Clinical practice
N Engl J Med February 28, 2013
Key Clinical Points
-การวินิจฉัยกระดูกสันหลังคด (scoliosis) จะสงสัยจากการตรวจร่างกายภาพและยืนยันด้วยการถ่ายภาพรังสีในขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในท่ายืน โดยจะพบว่ามีความโค้งของกระดูกสันหลังเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ 10 องศาขึ้นไป
-กระดูกสันหลังคดชนิดไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic scoliosis) พบได้ 2% ของวัยรุ่น วัยรุ่นที่มีหลังคดควรได้รับการตรวจร่างกายโดยละเอียดเพื่อตัดแยกภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรม (เช่น Marfan's syndrome), neurofibromatosis หรือโรคทางระบบประสาทอื่นๆ
-วัยรุ่นส่วนใหญ่ที่มีกระดูกสันหลังคดชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ไม่มีการดำเนินของโรคที่มากขึ้น (nonprogressive idiopathic scoliosis) สามารถตรวจพบได้โดยแพทย์เวชปฏิบัติปฐมภูมิและไม่จำเป็นต้องรักษาอย่างรีบด่วนในทันที
-เสื้อเกราะพยุงกระดูก (bracing) โดยทั่วไปแนะนำในผู้ป่วยที่มีโครงร่างกระดูกยังไม่โตเต็มที่ซึ่งมีความโค้งที่เป็นมากขึ้นระหว่าง 25 - 45 องศา แต่ข้อมูลที่สนับสนุนแนวทางนี้เป็นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตซึ่งยังไม่เป็นเอกฉันท์ชัดเจน การศึกษาทดลองแบบสุ่มเปรียบเทียบกับการสังเกตในกระดูกสันหลังคดชนิดไม่ทราบสาเหตุขณะนี้กำลังก้าวหน้ามากขึ้น
-การรักษาโดยการผ่าตัดได้รับการแนะนำในผู้ป่วยซึ่งโครงร่างยังไม่เจริญเติมที่และการดำเนินของกระดูกหลังคดมากกว่า 45 องศา
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
The Clinical Problem
Strategies and Evidence
Evaluation
Treatment
Nonoperative Therapy
Operative Treatment
Areas of Uncertainty
Guidelines
Conclusions and Recommendations
Source Information
Key Clinical Points
อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1209063
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2,227 คู่มือสำหรับผู้ที่กินยาลดการแข็งตัวของเลือด
โดยคุณหมอโรคหัวใจ (cardiologist) ซึ่งใช้ชื่อในเว็บบอร์ด Thaiclinic.com ว่า Intimacy ได้จัดทำคู่มือสำหรับผู้ที่กินยาลดการแข็งตัวของเลือด ซึ่งแพทย์หรือผู้ให้การรักษาผู้ป่วยท่านใดจะนำไปใช้กัับสถานบริการหรือโรงพยาบาลของตนเองคุณหมอท่านก็ยินดี และต้องขอขอบคุณคุณหมอมานะที่นี้ด้วยครับ (อาจจะเป็นการใช้ภาษาง่ายๆ เป็นกันเอง เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจได้ง่ายนะครับ)
เอกสารประจำตัวของผู้ป่วยชื่อ...........................................................
การวินิจฉัย.........................................................................................
ฉุกเฉินติดต่อ......................................................................................
ท่านเป็นผู้หนึ่งที่หมอมีความเห็นว่าสมควรกินยาตัวนี้ ดังนั้นหมอจึงให้คู่มือนี้เพื่อให้ท่านมีความเข้าใจ
ถึงประโยชน์ และ อันตราย จากยาตัวนี้ครับ
ชื่อยา : ยานี้มีชื่อว่า Warfarin อ่านว่า วอ-ฟา-ริน
สรรพคุณของยา วอฟาริน :
โดยทั่วไปหมอจะเรียกยา วอฟาริน ว่า ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าธรรมชาติของร่างกายมนุษย์เรานั้น เลือดในตัวจะไม่จับกันเป็นก้อน แต่ถ้ามีแผลเลือดออก เลือดถึงจะจับตัวกันเป็นก้อนเพื่อเป็นการห้ามเลือด ยาวอร์ฟาริน มีฤทธิ์ในการป้องกันการแข็งตัวของเลือด ป้องกันเลือดจับตัวกันเป็นก้อนผิดปกติในร่างกาย
ทำไมท่านต้องกินยาตัวนี้
เนื่องจากหมอมีความเห็นว่าท่านมีโรคที่ทำให้เลือดจับตัวกันเป็นก้อนเลือดได้เองในหัวใจหรือในหลอดเลือดได้ง่ายกว่าคนอื่นซึ่งจะมีอยู่หลายโรคโดยหมอจะไม่กล่าวในรายละเอียด แต่ประเด็นสำคัญคือ
เลือดที่จับกันเป็นก้อนนี้สามารถลอยไปอุดในสมองทำให้สมองขาดเลือดเป็นโรคอัมพาตได้ กล่าวโดยสรุปคือท่านต้องกินยาตัวนี้เพื่อป้องกันโรคอัมพฤกษ์หรืออัมพาตนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีโรคอื่นๆที่หมอจ่ายยา วอฟารินให้เช่น ผู้ป่วยที่ผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม หรือผู้ป่วยบางรายก็กินยาวอฟารินเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดก้อนเลือดไปอุดเส้นเ ลือดที่ขาหรือที่ปอดเป็นต้น
อันตรายจากยา
ถ้ากินยาน้อยไปการรักษาก็จะได้ผลไม่ดี ทำให้ผู้ป่วยยังคงมีความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดที่เป็นอันตรายเหมือนกับไม่ได้กินยา แต่ถ้ากินยามากเกินไปก็จะเกิดปัญหาเลือดออกง่ายเนื่องจากเลือดไม่ยอมแข็งตัว ถ้ามีแผลตามผิวหนังเลือดก็จะหยุดยาก อาจจะมีเลือดออกปนกับอุจจาระหรือปัสสาวะ
ถ้ามีเลือดออกในกระเพาะอาหาร ก็จะทำให้อุจจาระจะเป็นสีดำ ถ้ามีประจำเดือนก็จะมีเลือดออกมากกว่าปกติ เวลาแปรงฟันอาจจะมีเลือดออกในปาก อาจจะมีจุดเลือดออกหรือมีจ้ำเขียวตามผิวหนังได้ง่ายหรือมีเลือดกำเดาไหลได้ง่าย
ท่านควรปฎิบัติตัวอย่างไร
1. ถ้าท่านไม่แน่ใจว่าท่านกินยาลดการแข็งตัวของเลือดอยู่หรือเปล่า ให้ท่านนำเอายาทั้งหมดที่ท่านกินอยู่มาถามเภสัชกรหรือถามหมอว่ายาตัวไหนเป็น ยาลดการแข็งตัวของเลือด ข้อมูลที่ท่านทราบและจดจำได้จะมีประโยชน์มากเวลาท่านเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นหรือไปพบแพทย์แผนกอื่น
2. กินยาในขนาดที่แพทย์สั่ง ห้ามเพิ่มหรือลดปริมาณยาเองเด็ดขาดถ้ามีเลือดออกผิดปกติให้หยุดยาทันที แล้วรีบมาปรึกษาแพทย์ โปรดจำไว้ว่าท่านสามารถมาพบแพทย์ประจำตัวก่อนวันนัดได้ และท่านสามารถมาปรึกษาแพทย์ท่านอื่นที่ห้องฉุกเฉินได้ตลอด24ชั่วโมง ที่โรงพยาบาลใดก็ได้
3. กินยาตรงเวลา ถ้าลืมไม่ถึง 12 ชั่วโมงก็ให้รีบหยิบมากิน แต่ถ้าลืมเกิน 12 ชั่วโมงก็ให้ข้ามมื้อนั้นไปเลยโดยให้ถือว่าขาดยาไปหนึ่งมื้อ และมื้อต่อไปก็กินยาเท่าเดิม ห้ามเพิ่มยาเองเด็ดขาด
4. ยานี้มีปัญหายาตีกันมาก ไม่ควรหาซื้อยา อาหารเสริม หรือสมุนไพรมากินเอง หมอแนะนำว่าแม้แต่ความเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ก็ควรมาพบแพทย์ก่อนใช้ยารักษาโรคทุกโรค เวลาท่านไม่สบายท่านไม่ควรซื้อยากินเอง ควรปรึกษาแพทย์และบอกแพทย์ว่าท่านกินยาวอฟารินอยู่ เพราะแม้แต่ยาที่ปลอดภัยอย่างเช่นยาลดไข้แก้ปวดเช่นยาพาราเซ็ตตามอล ถ้ากินวันละหลายๆเม็ดยาก็จะอาจทำปฏิกริยากับยาวอฟารินทำให้เลือดหยุดยากขึ้นจนเป็นอันตรายได้ ยาสมุนไพร ยาหม้อ ยาลูกกลอน หรือ ยาแผนโบราณอื่นๆ ก็อาจมีผลต่อยาวอร์ฟารินได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนกินยาใหม่ทุกชนิด
5. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดการกระทบกระแทก เพราะอาจทำให้เลือดตกในได้ และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดบาดแผลเช่นการใช้ของมีคมเป็นต้น เมื่อเกิดบาดแผลให้ล้างมือและล้างแผลให้สะอาดและใช้มือกดที่ตำแหน่งแผลนานๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีก้างเพราะอาจจะตำเหงือกและหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด, สุรา หรืออาหารหรือยาที่จะทำให้มีเลือดออกในกระเพาะอาหารได้
6. ถ้าเกิดอุบัติเหตุมีบาดแผลควรล้างมือให้สะอาดและใช้ผ้าสะอาดกดลงตรงบาดแผลตลอดเวลา
หรือพันไว้ให้แน่นเหนือบาดแผลเพื่อให้เลือดออกน้อยลง รีบไปโรงพยาบาลและแจ้งกับพยาบาลและแพทย์ว่ากินยาวอฟารินอยู่ด้วย
7. จดจำชื่อยาและแจ้งแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนรับบริการว่าท่านใช้ยาวอร์ฟารินอยู่ โดยเฉพาะถ้าจะมีการฉีดยา ผ่าตัด หรือถอนฟัน
8. ห้ามฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อทั้งที่ก้นและที่ต้นแขน
9. ยานี้มีพิษกับทารกในครรภ์ ทำให้เด็กเกิดมามีความพิการได้ ดังนั้นจึงควรจะคุมกำเนิดด้วยวิธีใส่ห่วง
แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าท่านจะมีบุตรไม่ได้ ถ้าท่านตั้งครรภ์หรือมีความต้องการจะตั้งครรภ์ กรุณาแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อที่จะหาวิธีที่ปลอดภัยที่สุดแก่แม่และลูก ท่านควรจะบอกแพทย์ว่าท่านมีความประสงค์จะมีบุตรให้แพทย์ทราบก่อนที่ท่านจะตั้งครรภ์ จะเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด
10. กรุณาบอกแพทย์หากท่านอยู่ในระหว่างให้นมบุตร ไม่ควรให้นมบุตรขณะที่กินยาวอฟารินอยู่ เพราะยาจะผ่านทางน้ำนมไปสู่ลูกได้
11. มาตรวจตามนัดทุกครั้ง ซึ่งแพทย์มักจะขอเจาะเลือดตรวจทุกครั้งเพื่อประเมินว่าท่านได้รับยาในขนาดที่เหมาะสมหรือยัง ถ้าท่านไม่สะดวกที่จะมาตรงวันนัด ก็ให้มาก่อนวันนัดได้ แต่ถ้าท่านมีอาการผิดปกติก็ควรจะรีบมาตรวจก่อนวันนัดเพื่อความปลอดภัย
12. ขนาดที่เหมาะสมของยาตัวนี้ต้องดูจากผลตัวเลขของการตรวจเลือดที่เรียกว่า ค่าไอเอ็นอาร์ ( INR.) ซึ่งค่า ไอเอ็นอาร์ คือค่าที่บอกความสามารถในการแข็งตัวของเลือด ซึ่งจะมีการตรวจติดตามทุกครั้งที่ท่านมาพบแพทย์ ค่านี้มีความสำคัญมาก ดังนั้นท่านจึงควรมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
13. แพทย์อาจเพิ่มหรือลดขนาดยาตามค่าการแข็งตัวของเลือดที่ได้ ท่านควรสอบถามขนาดยาให้แน่ใจกับแพทย์ และเภสัชกรทุกครั้ง
14. ยาวอฟารินจะมี 2 ขนาดโดยสามารถสังเกตจากสีของเม็ดยาได้คือ
ยาเม็ดสีฟ้าจะมีขนาด 3 มิลลิกรัม
ยาเม็ดสีชมพูจะมีขนาด 5 มิลิกรัม
15. ท่านควรพกเอกสารนี้ติดตัวด้วยตลอดเวลา และให้ทำสำเนาเก็บไว้ที่ญาติหรือที่บ้านด้วย
เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นหรือไปตรวจกับแพทย์ท่านอื่น หรือทันตแพทย์ กรุณาให้แพทย์ดูเอกสารแผ่นนี้ด้วยเสมอ
ค่า INR. คือค่าบอกความสามารถในการออกฤทธิ์ของยาวอร์ฟารินของท่านควรจะอยู่ในช่วง................................
