิดจากน้ำหนักตัวและไขมันมากเกิน
-โรคข้อเสื่อม เพิ่มความเสี่ยงต่อข้อเข่าเสื่อม ข้อกระดูกสันหลังเสื่อมซึ่งเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลาที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
-โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ นอนกรน, Obstructive sleep apnea พบร้อยละ 10 ในคนอ้วนที่ดัชนีมวลกาย ≥ 30 กก./ม2 และพบร้อยละ 44 ในคนอ้วนที่ดัชนีมวลกาย ≥ 40 กก./ม2
-ปัญหาอื่นๆ พบโรคผิวหนังได้มากกว่าปกติ อาทิ เชื้อรา moniliasis บริเวณใต้ราวนม รักแร้และขาหนีบ ผิวหนังบริเวณรอบคอและรักแร้เป็นปื้นดำ เรียกว่า acanthosis nigricans การไหลเวียนเลือดจากขาขึ้นสู่หัวใจไม่สะดวก เกิด varicose vein, venous thrombosis และ stasis dermatitis มีปัญหาจากการดมยาสลบ การผ่าตัด การคลอดบุตร และแผลผ่าตัดหายช้ามากกว่าคนทั่วไป อาจมีอาการท้องผูก ถ่ายอุจจาระลำบาก ผู้หญิงอาจมีอาการกลั้นปัสสาวะได้ไม่ดี
-กลุ่มปัญหาทางสังคม จิตใจและคุณภาพชีวิตที่สัมพันธ์กับโรคอ้วน มักไม่ได้รับความเป็นธรรมในสังคม อาทิ การสมัครเข้าทำงานเป็นต้น อาจรู้สึกท้อแท้ มีปมด้อยเวลาเข้าสังคม ความผิดปกติทางจิตใจ อาทำให้เปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานมากขึ้น
Ref: แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและดูแลรักษาโรคอ้วน
http://www.dms.moph.go.th/imrta/images/pdf_cpg/2553/53-4.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น