American Family Physician
February 15 2013 Vol. 87 No. 4
โรคพาร์กินสัน (Parkinson disease) เป็นโรคทางระบบประสาทที่มีลักษณะของการดำเนินโรคที่เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ สามารถพบได้ 1% ของชาวอเมริกันที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ลักษณะที่สำคัญของโรคคือ การเคลื่อนไหวเชื่องช้า (bradykinesia) มีลักษณะแข็งเกร็ง (rigidity) และการทรงตัวไม่มั่นคง (postural instability) มีลักษณะทางระบบประสาทที่คล้ายกับโรคอื่นๆ จึงทำให้เป็นเรื่องยากที่จะวินิจฉัยในระยะแรกของโรค แพทย์ที่ไม่ค่อยได้พบและให้การวินิจฉัยโรคพาร์กินควรส่งต่อผู้ป่วยที่สงสัยไปยังแพทย์ที่มีประสบการณ์มากกว่าเพื่อการวินิจฉัย และควรตรวจประเมินซ้ำ เป็นช่วงๆ เพื่อความถูกต้องของการวินิจฉัย การรักษามีประสิทธิภาพในการลดการสูญเสียการทำงานและความพิการของระบบประสาทสั่งการ
โดยควรจะเริ่มต้นให้การรักษาเมื่อผู้ป่วยเริ่มมีความผิดปกติของหน้าที่การทำงาน การให้ยา carbidopa ร่วมกับ levodopa เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ dopamine agonists และ monoamine oxidase-B inhibitors ก็มีประสิทธิภาพ และมีโอกาสน้อยที่จะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ (dyskinesias) สำหรับผู้ป่วยที่ใช้ carbidopa / levodopa แล้วมีภาวะแทรกของระบบประสาทสั่งการ การให้ยา dopamine agonist, monoamine oxidase-B inhibitor, หรือ catechol O-methyltransferase inhibitor ร่วมด้วย จะช่วยให้ระบบประสาทสั่งการและความสามารถในการทำงานดีขึ้น แต่จะเพิ่มการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติมากขึ้น การใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมองส่วนลึก (deep brain stimulation) มีประสิทธิภาพในผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้แม้ว่าจะได้รับการรักษาโดยการให้ยาอย่างดีที่สุดแล้ว การให้การรักษาผู้ป่วยในด้านการปฏิบัติงาน ด้านร่างกายและในเรื่องการพูดจะช่วยปรับปรุงการทำงานของผู้ป่วย ความเหนื่อยล้า การรบกวนการนอน ภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้าเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยๆ ในผู้ป่วยที่มีโรคพาร์กินสัน ถึงแม้ว่าสภาวะเหล่านี้จะสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญของผู้ป่วย แต่จะสามารถดีขึ้นได้ด้วยการรักษา
Ref: http://www.aafp.org/afp/2013/0215/p267.html
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น