ด้วยความปราถนาดี
เอกสารประจำตัวของผู้ป่วยชื่อ...........................................................
การวินิจฉัย.........................................................................................
ฉุกเฉินติดต่อ......................................................................................
ท่านเป็นผู้หนึ่งที่หมอมีความเห็นว่าสมควรกินยาตัวนี้ ดังนั้นหมอจึงให้คู่มือนี้เพื่อให้ท่านมีความเข้าใจ
ถึงประโยชน์ และ อันตราย จากยาตัวนี้ครับ
ชื่อยา : ยานี้มีชื่อว่า Warfarin อ่านว่า วอ-ฟา-ริน
สรรพคุณของยา วอฟาริน :
โดยทั่วไปหมอจะเรียกยา วอฟาริน ว่า ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าธรรมชาติของร่างกายมนุษย์เรานั้น เลือดในตัวจะไม่จับกันเป็นก้อน แต่ถ้ามีแผลเลือดออก เลือดถึงจะจับตัวกันเป็นก้อนเพื่อเป็นการห้ามเลือด ยาวอร์ฟาริน มีฤทธิ์ในการป้องกันการแข็งตัวของเลือด ป้องกันเลือดจับตัวกันเป็นก้อนผิดปกติในร่างกาย
ทำไมท่านต้องกินยาตัวนี้
เนื่องจากหมอมีความเห็นว่าท่านมีโรคที่ทำให้เลือดจับตัวกันเป็นก้อนเลือดได้เองในหัวใจหรือในหลอดเลือดได้ง่ายกว่าคนอื่นซึ่งจะมีอยู่หลายโรคโดยหมอจะไม่กล่าวในรายละเอียด แต่ประเด็นสำคัญคือ
เลือดที่จับกันเป็นก้อนนี้สามารถลอยไปอุดในสมองทำให้สมองขาดเลือดเป็นโรคอัมพาตได้ กล่าวโดยสรุปคือท่านต้องกินยาตัวนี้เพื่อป้องกันโรคอัมพฤกษ์หรืออัมพาตนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีโรคอื่นๆที่หมอจ่ายยา วอฟารินให้เช่น ผู้ป่วยที่ผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม หรือผู้ป่วยบางรายก็กินยาวอฟารินเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดก้อนเลือดไปอุดเส้นเ ลือดที่ขาหรือที่ปอดเป็นต้น
อันตรายจากยา
ถ้ากินยาน้อยไปการรักษาก็จะได้ผลไม่ดี ทำให้ผู้ป่วยยังคงมีความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดที่เป็นอันตรายเหมือนกับไม่ได้กินยา แต่ถ้ากินยามากเกินไปก็จะเกิดปัญหาเลือดออกง่ายเนื่องจากเลือดไม่ยอมแข็งตัว ถ้ามีแผลตามผิวหนังเลือดก็จะหยุดยาก อาจจะมีเลือดออกปนกับอุจจาระหรือปัสสาวะ
ถ้ามีเลือดออกในกระเพาะอาหาร ก็จะทำให้อุจจาระจะเป็นสีดำ ถ้ามีประจำเดือนก็จะมีเลือดออกมากกว่าปกติ เวลาแปรงฟันอาจจะมีเลือดออกในปาก อาจจะมีจุดเลือดออกหรือมีจ้ำเขียวตามผิวหนังได้ง่ายหรือมีเลือดกำเดาไหลได้ง่าย
ท่านควรปฎิบัติตัวอย่างไร
1. ถ้าท่านไม่แน่ใจว่าท่านกินยาลดการแข็งตัวของเลือดอยู่หรือเปล่า ให้ท่านนำเอายาทั้งหมดที่ท่านกินอยู่มาถามเภสัชกรหรือถามหมอว่ายาตัวไหนเป็น ยาลดการแข็งตัวของเลือด ข้อมูลที่ท่านทราบและจดจำได้จะมีประโยชน์มากเวลาท่านเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นหรือไปพบแพทย์แผนกอื่น
2. กินยาในขนาดที่แพทย์สั่ง ห้ามเพิ่มหรือลดปริมาณยาเองเด็ดขาดถ้ามีเลือดออกผิดปกติให้หยุดยาทันที แล้วรีบมาปรึกษาแพทย์ โปรดจำไว้ว่าท่านสามารถมาพบแพทย์ประจำตัวก่อนวันนัดได้ และท่านสามารถมาปรึกษาแพทย์ท่านอื่นที่ห้องฉุกเฉินได้ตลอด24ชั่วโมง ที่โรงพยาบาลใดก็ได้
3. กินยาตรงเวลา ถ้าลืมไม่ถึง 12 ชั่วโมงก็ให้รีบหยิบมากิน แต่ถ้าลืมเกิน 12 ชั่วโมงก็ให้ข้ามมื้อนั้นไปเลยโดยให้ถือว่าขาดยาไปหนึ่งมื้อ และมื้อต่อไปก็กินยาเท่าเดิม ห้ามเพิ่มยาเองเด็ดขาด
4. ยานี้มีปัญหายาตีกันมาก ไม่ควรหาซื้อยา อาหารเสริม หรือสมุนไพรมากินเอง หมอแนะนำว่าแม้แต่ความเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ก็ควรมาพบแพทย์ก่อนใช้ยารักษาโรคทุกโรค เวลาท่านไม่สบายท่านไม่ควรซื้อยากินเอง ควรปรึกษาแพทย์และบอกแพทย์ว่าท่านกินยาวอฟารินอยู่ เพราะแม้แต่ยาที่ปลอดภัยอย่างเช่นยาลดไข้แก้ปวดเช่นยาพาราเซ็ตตามอล ถ้ากินวันละหลายๆเม็ดยาก็จะอาจทำปฏิกริยากับยาวอฟารินทำให้เลือดหยุดยากขึ้นจนเป็นอันตรายได้ ยาสมุนไพร ยาหม้อ ยาลูกกลอน หรือ ยาแผนโบราณอื่นๆ ก็อาจมีผลต่อยาวอร์ฟารินได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนกินยาใหม่ทุกชนิด
5. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดการกระทบกระแทก เพราะอาจทำให้เลือดตกในได้ และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดบาดแผลเช่นการใช้ของมีคมเป็นต้น เมื่อเกิดบาดแผลให้ล้างมือและล้างแผลให้สะอาดและใช้มือกดที่ตำแหน่งแผลนานๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีก้างเพราะอาจจะตำเหงือกและหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด, สุรา หรืออาหารหรือยาที่จะทำให้มีเลือดออกในกระเพาะอาหารได้
6. ถ้าเกิดอุบัติเหตุมีบาดแผลควรล้างมือให้สะอาดและใช้ผ้าสะอาดกดลงตรงบาดแผลตลอดเวลา
หรือพันไว้ให้แน่นเหนือบาดแผลเพื่อให้เลือดออกน้อยลง รีบไปโรงพยาบาลและแจ้งกับพยาบาลและแพทย์ว่ากินยาวอฟารินอยู่ด้วย
7. จดจำชื่อยาและแจ้งแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนรับบริการว่าท่านใช้ยาวอร์ฟารินอยู่ โดยเฉพาะถ้าจะมีการฉีดยา ผ่าตัด หรือถอนฟัน
8. ห้ามฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อทั้งที่ก้นและที่ต้นแขน
9. ยานี้มีพิษกับทารกในครรภ์ ทำให้เด็กเกิดมามีความพิการได้ ดังนั้นจึงควรจะคุมกำเนิดด้วยวิธีใส่ห่วง
แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าท่านจะมีบุตรไม่ได้ ถ้าท่านตั้งครรภ์หรือมีความต้องการจะตั้งครรภ์ กรุณาแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อที่จะหาวิธีที่ปลอดภัยที่สุดแก่แม่และลูก ท่านควรจะบอกแพทย์ว่าท่านมีความประสงค์จะมีบุตรให้แพทย์ทราบก่อนที่ท่านจะตั้งครรภ์ จะเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด
10. กรุณาบอกแพทย์หากท่านอยู่ในระหว่างให้นมบุตร ไม่ควรให้นมบุตรขณะที่กินยาวอฟารินอยู่ เพราะยาจะผ่านทางน้ำนมไปสู่ลูกได้
11. มาตรวจตามนัดทุกครั้ง ซึ่งแพทย์มักจะขอเจาะเลือดตรวจทุกครั้งเพื่อประเมินว่าท่านได้รับยาในขนาดที่เหมาะสมหรือยัง ถ้าท่านไม่สะดวกที่จะมาตรงวันนัด ก็ให้มาก่อนวันนัดได้ แต่ถ้าท่านมีอาการผิดปกติก็ควรจะรีบมาตรวจก่อนวันนัดเพื่อความปลอดภัย
12. ขนาดที่เหมาะสมของยาตัวนี้ต้องดูจากผลตัวเลขของการตรวจเลือดที่เรียกว่า ค่าไอเอ็นอาร์ ( INR.) ซึ่งค่า ไอเอ็นอาร์ คือค่าที่บอกความสามารถในการแข็งตัวของเลือด ซึ่งจะมีการตรวจติดตามทุกครั้งที่ท่านมาพบแพทย์ ค่านี้มีความสำคัญมาก ดังนั้นท่านจึงควรมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
13. แพทย์อาจเพิ่มหรือลดขนาดยาตามค่าการแข็งตัวของเลือดที่ได้ ท่านควรสอบถามขนาดยาให้แน่ใจกับแพทย์ และเภสัชกรทุกครั้ง
14. ยาวอฟารินจะมี 2 ขนาดโดยสามารถสังเกตจากสีของเม็ดยาได้คือ
ยาเม็ดสีฟ้าจะมีขนาด 3 มิลลิกรัม
ยาเม็ดสีชมพูจะมีขนาด 5 มิลิกรัม
15. ท่านควรพกเอกสารนี้ติดตัวด้วยตลอดเวลา และให้ทำสำเนาเก็บไว้ที่ญาติหรือที่บ้านด้วย
เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นหรือไปตรวจกับแพทย์ท่านอื่น หรือทันตแพทย์ กรุณาให้แพทย์ดูเอกสารแผ่นนี้ด้วยเสมอ
ค่า INR. คือค่าบอกความสามารถในการออกฤทธิ์ของยาวอร์ฟารินของท่านควรจะอยู่ในช่วง................................
