Outpatient Diagnosis of Acute Chest Pain in Adults
American Family Physician
February 1 2013 Vol. 87 No. 3
ประมาณร้อยละ 1 ของผู้ป่วยที่มายังสำนักงานหรือหน่วยบริการปฐมภูมิจะมาด้วยอาการเจ็บหน้าอกและร้อยละ 1.5 ของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเป็นของอาการปวดเค้นไม่เสถียร (unstable angina) หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (acute myocardial infarction) เป้าหมายแรกในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกคือการตรวจสอบว่าผู้ป่วยมีความจำเป็นจะต้องส่งต่อเพื่อการตรวจเพิ่มเติมในการที่จะวินิจฉัยหรือการตัดออก (to rule in or out) ของโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน (acute coronary syndrome) และกล้ามเนื้อหัวใจตาย
แพทย์ควรพิจารณาลักษณะของผู้ป่วยและปัจจัยเสี่ยงที่จะช่วยประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น การตรวจคลื่นหัวใจสิบสองลีดเป็นการตรวจทางเลือกที่ทำโดยทั่วไปจะเพื่อมองหาการมี การเปลี่ยนแปลงของ ST segment, left bundle branch block ที่เกิดขึ้นใหม่, การมี Q waves, T wave inversions ที่เกิดขึ้นใหม่
ในกรณีที่สงสัยการมีหัวใจขาดเลือดจะต่ำกว่า การวินิจฉัยอื่น ๆ ที่ควรพิจารณาถึง ได้แก่ ความเจ็บปวดบริเวณผนังหน้าอก / การอักเสบบริเวณรอยต่อของกระดูกซี่โครงอ่อนกับซี่โครงแข็ง (costochondritis) ซึ่งจะมีการปวดเฉพาะที่จากการคลำ, โรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease) ซึ่งจะมีอาการปวดแสบร้อนใต้กระดูกสันอก ร่วมกับการใหลย้อนของกรดและรู้สึกมีรสเปรี้ยวหรือขมในปาก และมีความความผิดปกติทางจิตใจชนิดหวาดกลัว/วิตกกังวล (panic disorder/anxiety state)
ความผิดปกติอื่น ๆ ที่พบน้อยกว่าแต่มีสำคัญในการพิจารณาเพื่อการวินิจฉัยได้แก่ โรคปอดบวม (ไข้, เสียงการหายใจเป็นลักษณะ egophony และการเคาะทึบ), หัวใจล้มเหลว, เส้นเลือดปอดอุดตัน (โดยใช้เกณฑ์พิจารณาของเวลส์), เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเฉียบพลัน (acute pericarditis) และผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ในทรวงอกปริแยกเฉียบพลัน (acute thoracic aortic dissection) โดยจะพบว่ามีอาการเจ็บหน้าอกเฉียบพลันหรือปวดหลังร่วมกับการมีชีพจรแตกต่างกันในแขนแต่ละข้าง) ในผู้ที่มีความน่าจะเป็นสูงของการมีโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันควรจะส่งต่อไปยังแผนกฉุกเฉินหรือโรงพยาบาล
เพิ่มเติม
Egophony หมายถึง การเพิ่มขึ้นของเสียงก้อง เป็นลักษณะเสียงหายใจที่มีความถี่สูงคล้ายเสียงหายใจของแพะ ได้ยินในตำแหน่งที่มีการอักเสบของเยื่อหุ้มปอดหรือมีน้ำในเยื่อหุ้มปอด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น