ด้วยความปราถนาดี
วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2,226 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อจากการล้างไตทางช่องท้อง
พบผู้ป่วยติดเชื้อจากการล้างไตทางช่องท้อง (continuous ambulatory peritoneal dialysis, CAPD) เป็นบางครั้งจึงสึบค้นแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยพบแนวทางนี้ครับ
Peritoneal Dialysis-Related Infections Recommendations: 2010 Update
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Reporting of peritonitis rate
-Exis-site and tunnel infections
-Initial presentation and management of peritonitis
-Subsequent management of peritonitis
-Future research
-Disclosures
ลิ้งค์ http://www.pdiconnect.com/content/30/4/393.full
Peritoneal Dialysis-Related Infections Recommendations: 2010 Update
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Reporting of peritonitis rate
-Exis-site and tunnel infections
-Initial presentation and management of peritonitis
-Subsequent management of peritonitis
-Future research
-Disclosures
ลิ้งค์ http://www.pdiconnect.com/content/30/4/393.full
วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2,225 แนวทางปฏิบัติมาตรฐานกรณีผู้ป่วยวัณโรคเดินทางโดยอากาศยานระหว่างประเทศ
แนวทางปฏิบัติมาตรฐานกรณีผู้ป่วยวัณโรคเดินทางโดยอากาศยานระหว่างประเทศ
Standard Operating Procedure “Tuberculosis in Air Travel”
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Glossary and abbreviations (นิยามคำศัพท์ย่อ)
-วัตถุประสงค์
-ขอบเขต
-คำจำกัดความ
-แผนภาพแสดงขั้นนตอนการประสานงานระหว่างหน่ววยงานที่เกี่ยวข้อง
-บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
-ทำเนียบผู้ประสานงาน
นำข้อมูลมาจาก กลุ่มงานวัณโรค โรคเรื้อน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา
ลิ้งค์ http://www.dpck5.com/TBLep/SOPTBinair.pdf
Standard Operating Procedure “Tuberculosis in Air Travel”
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Glossary and abbreviations (นิยามคำศัพท์ย่อ)
-วัตถุประสงค์
-ขอบเขต
-คำจำกัดความ
-แผนภาพแสดงขั้นนตอนการประสานงานระหว่างหน่ววยงานที่เกี่ยวข้อง
-บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
-ทำเนียบผู้ประสานงาน
นำข้อมูลมาจาก กลุ่มงานวัณโรค โรคเรื้อน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา
ลิ้งค์ http://www.dpck5.com/TBLep/SOPTBinair.pdf
วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2,224 Diagnosis and management of pulmonary embolism
Clinical review
BMJ 2013;346:f757
สรุปประเด็นสำคัญ
-การประเมินความน่าจะเป็นคลินิกก่อนการทดสอบ (clinical pre-test probability, CPTP) เป็นขั้นตอนแรกของการวินิจฉัยเส้นเลือดอุดตันที่ปอด
-การใช้รวมกันของ CPTP และผลจากการทดสอบมีความจำเป็นเพื่อการระบุผู้ป่วยที่จำเป็นและไม่จำเป็นต้องให้การรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulant therapy)
-การให้ยาละลายลิ่มเลือด (thrombolytic therapy) มักสงวนไว้สำหรับผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตต่ำและไม่มีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับการมีเลือดออก
-การอุดตันเส้นเลือดที่ปอดซึ่งเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงที่สามารถแก้ไขให้คืนกลับได้ มักจะให้การรักษาเป็นเวลาสามเดือน
-การอุดตันเส้นเลือดที่ปอดซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งที่ หรือเกิดโดยไม่มีเหตุกระตุ้นเป็นครั้งที่ 2 มักจะให้การรักษาไปตลอด
-การตัดสินใจที่จะรักษาในกรณีที่ไม่มีเหตุกระตุ้นเป็นเวลาสามเดือนหรือให้การรักษาไปตลอดมีความไวต่อการรับรู้ของผู้ป่วยแต่ละคนและมีผลต่อความเสี่ยงของการมีเลือดออก
Ref: http://www.bmj.com/content/346/bmj.f757
BMJ 2013;346:f757
สรุปประเด็นสำคัญ
-การประเมินความน่าจะเป็นคลินิกก่อนการทดสอบ (clinical pre-test probability, CPTP) เป็นขั้นตอนแรกของการวินิจฉัยเส้นเลือดอุดตันที่ปอด
-การใช้รวมกันของ CPTP และผลจากการทดสอบมีความจำเป็นเพื่อการระบุผู้ป่วยที่จำเป็นและไม่จำเป็นต้องให้การรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulant therapy)
-การให้ยาละลายลิ่มเลือด (thrombolytic therapy) มักสงวนไว้สำหรับผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตต่ำและไม่มีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับการมีเลือดออก
-การอุดตันเส้นเลือดที่ปอดซึ่งเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงที่สามารถแก้ไขให้คืนกลับได้ มักจะให้การรักษาเป็นเวลาสามเดือน
-การอุดตันเส้นเลือดที่ปอดซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งที่ หรือเกิดโดยไม่มีเหตุกระตุ้นเป็นครั้งที่ 2 มักจะให้การรักษาไปตลอด
-การตัดสินใจที่จะรักษาในกรณีที่ไม่มีเหตุกระตุ้นเป็นเวลาสามเดือนหรือให้การรักษาไปตลอดมีความไวต่อการรับรู้ของผู้ป่วยแต่ละคนและมีผลต่อความเสี่ยงของการมีเลือดออก
Ref: http://www.bmj.com/content/346/bmj.f757
วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2,223 การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบอัตราการหายของแผลฝีหนองภายหลังการผ่าระบายโดยเย็บปิดแผลตั้งแต่แรก (primary closure) และเย็บแผลปิดในภายหลัง (secondary closure)
Primary versus secondary closure of cutaneous abscesses in the emergency department: A randomized controlled trial.
Academic Emergency Medicine
Volume 20, Issue 1, pages 27–32, January 2013
การผ่าและระบายฝีหนอง (incision and drainage, I&D) มักจะเย็บแผลคืนทีหลัง การศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบอัตราการหายของแผลฝีหนองภายหลังการผ่าระบายโดยเย็บปิดแผลตั้งแต่แรก (primary closure) และเย็บแผลปิดในภายหลัง (secondary closure) ผลลัพธ์หลักคือเปอร์เซนต์การหายของแผล (คือการปิดโดยสมบูรณ์ของแผลโดยการดูด้วยตา; และมองหาความแตกต่างในการหายของแผลที่ 40%)
ผลการศึกษาพบว่า มีผู้ป่วย 56 คนที่เป็นฝีหนองชนิดที่ไม่ซับซ้อนในแผนกฉุกเฉิน ได้รับการสุ่มโดย 29 คนได้รับการเย็บปิดแผลตั้งแต่แรก และ 27 คนได้รับการเย็บปิดแผลในภายหลัง อัตราการหายของแผลที่ 7 วันมีความคล้ายคลึงกันระหว่างผู้ที่ได้รับการเย็บปิดแผลตั้งแต่แรกและเย็บปิดแผลในภายหลัง (69.6% ช่วงความเชื่อมั่น 95% [CI] = 49.1 - 84.4% เทียบกับ 59.3%, 95% CI = 40.7 - 75.5%; ความแตกต่าง10.3%, 95% CI = -15.8 - 34.1%) อัตราความล้มเหลวโดยรวมที่ 7 วัน มีความคล้ายคลึงกันระหว่างทั้งสองกลุ่ม (30.4%, 95% CI = 15.6% - 50.9% เทียบกับ 28.6%, 95% CI =% 15.2 - 47.1%; ความแตกต่าง 1.8%, 95% CI = - 24.2 - 28.8%)
สรุป อัตราการหายของแผลและอัตราความล้มเหลวของการระบายฝีหนองชนิดที่ไม่ซับซ้อนในแผนกฉุกเฉินไม่มีความแตกต่างกัน ผู้เขียนไม่พบความแตกต่างในการหายของแผลที่ 40% ระหว่างทั้งสองกลุ่ม
Ref: http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/acem.12053/full
Academic Emergency Medicine
Volume 20, Issue 1, pages 27–32, January 2013
การผ่าและระบายฝีหนอง (incision and drainage, I&D) มักจะเย็บแผลคืนทีหลัง การศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบอัตราการหายของแผลฝีหนองภายหลังการผ่าระบายโดยเย็บปิดแผลตั้งแต่แรก (primary closure) และเย็บแผลปิดในภายหลัง (secondary closure) ผลลัพธ์หลักคือเปอร์เซนต์การหายของแผล (คือการปิดโดยสมบูรณ์ของแผลโดยการดูด้วยตา; และมองหาความแตกต่างในการหายของแผลที่ 40%)
ผลการศึกษาพบว่า มีผู้ป่วย 56 คนที่เป็นฝีหนองชนิดที่ไม่ซับซ้อนในแผนกฉุกเฉิน ได้รับการสุ่มโดย 29 คนได้รับการเย็บปิดแผลตั้งแต่แรก และ 27 คนได้รับการเย็บปิดแผลในภายหลัง อัตราการหายของแผลที่ 7 วันมีความคล้ายคลึงกันระหว่างผู้ที่ได้รับการเย็บปิดแผลตั้งแต่แรกและเย็บปิดแผลในภายหลัง (69.6% ช่วงความเชื่อมั่น 95% [CI] = 49.1 - 84.4% เทียบกับ 59.3%, 95% CI = 40.7 - 75.5%; ความแตกต่าง10.3%, 95% CI = -15.8 - 34.1%) อัตราความล้มเหลวโดยรวมที่ 7 วัน มีความคล้ายคลึงกันระหว่างทั้งสองกลุ่ม (30.4%, 95% CI = 15.6% - 50.9% เทียบกับ 28.6%, 95% CI =% 15.2 - 47.1%; ความแตกต่าง 1.8%, 95% CI = - 24.2 - 28.8%)
สรุป อัตราการหายของแผลและอัตราความล้มเหลวของการระบายฝีหนองชนิดที่ไม่ซับซ้อนในแผนกฉุกเฉินไม่มีความแตกต่างกัน ผู้เขียนไม่พบความแตกต่างในการหายของแผลที่ 40% ระหว่างทั้งสองกลุ่ม
Ref: http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/acem.12053/full
วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2,222 New surviving sepsis campaign guidelines released 2012
เป็นการปรับปรุงแนวทางการรักษาผู้ป่วย severe sepsis และ septic shock โดยเป็นความเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ
Key point
เป้าหมายของการช่วยให้พ้นภาวะวิกฤต (resuscitation) ใน 6 ชม. แรก
-CVP 8 -12 มม.ปรอท
-Mean arterial pressure (MAP) 65 มม.ปรอท
-ปริมาณปัสสาวะ 0.5 มล/กก/ชม.
การให้ยาปฏิชีวนะ
-ให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำภายใน 1 ชม. เมื่อตรวจพบว่าเป็น septic shock และ severe sepsis
การให้สารน้ำ
-เลือก crystalloids เป็นอันดับแรก ในการ resuscitation
-เริ่ม challenge โดยให้ crystalloid อย่างน้อย 30 มล/กก.
ยาที่ช่วยในการหดตัวของหลอดเลือดและยากระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ (vasopressors and inotropes)
-เลือก norepinephrine เป็นอันดับแรก ร่วมกับการให้ epinephrine หรืออาจจะให้แทนเมื่อความดันโลหิตที่ต่ำยังไม่สามารถแก้ไขได้
-Phenylephrine ไม่แนะนำยกเว้นว่า norepinephrine ที่ให้มีความสัมพันธ์กับภาวะหัวใจเต้นผิดปกติที่รุนแรง, ถ้าปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจสูงและความดันโลหิตต่ำอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นลักษณะแบบกู้กับคืน (salvage therapy) เมื่อ MAP ไม่ได้ตามเป้าหมาย
-พิจารณาให้ dobutamine โดยสามารถให้ได้ที่ขนาด 20 ไมโครกรัม/กก/นาที หรือเพิ่มยาที่ช่วยในการหดตัวของหลอดเลือดในกรณีที่มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจหรือมีการใหลเวียนโลหิตไปยังเนื้อเยื่อลดลงอย่างต่อเนื่อง
คอร์ติโคสเตอรอยด์
-ไม่ให้คอร์ติโคสเตอรอยด์ในกรณีที่ไม่ได้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำที่ดื้อต่อการรักษา (refractory shock)
การให้ส่วนประกอบของเลือด
-หลังจากการใหลเวียนเลือดไปยังเนื้อเยื่อได้รับการแก้ไข การให้เม็ดเลือดแดง (PRC) จะให้เฉพาะกรณีที่ Hb น้อยกว่า 7.0 กรัม/ดล เพื่อให้ Hb อยู่ในช่วง 7.0-9.0 กรัม/ดล ในผู้ใหญ่
Ref: Crit Care Med. 2013 Feb;41(2):580-637. สรุปโดย Journal watch
http://emergency-medicine.jwatch.org/cgi/content/full/2013/222/1
Key point
เป้าหมายของการช่วยให้พ้นภาวะวิกฤต (resuscitation) ใน 6 ชม. แรก
-CVP 8 -12 มม.ปรอท
-Mean arterial pressure (MAP) 65 มม.ปรอท
-ปริมาณปัสสาวะ 0.5 มล/กก/ชม.
การให้ยาปฏิชีวนะ
-ให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำภายใน 1 ชม. เมื่อตรวจพบว่าเป็น septic shock และ severe sepsis
การให้สารน้ำ
-เลือก crystalloids เป็นอันดับแรก ในการ resuscitation
-เริ่ม challenge โดยให้ crystalloid อย่างน้อย 30 มล/กก.
ยาที่ช่วยในการหดตัวของหลอดเลือดและยากระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ (vasopressors and inotropes)
-เลือก norepinephrine เป็นอันดับแรก ร่วมกับการให้ epinephrine หรืออาจจะให้แทนเมื่อความดันโลหิตที่ต่ำยังไม่สามารถแก้ไขได้
-Phenylephrine ไม่แนะนำยกเว้นว่า norepinephrine ที่ให้มีความสัมพันธ์กับภาวะหัวใจเต้นผิดปกติที่รุนแรง, ถ้าปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจสูงและความดันโลหิตต่ำอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นลักษณะแบบกู้กับคืน (salvage therapy) เมื่อ MAP ไม่ได้ตามเป้าหมาย
-พิจารณาให้ dobutamine โดยสามารถให้ได้ที่ขนาด 20 ไมโครกรัม/กก/นาที หรือเพิ่มยาที่ช่วยในการหดตัวของหลอดเลือดในกรณีที่มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจหรือมีการใหลเวียนโลหิตไปยังเนื้อเยื่อลดลงอย่างต่อเนื่อง
คอร์ติโคสเตอรอยด์
-ไม่ให้คอร์ติโคสเตอรอยด์ในกรณีที่ไม่ได้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำที่ดื้อต่อการรักษา (refractory shock)
การให้ส่วนประกอบของเลือด
-หลังจากการใหลเวียนเลือดไปยังเนื้อเยื่อได้รับการแก้ไข การให้เม็ดเลือดแดง (PRC) จะให้เฉพาะกรณีที่ Hb น้อยกว่า 7.0 กรัม/ดล เพื่อให้ Hb อยู่ในช่วง 7.0-9.0 กรัม/ดล ในผู้ใหญ่
Ref: Crit Care Med. 2013 Feb;41(2):580-637. สรุปโดย Journal watch
http://emergency-medicine.jwatch.org/cgi/content/full/2013/222/1
วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2,221 Thumb sign in Marfan syndrome
ผู้ป่วยชาย 28 ปี สูง 180 ซม. มีประวัติเป็นโรคหัวใจและเคยได้รับการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม การตรวจที่มือเป็นดังรูปภาพ อาการแสดง (sign) ที่เห็นมีชื่อว่าอะไร? จะให้การวินิจฉัยผู้ป่วยว่าน่าจะมีโรคประจำตัวเดิมอะไรครับ? และอาจจะพบความผิดปกติอื่นๆ อะไรได้บ้างครับ?
ถูกต้องนะครับ และขอขอบคุณสำหรับความคิดเห็น งั้นขอเสริมเล็กน้อยนะครับ
ลักษณะที่เห็นเรียกว่า thumb sign หรือ Steinberg sign คือการที่นิ้วหัวแม่มือจะยาวเลยบริเวณฝั่งทางด้านตรงข้าม (ด้าน ulnar) และสามารถอยู่ได้ภายในฝ่ามือทั้งหมดขณะกำมือ ซึ่ง sign นี้สามารถพบได้ในกลุ่มอาการมาร์แฟน (Marfan syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของรหัสพันธุกรรม บนยีนที่ชื่อ “เอฟบีเอ็นวัน (FBN1)” ซึ่งอยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 15 ยีนนี้มีหน้าที่สร้างโปรตีนชื่อฟิบริลลิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของความแข็งแรงของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่างๆทั่วร่างกาย โดยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันคือ เนื้อเยื่อที่ยึดเป็นโครงความแข็งแรงของอวัยวะต่างๆของร่างกาย ตัวอย่างเช่น โครงของกระดูกทำให้แข็งไม่หักง่าย หรือโครงของผิวหนังให้ ยืดหยุ่นได้ดี ไม่ยืดตัวออกหรือหย่อนยานง่าย โดยจะพบมีลักษณะความผิดปกติของระบบต่างๆ ได้แก่ ข้อกระดูก, เส้นเลือดหัวใจ, ลิ้นหัวใจ, เลนส์ตา, ผิวหนัง, ผนังหน้าท้อง, เยื่อหุ้มปอด โดยจะพบความผิดปกติต่างๆ เช่น
Skeletal
Disproportionately long limbs (span > height) and digits or reduced upper-to-lower segment ratio
Pectus excavatum or carinatum
Scoliosis
Highly arched palate with dental crowding
Ocular
Ectopia lentis (dislocation or subluxation of the lens)
Cardiovascular
Dilatation of the aortic root with regurgitation
Aortic aneurysm and/or dissection
Respiratory
Collapsed lung
Nervous system
Learning disability
Miscellaneous
Skin striae
Dural ectasia
และยังมีอื่นอีกหลายอย่างครับ...
วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2,220 Tuberculosis
Review article
Current concepts
N Engl J Med February 21, 2013
วัณโรคยังคงเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตโดยทั่วโลก การเพิ่มขึ้นและการแพร่กระจายของการดื้อยาร่วมกับการแพร่ระบาดของเอชไอวีก่อให้เกิดความท้าทายที่ยากยิ่ง และมีผลต่อความพยายามในการควบคุมวัณโรคทั่วโลก
การวินิจฉัยระดับโมเลกุลที่เกิดขึ้นใหม่ทำให้การวินิจฉัยได้รวดเร็วและเกิดการปรับปรุงการวินิจฉัย ความเชี่ยวชาญของห้องปฏิบัติการและทรัพยากรเป็นสิ่งที่จำมีความเป็นสำหรับการตรวจต่างๆ เหล่านี้ และให้เกิดมีขึ้นโดยทั่วโลก
ยารักษาวัณโรคที่ใหม่ๆ ทำให้ลดระยะเวลาในการรักษาสำหรับวัณโรคที่ไวต่อการรักษา และมีประสิทธิภาพมากขึ้นในวัณโรคที่ดื้อยาและวัณโรคแฝง
วัคซีนใหม่ๆ สำหรับวัณโรคในการศึกษาทดลองทางคลินิกที่ก้าวหน้ามากขึ้นก่อให้เกิดความหวังสำหรับการควบคุมวัณโรคในอนาคต ถึงแม้ว่าการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์น่าจะเป็นไปได้ แต่วิกฤตเศรษฐกิจโลกยังคงเป็นอุปสรรคต่อโปรแกรมควบคุมวัณโรค นโยบายที่เข้มข้นและทางการเงินที่แข็งแกร่งเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นเพื่อที่จะบรรลุถึงการควบคุมวัณโรคในระดับโลกและป้องกันไม่ให้เกิดการเสียชีวิตของผู้คนนับล้านๆ คนโดยไม่จำเป็น
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Epidemiology
-Pathogenesis
-Clinical Features
-Diagnosis
Latent Infection
Active Tuberculosis
Drug-Resistant Tuberculosis
-Treatment
Latent Infection
Drug-Sensitive Active Tuberculosis
Tuberculosis and HIV Coinfection
Multidrug-Resistant Tuberculosis
New Drugs
BCG and New Vaccines
-Conclusions
-Source Information
อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1200894
Current concepts
N Engl J Med February 21, 2013
วัณโรคยังคงเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตโดยทั่วโลก การเพิ่มขึ้นและการแพร่กระจายของการดื้อยาร่วมกับการแพร่ระบาดของเอชไอวีก่อให้เกิดความท้าทายที่ยากยิ่ง และมีผลต่อความพยายามในการควบคุมวัณโรคทั่วโลก
การวินิจฉัยระดับโมเลกุลที่เกิดขึ้นใหม่ทำให้การวินิจฉัยได้รวดเร็วและเกิดการปรับปรุงการวินิจฉัย ความเชี่ยวชาญของห้องปฏิบัติการและทรัพยากรเป็นสิ่งที่จำมีความเป็นสำหรับการตรวจต่างๆ เหล่านี้ และให้เกิดมีขึ้นโดยทั่วโลก
ยารักษาวัณโรคที่ใหม่ๆ ทำให้ลดระยะเวลาในการรักษาสำหรับวัณโรคที่ไวต่อการรักษา และมีประสิทธิภาพมากขึ้นในวัณโรคที่ดื้อยาและวัณโรคแฝง
วัคซีนใหม่ๆ สำหรับวัณโรคในการศึกษาทดลองทางคลินิกที่ก้าวหน้ามากขึ้นก่อให้เกิดความหวังสำหรับการควบคุมวัณโรคในอนาคต ถึงแม้ว่าการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์น่าจะเป็นไปได้ แต่วิกฤตเศรษฐกิจโลกยังคงเป็นอุปสรรคต่อโปรแกรมควบคุมวัณโรค นโยบายที่เข้มข้นและทางการเงินที่แข็งแกร่งเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นเพื่อที่จะบรรลุถึงการควบคุมวัณโรคในระดับโลกและป้องกันไม่ให้เกิดการเสียชีวิตของผู้คนนับล้านๆ คนโดยไม่จำเป็น
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Epidemiology
-Pathogenesis
-Clinical Features
-Diagnosis
Latent Infection
Active Tuberculosis
Drug-Resistant Tuberculosis
-Treatment
Latent Infection
Drug-Sensitive Active Tuberculosis
Tuberculosis and HIV Coinfection
Multidrug-Resistant Tuberculosis
New Drugs
BCG and New Vaccines
-Conclusions
-Source Information
อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1200894
วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2,219 คู่มือการสวมใส่และถอดชุดป้องกันตนสำหรับผู้ปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุข
คู่มือการสวมใส่และถอดชุดป้องกันตน
(Donning and Removing Personal Protective Equipment)
สำหรับผู้ปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุข
โดยสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
บทที่ 1 ภัยคุกคามทางชีวภาพและประเภทของอุปกรณ์ป้องกันตนที่ใช้ในงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
บทที่ 2 การเลือกอุปกรณ์ป้องกันตนสำหรับงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
บทที่ 3 การใช้ผ้าคาดปิดจมูกปิดปากและหน้ากากกรองอนุภาค (“หน้ากากอนามัย”)
บทที่ 4 การสวมและถอดอุปกรณ์ป้องกันตนระดับ ซี บวก
บทที่ 5 การสวมและถอดอุปกรณ์ป้องกันตนระดับ ซี และ ซี ลบ
บทที่ 6 การสวมและถอดอุปกรณ์ป้องกันตนระดับ ด
บทที่ 7 การสวมและถอดอุปกรณ์ป้องกันตนสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล
บทที่ 8 การส่งกำลัง การซ่อมบำรุง และการดูแลรักษาอุปกรณ์ป้องกันตน
บทที่ 9 การจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันตนและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
ลิ้งค์ http://beid.ddc.moph.go.th/th_2011/images/file/ppe52.pdf
(Donning and Removing Personal Protective Equipment)
สำหรับผู้ปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุข
โดยสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
บทที่ 1 ภัยคุกคามทางชีวภาพและประเภทของอุปกรณ์ป้องกันตนที่ใช้ในงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
บทที่ 2 การเลือกอุปกรณ์ป้องกันตนสำหรับงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
บทที่ 3 การใช้ผ้าคาดปิดจมูกปิดปากและหน้ากากกรองอนุภาค (“หน้ากากอนามัย”)
บทที่ 4 การสวมและถอดอุปกรณ์ป้องกันตนระดับ ซี บวก
บทที่ 5 การสวมและถอดอุปกรณ์ป้องกันตนระดับ ซี และ ซี ลบ
บทที่ 6 การสวมและถอดอุปกรณ์ป้องกันตนระดับ ด
บทที่ 7 การสวมและถอดอุปกรณ์ป้องกันตนสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล
บทที่ 8 การส่งกำลัง การซ่อมบำรุง และการดูแลรักษาอุปกรณ์ป้องกันตน
บทที่ 9 การจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันตนและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2,218 แอพพลิเคชั่นในการทำ echocardiogarphy มีทั้งเวอร์ชั่นฟรี และเวอร์ชั่นจ่ายเงิน (บริจาค) แต่ไม่มีความแตกต่างกัน
กำลังมองหาแอพพลิเคชั่นในการทำอัลตร้าซาวด์หัวใจ (echocardiography) เพื่อเพิ่มความสะดวก รวดเร็วในการทำ พบ EchoCalc app. มีทั้งแบบ iPhone, iPad, Android, Blackberry
แอพพลิเคชั่นการแพทย์นี้มีทั้งเวอร์ชั่นฟรี และเวอร์ชั่นจ่ายเงิน (บริจาค) จึงเกิดความสงสัยว่าต่างกันยังงัย?
อ่านดูพบว่าคุณสมบัติไม่มีความแตกต่างกัน เจ้าของบอกว่าไม่ได้ต้องการให้มีความแตกต่างกันระหว่างเวอร์ชั่นฟรีและเวอร์ชั่นบริจาค
แต่ถ้าเห็นว่าเป็นประโยชน์ก็สามารถบริจาคได้แค่ 138.52 บาท และผมบริจาคให้ไปแล้ว เพราะเห็นเป็นประโยชน์และสนับสนุนการจัดทำ แต่เมื่อลงแอพพลิเคชั่นจะมีจุดต่างแค่ตรงสัญลักษณ์รูปหัวใจสีแดงดังภาพด้านล่าง เป็นแอพพลิเคชั่นที่ดีมาก ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำ การคำนวน แปลผล ได้เป็นอย่างดี ใครที่ทำ echo ลองดาวน์โหลดไปใช้ดูแล้วจะติดใจครับ...
ลิ้งค์ https://play.google.com/store/apps/details?id=bse.echocalcdonate&feature=more_from_developer#?t=W251bGwsMSwyLDEwMiwiYnNlLmVjaG9jYWxjZG9uYXRlIl0.
แอพพลิเคชั่นการแพทย์นี้มีทั้งเวอร์ชั่นฟรี และเวอร์ชั่นจ่ายเงิน (บริจาค) จึงเกิดความสงสัยว่าต่างกันยังงัย?
อ่านดูพบว่าคุณสมบัติไม่มีความแตกต่างกัน เจ้าของบอกว่าไม่ได้ต้องการให้มีความแตกต่างกันระหว่างเวอร์ชั่นฟรีและเวอร์ชั่นบริจาค
แต่ถ้าเห็นว่าเป็นประโยชน์ก็สามารถบริจาคได้แค่ 138.52 บาท และผมบริจาคให้ไปแล้ว เพราะเห็นเป็นประโยชน์และสนับสนุนการจัดทำ แต่เมื่อลงแอพพลิเคชั่นจะมีจุดต่างแค่ตรงสัญลักษณ์รูปหัวใจสีแดงดังภาพด้านล่าง เป็นแอพพลิเคชั่นที่ดีมาก ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำ การคำนวน แปลผล ได้เป็นอย่างดี ใครที่ทำ echo ลองดาวน์โหลดไปใช้ดูแล้วจะติดใจครับ...
วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2,217 การวิจัยเรื่องกลวิธีในการให้เลือดในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบนเฉียบพลัน
Transfusion strategies for acute upper gastrointestinal bleeding.
N Engl J Med. 2013 Jan 3;368(1):11-21
ที่มา: เกณฑ์ของฮีโมโกลบินสำหรับการให้เลือด (เม็ดเลือดแดง) ในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบนเฉียบพลันยังเป็นที่โต้แย้ง ในการศึกษานี้จะเทียบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวิธีการให้เลือดแบบ restrictive transfusion strategy และแบบ liberal transfusion strategy
วิธีการศึกษา: ผู้ป่วย 921 คน ที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารเฉียบพลันรุนแรง โดยการสุ่ม; มี 461 คนได้รับการให้เลือดแบบ restrictive strategy (ให้เลือดเมื่อระดับฮีโมโกลบินลดลงต่ำกว่า 7 กรัมต่อเดซิลิตร) และ 460 คน ได้รับการให้เลือดแบบ liberal strategy (ให้เลือดเมื่อฮีโมโกลบินลดลงต่ำกว่า 9 กรัมต่อเดซิลิตร) โดยการสุ่มได้แบ่งให้สอดคล้องกับการมีหรือไม่มีโรคตับแข็ง
ผลการศึกษา: ความน่าจะเป็นของการอยู่รอดที่ 6 สัปดาห์สูงกว่าในกลุ่ม restrictive-strategy (95% เทียบกับ 91%; hazard ratio ของการเสียชีวิตใน restrictive strategy, 0.55; ช่วงความเชื่อมั่น 95% [CI] 0.33 - 0.92, P = 0.02) การมีเลือดออกเพิ่มขึ้นพบ 10% ในผู้ป่วยในกลุ่ม restrictive-strategy เทียบกับ 16% ของผู้ป่วยในกลุ่ม liberal strategy (p = 0.01) และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น 40% เมื่อเทียบกับ 48% (P = 0.02) ความน่าจะเป็นของการอยู่รอดสูงขึ้นเล็กน้อยใน restrictive strategy เมื่อเทียบกับ liberal strategy ในกลุ่มย่อยของผู้ป่วยที่มีเลือดออกซึ่งสัมพันธ์กับแผลในกระเพาะอาหาร (hazard ratio, 0.70, 95% CI 0.26 - 1.25) และมีนัยสำคัญในกลุ่มย่อยของผู้ป่วยที่มีโรคตับแข็ง Child-Pugh class A หรือ B (hazard ratio, 0.30; 95% CI, 0.11 - 0.85) แต่ไม่มีในผู้ที่มีโรคตับแข็ง Child-Pugh class C (hazard ratio, 1.04; 95% CI, 0.45 - 2.37) ภายใน 5 วันแรกพบว่าความแตกต่างของความดันในพอร์ทัลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในผู้ป่วยที่ได้รับ liberal strategy (p = 0.03) แต่ไม่มีใน restrictive strategy
สรุป: เมื่อเทียบกับ liberal strategy พบว่า restrictive strategy มีผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบนเฉียบพลัน
Ref: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23281973?dopt=Abstract
N Engl J Med. 2013 Jan 3;368(1):11-21
ที่มา: เกณฑ์ของฮีโมโกลบินสำหรับการให้เลือด (เม็ดเลือดแดง) ในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบนเฉียบพลันยังเป็นที่โต้แย้ง ในการศึกษานี้จะเทียบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวิธีการให้เลือดแบบ restrictive transfusion strategy และแบบ liberal transfusion strategy
วิธีการศึกษา: ผู้ป่วย 921 คน ที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารเฉียบพลันรุนแรง โดยการสุ่ม; มี 461 คนได้รับการให้เลือดแบบ restrictive strategy (ให้เลือดเมื่อระดับฮีโมโกลบินลดลงต่ำกว่า 7 กรัมต่อเดซิลิตร) และ 460 คน ได้รับการให้เลือดแบบ liberal strategy (ให้เลือดเมื่อฮีโมโกลบินลดลงต่ำกว่า 9 กรัมต่อเดซิลิตร) โดยการสุ่มได้แบ่งให้สอดคล้องกับการมีหรือไม่มีโรคตับแข็ง
ผลการศึกษา: ความน่าจะเป็นของการอยู่รอดที่ 6 สัปดาห์สูงกว่าในกลุ่ม restrictive-strategy (95% เทียบกับ 91%; hazard ratio ของการเสียชีวิตใน restrictive strategy, 0.55; ช่วงความเชื่อมั่น 95% [CI] 0.33 - 0.92, P = 0.02) การมีเลือดออกเพิ่มขึ้นพบ 10% ในผู้ป่วยในกลุ่ม restrictive-strategy เทียบกับ 16% ของผู้ป่วยในกลุ่ม liberal strategy (p = 0.01) และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น 40% เมื่อเทียบกับ 48% (P = 0.02) ความน่าจะเป็นของการอยู่รอดสูงขึ้นเล็กน้อยใน restrictive strategy เมื่อเทียบกับ liberal strategy ในกลุ่มย่อยของผู้ป่วยที่มีเลือดออกซึ่งสัมพันธ์กับแผลในกระเพาะอาหาร (hazard ratio, 0.70, 95% CI 0.26 - 1.25) และมีนัยสำคัญในกลุ่มย่อยของผู้ป่วยที่มีโรคตับแข็ง Child-Pugh class A หรือ B (hazard ratio, 0.30; 95% CI, 0.11 - 0.85) แต่ไม่มีในผู้ที่มีโรคตับแข็ง Child-Pugh class C (hazard ratio, 1.04; 95% CI, 0.45 - 2.37) ภายใน 5 วันแรกพบว่าความแตกต่างของความดันในพอร์ทัลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในผู้ป่วยที่ได้รับ liberal strategy (p = 0.03) แต่ไม่มีใน restrictive strategy
สรุป: เมื่อเทียบกับ liberal strategy พบว่า restrictive strategy มีผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบนเฉียบพลัน
Ref: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23281973?dopt=Abstract
วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2,216 ความชุกของอาการและอาการแสดงแต่ละอย่างในภาวะไทรอยด์เป็นพิษ
พบผู้ป่วยที่เป็น atrial fibrillation with rapid ventricular response และพบว่าผลการตรวจเลือดมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ โดยที่อาการและอาการแสดงของภาวะไทรอยด์เป็นพิษไม่ชัดเจน จึงสืบค้นดูความชุกของอาการและอาการแสดงแต่ละอย่างของภาวะไทรอยด์เป็นพิษ พบดังนี้ครับ...
เป็นการศึกษาในผู้ป่วยชาวอังกฤษจำนวน 3,049 คน เป็นผู้หญิง 2,398 คน อายุอยู่ระหว่าง 16 - 88 ปี อายุเฉลี่ย (mean) อยู่ที่ 46.65 ± 0.32 ปี ส่วนผู้อ่านท่านใดมีสถิติของประเทศไทยจะนำเสนอเพื่อเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์บ้านเราก็ยินดีนะครับ
อาการ (symptom)
-น้ำหนักเพิ่มขึ้น 7.2%
-น้ำหนักลดลง 60.7%
-ขี้ร้อน 54.9%
-การทำงานของลำใส้ (การเคลื่อนไหว) เพิ่มขึ้น 22.3%
-คอโตขึ้น 21.8%
-เหนื่อยง่ายขึ้น 10.5%
-อาการทางตาในผู้ป่วย Graves’ disease 11.4%
อาการแสดง (sign)
-Atrial fibrillation 4.1%
-มีลักษณะสั่น (tremor) 41.8%
-คลำได้ว่ามีต่อมไทรอยด์โต 69.4%
-ลักษณะความผิดปกติทางตาในผู้ป่วย Graves’ disease
ในระดับน้อย 19.9%
ในระดับปานกลาง 40.7%
ในระดับปานกลาง 1.9%
Ref: http://jcem.endojournals.org/content/95/6/2715.long#T2
เป็นการศึกษาในผู้ป่วยชาวอังกฤษจำนวน 3,049 คน เป็นผู้หญิง 2,398 คน อายุอยู่ระหว่าง 16 - 88 ปี อายุเฉลี่ย (mean) อยู่ที่ 46.65 ± 0.32 ปี ส่วนผู้อ่านท่านใดมีสถิติของประเทศไทยจะนำเสนอเพื่อเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์บ้านเราก็ยินดีนะครับ
อาการ (symptom)
-น้ำหนักเพิ่มขึ้น 7.2%
-น้ำหนักลดลง 60.7%
-ขี้ร้อน 54.9%
-การทำงานของลำใส้ (การเคลื่อนไหว) เพิ่มขึ้น 22.3%
-คอโตขึ้น 21.8%
-เหนื่อยง่ายขึ้น 10.5%
-อาการทางตาในผู้ป่วย Graves’ disease 11.4%
อาการแสดง (sign)
-Atrial fibrillation 4.1%
-มีลักษณะสั่น (tremor) 41.8%
-คลำได้ว่ามีต่อมไทรอยด์โต 69.4%
-ลักษณะความผิดปกติทางตาในผู้ป่วย Graves’ disease
ในระดับน้อย 19.9%
ในระดับปานกลาง 40.7%
ในระดับปานกลาง 1.9%
Ref: http://jcem.endojournals.org/content/95/6/2715.long#T2
วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2,215 ข้อควรทราบเรื่องการดื่มสุรากับประโยชน์ที่จะได้จากการลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด
อาจจะมีคำถามในใจว่าเราจะมีคำแนะนำอย่างไรดีในเรื่องการดื่มสุรากับประโยชน์ที่จะได้จากการลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ของมาอ่านบทความนี้อาจจะพอได้แนวทางในการให้คำปรึกษาแนะนำกับผู้ป่วยครับ...
ในผู้ที่ดื่มสุราจะพบว่ามีความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งที่ปาก หลอดอาหาร กล่องเสียง และคอหอยได้มากกว่าผู้ไม่ดื่ม และยังเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งตับ ถึงแม้ว่าการดื่มสุราในบริมาณมากจะสัมพันธ์กับมะเร็งบางชนิด แต่การดื่มสุราในระดับปานกลางอาจจะลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง แม้ว่าประโยชน์ของหัวใจและหลอดเลือดจากการดื่มสุราในระดับปานกลางมีมากกว่าความเสี่ยงของมะเร็งในบางคน แต่อย่างไรก็ตามในผู้ที่ปัจจุบันไม่ได้ดื่มสุราอยู่แล้ว ก็ไม่ควรเริ่มดื่มเพื่อหวังว่าจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ ซึ่งความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถลดได้โดยการไม่สูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ การออกกำลังกาย การควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับคลอเลสเตอรอล หรืออาจจะต้องคุยปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับเรื่องความเสี่ยงเหล่านี้ และควรพิจารณาการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต (เช่น การออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และถูกต้อง) เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว โดยมีคำแนะนำว่าถ้าไม่สามารถเลิกการดื่มสุราได้ควรจำกัดการดื่มลงมาไม่เกิน 2 drinks/วัน ในผู้ชาย ไม่เกิน1 drinks/วัน ในผู้หญิงและคนน้ำหนักน้อย [1 drink เทียบเท่ากับ 44 มล. ของสุรา 40 ดีกรี, 355 มล. ของเบียร์ (5 ดีกรี) หรือ 148 มล. ของเหล้าองุ่น (12 ดีกรี)] และพบว่าการดื่มสุราร่วมกับการสูบบุหรี่จะมีการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงในการเกิด มะเร็งที่ปาก หลอดอาหาร กล่องเสียง และคอหอย เป็นอย่างมาก นอกจากนั้นเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดระดับความดันโลหิตตัวบน (systolic BP) พบว่าการดื่มสุราสามารถลดความดันโลหิตได้น้อยกว่าการปฏิบัตตัวอื่นๆ ดังนี้
-การลดน้ำหนักลดได้ 5-20 มม. ปรอท ต่อการลด นน. 10 กก.
-การบริโภคอาหารแบบ DASH (dietary approach to stop hypertension diet) ลดได้ 8-14 มม. ปรอท
-การจำกัดเกลือในอาหาร ลดได้ 2-8 มม. ปรอท
-การออกกำลังกาย ลดได้ 4-9 มม. ปรอท
-การดื่มสุราในปริมาณที่แนะนำ ลดได้ 2-4 มม. ปรอท
Ref: http://www.cancer.org/acs/groups/content/@healthpromotions/documents/document/acsq-017622.pdf
http://www.thaihypertension.org/2012%20Guideline%20in%20the%20Treatment%20of%20Hypertension.pdf
ในผู้ที่ดื่มสุราจะพบว่ามีความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งที่ปาก หลอดอาหาร กล่องเสียง และคอหอยได้มากกว่าผู้ไม่ดื่ม และยังเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งตับ ถึงแม้ว่าการดื่มสุราในบริมาณมากจะสัมพันธ์กับมะเร็งบางชนิด แต่การดื่มสุราในระดับปานกลางอาจจะลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง แม้ว่าประโยชน์ของหัวใจและหลอดเลือดจากการดื่มสุราในระดับปานกลางมีมากกว่าความเสี่ยงของมะเร็งในบางคน แต่อย่างไรก็ตามในผู้ที่ปัจจุบันไม่ได้ดื่มสุราอยู่แล้ว ก็ไม่ควรเริ่มดื่มเพื่อหวังว่าจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ ซึ่งความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถลดได้โดยการไม่สูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ การออกกำลังกาย การควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับคลอเลสเตอรอล หรืออาจจะต้องคุยปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับเรื่องความเสี่ยงเหล่านี้ และควรพิจารณาการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต (เช่น การออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และถูกต้อง) เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว โดยมีคำแนะนำว่าถ้าไม่สามารถเลิกการดื่มสุราได้ควรจำกัดการดื่มลงมาไม่เกิน 2 drinks/วัน ในผู้ชาย ไม่เกิน1 drinks/วัน ในผู้หญิงและคนน้ำหนักน้อย [1 drink เทียบเท่ากับ 44 มล. ของสุรา 40 ดีกรี, 355 มล. ของเบียร์ (5 ดีกรี) หรือ 148 มล. ของเหล้าองุ่น (12 ดีกรี)] และพบว่าการดื่มสุราร่วมกับการสูบบุหรี่จะมีการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงในการเกิด มะเร็งที่ปาก หลอดอาหาร กล่องเสียง และคอหอย เป็นอย่างมาก นอกจากนั้นเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดระดับความดันโลหิตตัวบน (systolic BP) พบว่าการดื่มสุราสามารถลดความดันโลหิตได้น้อยกว่าการปฏิบัตตัวอื่นๆ ดังนี้
-การลดน้ำหนักลดได้ 5-20 มม. ปรอท ต่อการลด นน. 10 กก.
-การบริโภคอาหารแบบ DASH (dietary approach to stop hypertension diet) ลดได้ 8-14 มม. ปรอท
-การจำกัดเกลือในอาหาร ลดได้ 2-8 มม. ปรอท
-การออกกำลังกาย ลดได้ 4-9 มม. ปรอท
-การดื่มสุราในปริมาณที่แนะนำ ลดได้ 2-4 มม. ปรอท
Ref: http://www.cancer.org/acs/groups/content/@healthpromotions/documents/document/acsq-017622.pdf
http://www.thaihypertension.org/2012%20Guideline%20in%20the%20Treatment%20of%20Hypertension.pdf
2,214 ขบวนการกินตัวเองของเซล (autophagy) กับสภาวะสุขภาพและโรคในมนุษย์
Review article
Mechanism of disaese
Autophagy in human health and disease
N Engl J Med February 14, 2013
การรวมเข้าด้วยกันของขบวนการทางด้านชีววิทยาและสรีรวิทยา เช่น ขบวนการอักเสบ, การตายของเซลล์แบบที่มีการตั้งโปรแกรมไว้แล้ว (apoptosis), การแบ่งตัวของเซล, การเปลี่ยนแปลงตัวเองของเซล และขบวนการเมตาโบลิซึมสามารถมีอิทธิพลต่อโรคในมนุษย์ ซึ่งความเข้าใจเกี่ยวกับเซลและพื้นฐานทางด้านโมเลกุลของขบวนการเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อกำหนดการวินิจฉัยและเป้าของการรักษาใหม่ๆ โดยในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ความสนใจในการระบุถึงกลไกพื้นฐานของเซลที่เกี่ยวกับรูปแบบของการกินตัวเองของเซลที่เรียกว่า autophagy (“self-eating”) และบทบาทที่เกี่ยวกับสุขภาพและโรคในมนุษย์ได้กระจายเป็นวงกว้างมากขึ้น
Macroautophagy (ซึ่งต่อจากนี้จะหมายถึง autophagy) เป็นขบวนการของภาวะสมดุลของเซลที่เกิดขึ้นในยูคาลิโอติคเซล (eukaryotic cells) ทุกชนิด และเกี่ยวข้องกับการแยกตัว (sequestration) ของส่วนประกอบในไซโตพลาสซึมที่อยู่ใน autophagosomes ที่มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น (double-membraned autophagosomes) โดยautophagosomes นี้จะรวมเข้ากับไลโซโซม ในขณะที่สิ่งซึ่งบรรจุอยู่ภายในจะเกิดการสลายตัว (degradation) โดย lysosomal acid hydrolases และสิ่งที่อยู่ภายใน autolysosome จะถูกปลดปล่อยออกเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (recycling) สามารถดูรูปเพื่อเพิ่มความเข้าใจได้จากในอ้างอิงนะครับ ซึ่งในขณะนี้ autophagy มีความเกี่ยวข้องอย่างกว้างกับขบวนการพยาธิสรีรวิทยา (เช่น มะเร็ง, เมตาโบลิคและความผิดปกติที่เกี่ยวกับความเสื่อมสลายของระบบประสาท, โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคปอด) และในการตอบสนองทางสรีรวิทยาต่อการออกกำลังกายและความชรา
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Molecular Regulation of Autophagy
-Functions of Autophagy
-Autophagy in Disease
Cancer
Neurodegenerative Diseases
Infectious Diseases
Cardiovascular Diseases
Metabolic Diseases
Pulmonary Diseases
Aging
Autophagy in Clinical Applications
-Source Information
Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1205406
Mechanism of disaese
Autophagy in human health and disease
N Engl J Med February 14, 2013
การรวมเข้าด้วยกันของขบวนการทางด้านชีววิทยาและสรีรวิทยา เช่น ขบวนการอักเสบ, การตายของเซลล์แบบที่มีการตั้งโปรแกรมไว้แล้ว (apoptosis), การแบ่งตัวของเซล, การเปลี่ยนแปลงตัวเองของเซล และขบวนการเมตาโบลิซึมสามารถมีอิทธิพลต่อโรคในมนุษย์ ซึ่งความเข้าใจเกี่ยวกับเซลและพื้นฐานทางด้านโมเลกุลของขบวนการเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อกำหนดการวินิจฉัยและเป้าของการรักษาใหม่ๆ โดยในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ความสนใจในการระบุถึงกลไกพื้นฐานของเซลที่เกี่ยวกับรูปแบบของการกินตัวเองของเซลที่เรียกว่า autophagy (“self-eating”) และบทบาทที่เกี่ยวกับสุขภาพและโรคในมนุษย์ได้กระจายเป็นวงกว้างมากขึ้น
Macroautophagy (ซึ่งต่อจากนี้จะหมายถึง autophagy) เป็นขบวนการของภาวะสมดุลของเซลที่เกิดขึ้นในยูคาลิโอติคเซล (eukaryotic cells) ทุกชนิด และเกี่ยวข้องกับการแยกตัว (sequestration) ของส่วนประกอบในไซโตพลาสซึมที่อยู่ใน autophagosomes ที่มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น (double-membraned autophagosomes) โดยautophagosomes นี้จะรวมเข้ากับไลโซโซม ในขณะที่สิ่งซึ่งบรรจุอยู่ภายในจะเกิดการสลายตัว (degradation) โดย lysosomal acid hydrolases และสิ่งที่อยู่ภายใน autolysosome จะถูกปลดปล่อยออกเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (recycling) สามารถดูรูปเพื่อเพิ่มความเข้าใจได้จากในอ้างอิงนะครับ ซึ่งในขณะนี้ autophagy มีความเกี่ยวข้องอย่างกว้างกับขบวนการพยาธิสรีรวิทยา (เช่น มะเร็ง, เมตาโบลิคและความผิดปกติที่เกี่ยวกับความเสื่อมสลายของระบบประสาท, โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคปอด) และในการตอบสนองทางสรีรวิทยาต่อการออกกำลังกายและความชรา
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Molecular Regulation of Autophagy
-Functions of Autophagy
-Autophagy in Disease
Cancer
Neurodegenerative Diseases
Infectious Diseases
Cardiovascular Diseases
Metabolic Diseases
Pulmonary Diseases
Aging
Autophagy in Clinical Applications
-Source Information
Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1205406
วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2,213 Parkinson disease: An update
American Family Physician
February 15 2013 Vol. 87 No. 4
โรคพาร์กินสัน (Parkinson disease) เป็นโรคทางระบบประสาทที่มีลักษณะของการดำเนินโรคที่เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ สามารถพบได้ 1% ของชาวอเมริกันที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ลักษณะที่สำคัญของโรคคือ การเคลื่อนไหวเชื่องช้า (bradykinesia) มีลักษณะแข็งเกร็ง (rigidity) และการทรงตัวไม่มั่นคง (postural instability) มีลักษณะทางระบบประสาทที่คล้ายกับโรคอื่นๆ จึงทำให้เป็นเรื่องยากที่จะวินิจฉัยในระยะแรกของโรค แพทย์ที่ไม่ค่อยได้พบและให้การวินิจฉัยโรคพาร์กินควรส่งต่อผู้ป่วยที่สงสัยไปยังแพทย์ที่มีประสบการณ์มากกว่าเพื่อการวินิจฉัย และควรตรวจประเมินซ้ำ เป็นช่วงๆ เพื่อความถูกต้องของการวินิจฉัย การรักษามีประสิทธิภาพในการลดการสูญเสียการทำงานและความพิการของระบบประสาทสั่งการ
โดยควรจะเริ่มต้นให้การรักษาเมื่อผู้ป่วยเริ่มมีความผิดปกติของหน้าที่การทำงาน การให้ยา carbidopa ร่วมกับ levodopa เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ dopamine agonists และ monoamine oxidase-B inhibitors ก็มีประสิทธิภาพ และมีโอกาสน้อยที่จะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ (dyskinesias) สำหรับผู้ป่วยที่ใช้ carbidopa / levodopa แล้วมีภาวะแทรกของระบบประสาทสั่งการ การให้ยา dopamine agonist, monoamine oxidase-B inhibitor, หรือ catechol O-methyltransferase inhibitor ร่วมด้วย จะช่วยให้ระบบประสาทสั่งการและความสามารถในการทำงานดีขึ้น แต่จะเพิ่มการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติมากขึ้น การใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมองส่วนลึก (deep brain stimulation) มีประสิทธิภาพในผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้แม้ว่าจะได้รับการรักษาโดยการให้ยาอย่างดีที่สุดแล้ว การให้การรักษาผู้ป่วยในด้านการปฏิบัติงาน ด้านร่างกายและในเรื่องการพูดจะช่วยปรับปรุงการทำงานของผู้ป่วย ความเหนื่อยล้า การรบกวนการนอน ภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้าเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยๆ ในผู้ป่วยที่มีโรคพาร์กินสัน ถึงแม้ว่าสภาวะเหล่านี้จะสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญของผู้ป่วย แต่จะสามารถดีขึ้นได้ด้วยการรักษา
Ref: http://www.aafp.org/afp/2013/0215/p267.html
February 15 2013 Vol. 87 No. 4
โรคพาร์กินสัน (Parkinson disease) เป็นโรคทางระบบประสาทที่มีลักษณะของการดำเนินโรคที่เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ สามารถพบได้ 1% ของชาวอเมริกันที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ลักษณะที่สำคัญของโรคคือ การเคลื่อนไหวเชื่องช้า (bradykinesia) มีลักษณะแข็งเกร็ง (rigidity) และการทรงตัวไม่มั่นคง (postural instability) มีลักษณะทางระบบประสาทที่คล้ายกับโรคอื่นๆ จึงทำให้เป็นเรื่องยากที่จะวินิจฉัยในระยะแรกของโรค แพทย์ที่ไม่ค่อยได้พบและให้การวินิจฉัยโรคพาร์กินควรส่งต่อผู้ป่วยที่สงสัยไปยังแพทย์ที่มีประสบการณ์มากกว่าเพื่อการวินิจฉัย และควรตรวจประเมินซ้ำ เป็นช่วงๆ เพื่อความถูกต้องของการวินิจฉัย การรักษามีประสิทธิภาพในการลดการสูญเสียการทำงานและความพิการของระบบประสาทสั่งการ
โดยควรจะเริ่มต้นให้การรักษาเมื่อผู้ป่วยเริ่มมีความผิดปกติของหน้าที่การทำงาน การให้ยา carbidopa ร่วมกับ levodopa เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ dopamine agonists และ monoamine oxidase-B inhibitors ก็มีประสิทธิภาพ และมีโอกาสน้อยที่จะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ (dyskinesias) สำหรับผู้ป่วยที่ใช้ carbidopa / levodopa แล้วมีภาวะแทรกของระบบประสาทสั่งการ การให้ยา dopamine agonist, monoamine oxidase-B inhibitor, หรือ catechol O-methyltransferase inhibitor ร่วมด้วย จะช่วยให้ระบบประสาทสั่งการและความสามารถในการทำงานดีขึ้น แต่จะเพิ่มการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติมากขึ้น การใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมองส่วนลึก (deep brain stimulation) มีประสิทธิภาพในผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้แม้ว่าจะได้รับการรักษาโดยการให้ยาอย่างดีที่สุดแล้ว การให้การรักษาผู้ป่วยในด้านการปฏิบัติงาน ด้านร่างกายและในเรื่องการพูดจะช่วยปรับปรุงการทำงานของผู้ป่วย ความเหนื่อยล้า การรบกวนการนอน ภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้าเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยๆ ในผู้ป่วยที่มีโรคพาร์กินสัน ถึงแม้ว่าสภาวะเหล่านี้จะสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญของผู้ป่วย แต่จะสามารถดีขึ้นได้ด้วยการรักษา
Ref: http://www.aafp.org/afp/2013/0215/p267.html
วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2,212 Paget's disease of bone
Clinical practice
N Engl J Med February 14, 2013
Key clinical points
-แม้ว่าโรค Paget ของกระดูกอาจจะพบโดยบังเอิญจากการเอกซเรย์หรือการตรวจทางชีวเคมี โดยพบว่ามีถึง 40% ของผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดกระดูก
-ผู้ป่วยด้วยโรค Paget ของกระดูกควรได้รับการประเมินอย่างรอบคอบเพื่อตรวจสอบว่าผลของความเจ็บปวดมาจากการเพิ่มของเมตาโบลิซึม, ภาวะแทรกซ้อนเช่นโรคข้อเข่าเสื่อม หรือการมีสภาวะทางกล้ามเนื้อและกระดูกร่วมด้วย
-Bisphosphonates เป็นการให้การรักษาทางเลือกแรกและมีข้อบ่งชี้ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเฉพาะที่ในตำแหน่งที่ได้รับผลกระทบที่ก่อให้เกิดเมตาโบลิซึมที่เพิ่มขึ้น
-ยาแก้ปวด, ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช้สเตียรอยด์ และยาที่ใช้รักษาความผิดปกติของระบบประสาท อาจควบคุมความเจ็บปวดที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ bisphosphonates
-Bisphosphonates สามารถทำให้การหมุนเวียนกระดูกปกติในสัดส่วนที่สูง แต่หลักฐานที่แสดงว่าการกดการหมุนเวียนกระดูกในระยะยาวช่วยเพิ่มผลลัพธ์ การรักษาหรือป้องกันภาวะแทรกซ้อนในปัจจุบันยังขาดข้อมูลที่ชัดเจน
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-The Clinical Problem
-Strategies and Evidence
Signs and Symptoms
Diagnosis
Treatment
Bisphosphonates
Nonpharmacologic Treatment
-Areas of Uncertainty
-Guidelines from Professional Societies
-Conclusions and Recommendations
-Source Information
-Key Clinical Points
Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1204713
N Engl J Med February 14, 2013
Key clinical points
-แม้ว่าโรค Paget ของกระดูกอาจจะพบโดยบังเอิญจากการเอกซเรย์หรือการตรวจทางชีวเคมี โดยพบว่ามีถึง 40% ของผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดกระดูก
-ผู้ป่วยด้วยโรค Paget ของกระดูกควรได้รับการประเมินอย่างรอบคอบเพื่อตรวจสอบว่าผลของความเจ็บปวดมาจากการเพิ่มของเมตาโบลิซึม, ภาวะแทรกซ้อนเช่นโรคข้อเข่าเสื่อม หรือการมีสภาวะทางกล้ามเนื้อและกระดูกร่วมด้วย
-Bisphosphonates เป็นการให้การรักษาทางเลือกแรกและมีข้อบ่งชี้ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเฉพาะที่ในตำแหน่งที่ได้รับผลกระทบที่ก่อให้เกิดเมตาโบลิซึมที่เพิ่มขึ้น
-ยาแก้ปวด, ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช้สเตียรอยด์ และยาที่ใช้รักษาความผิดปกติของระบบประสาท อาจควบคุมความเจ็บปวดที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ bisphosphonates
-Bisphosphonates สามารถทำให้การหมุนเวียนกระดูกปกติในสัดส่วนที่สูง แต่หลักฐานที่แสดงว่าการกดการหมุนเวียนกระดูกในระยะยาวช่วยเพิ่มผลลัพธ์ การรักษาหรือป้องกันภาวะแทรกซ้อนในปัจจุบันยังขาดข้อมูลที่ชัดเจน
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-The Clinical Problem
-Strategies and Evidence
Signs and Symptoms
Diagnosis
Treatment
Bisphosphonates
Nonpharmacologic Treatment
-Areas of Uncertainty
-Guidelines from Professional Societies
-Conclusions and Recommendations
-Source Information
-Key Clinical Points
Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1204713
วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2,211 Portal vein thrombosis
พบผู้ป่วยหญิงอายุ 46 ปี มาด้วยมีน้ำในช่องท้อง (ascites) ได้ทำการตรวจหาสาเหตุแล้วไม่พบ จึงส่งต่อ รพศ. และ รพศ. ส่งต่อโรงเรียนแพทย์ ผลการตรวจวินิจฉัยพบว่าเป็น portal vein thrombosis ตอนนี้ผู้ป่วยอาการดีแล้ว ไม่มีน้ำในช่องท้องแล้ว จึงสืบค้นเรืื่องนี้ดูพบดังนี้ครับ
เส้นเลือดดำพอร์ทัล (portal vein) เป็นเส้นเลือดขนาดใหญ่ที่นำเลือดจากกระเพาะอาหารไปที่ตับภาวะเส้นเลือดดำพอร์ทัลตีบพบได้น้อย เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นหลังจากเลือดมีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำพอร์ทัล เนื่องจากเลือดไม่มีทางอื่นที่จะสามารถผ่านไปได้จึงใหลย้อนกลับไปที่ตับ เส้นเลือดอื่น ๆ ทั้งหมดที่อยู่ภายใต้ต่อหลอดเลือดดำพอร์ทัลจะได้รับผลกระทบจากการที่มีความดันในหลอดเลือดสูง โดยสาเหตุอาจเกิดจากโรคตับ เช่นจาก การติดเชื้อ โรคตับแข็งและมะเร็ง และอาจจะสัมพันธ์กับภาวะความผิดปกติการแข็งตัวของเลือด โรคหัวใจเช่นเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หัวใจล้มเหลว หรืออาจเกิดจากการบาดเจ็บ การใช้ยาคุมกำเนิดก็ได้
โดยผู้ป่วยอาจจะมีลักษณะทางคลินิกดังนี้
-อาจมีอาเจียน อาเจียนอาจจะมีเลือดสดปน
-มีน้ำในช่องท้องปริมาณมาก
-อาจมีปัญหาในสมอง (สับสน) นำไปสู่อาการโคม่าซึ่งสภาวะทำให้เกิดการการเสียชีวิตได้ครึ่งหนึ่ง
-มีความผิดปกติของตับรุนแรงมากขึ้นและนำไปสู่การเสียชีวิต
สามารถให้การวินิจฉัยได้โดยการใช้ MRI, CT การตรวจชิ้นเนื้อตับใช้สำหรับเพื่อการยืนยันการวินิจฉัย การรักษาได้แก่ sclerotherapy, ยาลดการจับตัวของเม็ดเลือด (blood thinners) และในกรณีที่มีความซับซ้อน อาจจำเป็นต้องผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดมักจะทำเป็นสิ่งสุดท้ายถ้าเป็นไปได้จะใช้วิธีการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัดก่อน
Ref: http://portalveinthrombosis.org/causesand-signsof-portal-vein-thrombosis/
http://portalveinthrombosis.org/truths-about-portal-vein-thrombosis/
เส้นเลือดดำพอร์ทัล (portal vein) เป็นเส้นเลือดขนาดใหญ่ที่นำเลือดจากกระเพาะอาหารไปที่ตับภาวะเส้นเลือดดำพอร์ทัลตีบพบได้น้อย เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นหลังจากเลือดมีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำพอร์ทัล เนื่องจากเลือดไม่มีทางอื่นที่จะสามารถผ่านไปได้จึงใหลย้อนกลับไปที่ตับ เส้นเลือดอื่น ๆ ทั้งหมดที่อยู่ภายใต้ต่อหลอดเลือดดำพอร์ทัลจะได้รับผลกระทบจากการที่มีความดันในหลอดเลือดสูง โดยสาเหตุอาจเกิดจากโรคตับ เช่นจาก การติดเชื้อ โรคตับแข็งและมะเร็ง และอาจจะสัมพันธ์กับภาวะความผิดปกติการแข็งตัวของเลือด โรคหัวใจเช่นเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หัวใจล้มเหลว หรืออาจเกิดจากการบาดเจ็บ การใช้ยาคุมกำเนิดก็ได้
โดยผู้ป่วยอาจจะมีลักษณะทางคลินิกดังนี้
-อาจมีอาเจียน อาเจียนอาจจะมีเลือดสดปน
-มีน้ำในช่องท้องปริมาณมาก
-อาจมีปัญหาในสมอง (สับสน) นำไปสู่อาการโคม่าซึ่งสภาวะทำให้เกิดการการเสียชีวิตได้ครึ่งหนึ่ง
-มีความผิดปกติของตับรุนแรงมากขึ้นและนำไปสู่การเสียชีวิต
สามารถให้การวินิจฉัยได้โดยการใช้ MRI, CT การตรวจชิ้นเนื้อตับใช้สำหรับเพื่อการยืนยันการวินิจฉัย การรักษาได้แก่ sclerotherapy, ยาลดการจับตัวของเม็ดเลือด (blood thinners) และในกรณีที่มีความซับซ้อน อาจจำเป็นต้องผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดมักจะทำเป็นสิ่งสุดท้ายถ้าเป็นไปได้จะใช้วิธีการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัดก่อน
Ref: http://portalveinthrombosis.org/causesand-signsof-portal-vein-thrombosis/
http://portalveinthrombosis.org/truths-about-portal-vein-thrombosis/
วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2,210 Emergent surgical cricothyrotomy (cricothyroidotomy) หัตถการที่จำเป็นในภาวะฉุกเฉิน
พบผู้ป่วยทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้นเฉียบพลัน (acute upper airway obstruction) และมีภาวะหายใจล้มเหลว (acute respiratory failure) ไม่สามารถใส่ท่อช่วยหายใจได้เนื่องจากมีการบวมของ epiglottis มาก ต้องทำการผ่าตัดเปิดทางเดินหายใจแบบฉุกเฉิน จึงทบทวนเรื่องการทำ emergent surgical cricothyrotomy (cricothyroidotomy)
ขั้นตอนคือ (ในกรณีคนที่ถนัดมือขวา ส่วนผู้ที่ถนัดมือซ้ายก็ทำสลับกันนะครับ)
-ให้ผู้ป่วยนอนหงาย ทายาปฏิชีวนะที่ผิวหนัง ปูผ้า
-ยืนด้านขวาผู้ป่วย จับยึดบริเวณ larynx ไว้ด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วกลางมือซ้าย ใช้นิ้วชี้คลำหาตำแหน่ง thyroid cartilage และ cricoid cartilage โดยตำแหน่งที่อยู่ตรงกลางระหว่าง thyroid cartilage และ cricoid cartilage ก็คือ cricothyroid membrane ซึ่งเป็นตำแหน่งลงมีด
-เมื่อได้ตำแหน่งจากข้างต้นแล้ว กรีดผิวหนังในแนวยาวลงมา โดยยาว 2.5 - 3 ซม. ผ่านชั้นผิวหนัง ชั้นใต้ผิวหนัง อาจใช้ curved hemostat เพื่อแยกชั้นใต้ผิวหนัง เมื่อพบ cricothyroid membrane ใช้ปลายมีดกรีดในแนวยาวลงผ่าน cricothyroid membrane จะรับรู้ความรู้สึกได้เมื่อมีดผ่านเข้าหลอดลม อย่ากรีดให้ลึกเกิน 1.3 ซม. (1/2 นิ้ว) เพราะจะโดนหลอดอาหารที่อยู่ใต้ลงไป
-ให้ผู้ช่วยใส่ tracheal hook บริเวณรอยแผลที่กรีดทางด้านบนเพื่อดึงผิวหนังและ cricothyroid membrane ขึ้นทางด้านบน
-ขยายส่วนที่กรีดในแนวยาวโดยใช้ Trousseau dilator ด้วยมือซ้าย แล้วใส่ tracheostomy tube เข้าไปด้วยมือขวา เอา obturator ออก และใส่ท่อตัวใน ใส่ลมในบอลลูน
ที่สำคัญอีกอย่างคือใช้ท่อที่มีเส้นผ่านศูนย์ประมาณ 5-6 มม. เพราะถ้าใหญ่กว่านี้มักจะใส่ไม่เข้าครับ
เพื่อความเข้าใจมากขึ้นสามารถดูวีดีโอแสดงขั้นตอนการทำจากลิ้งค์ด้านล่างหรือจากใน youtube ก็ได้ครับ
Ref: http://emedicine.medscape.com/article/1830008-overview#aw2aab6b4
http://www.nejm.org/doi/pdf/10.1056/NEJMvcm0706755
http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMvcm0706755
ขั้นตอนคือ (ในกรณีคนที่ถนัดมือขวา ส่วนผู้ที่ถนัดมือซ้ายก็ทำสลับกันนะครับ)
-ให้ผู้ป่วยนอนหงาย ทายาปฏิชีวนะที่ผิวหนัง ปูผ้า
-ยืนด้านขวาผู้ป่วย จับยึดบริเวณ larynx ไว้ด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วกลางมือซ้าย ใช้นิ้วชี้คลำหาตำแหน่ง thyroid cartilage และ cricoid cartilage โดยตำแหน่งที่อยู่ตรงกลางระหว่าง thyroid cartilage และ cricoid cartilage ก็คือ cricothyroid membrane ซึ่งเป็นตำแหน่งลงมีด
-เมื่อได้ตำแหน่งจากข้างต้นแล้ว กรีดผิวหนังในแนวยาวลงมา โดยยาว 2.5 - 3 ซม. ผ่านชั้นผิวหนัง ชั้นใต้ผิวหนัง อาจใช้ curved hemostat เพื่อแยกชั้นใต้ผิวหนัง เมื่อพบ cricothyroid membrane ใช้ปลายมีดกรีดในแนวยาวลงผ่าน cricothyroid membrane จะรับรู้ความรู้สึกได้เมื่อมีดผ่านเข้าหลอดลม อย่ากรีดให้ลึกเกิน 1.3 ซม. (1/2 นิ้ว) เพราะจะโดนหลอดอาหารที่อยู่ใต้ลงไป
-ให้ผู้ช่วยใส่ tracheal hook บริเวณรอยแผลที่กรีดทางด้านบนเพื่อดึงผิวหนังและ cricothyroid membrane ขึ้นทางด้านบน
-ขยายส่วนที่กรีดในแนวยาวโดยใช้ Trousseau dilator ด้วยมือซ้าย แล้วใส่ tracheostomy tube เข้าไปด้วยมือขวา เอา obturator ออก และใส่ท่อตัวใน ใส่ลมในบอลลูน
ที่สำคัญอีกอย่างคือใช้ท่อที่มีเส้นผ่านศูนย์ประมาณ 5-6 มม. เพราะถ้าใหญ่กว่านี้มักจะใส่ไม่เข้าครับ
เพื่อความเข้าใจมากขึ้นสามารถดูวีดีโอแสดงขั้นตอนการทำจากลิ้งค์ด้านล่างหรือจากใน youtube ก็ได้ครับ
http://www.nejm.org/doi/pdf/10.1056/NEJMvcm0706755
http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMvcm0706755
วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2,209 แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาวัณโรคในผู้ใหญ่ พศ. 2554
จัดทําโดยสํานักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
บทที่ 1 สาเหตุและการติดต่อ
บทที่ 2 วัณโรคปอด
บทที่ 3 วัณโรคนอกปอด
บทที่ 4 ยารักษาวัณโรคแนวที่หนึ่ง
(first-line anti-tuberculosis drugs, FLD)
บทที่ 5 การรักษาผู้ป่วยวัณโรคในกรณีพิเศษต่างๆ
ภาคผนวก
ลิ้งค์ คลิกที่นี่
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
บทที่ 1 สาเหตุและการติดต่อ
บทที่ 2 วัณโรคปอด
บทที่ 3 วัณโรคนอกปอด
บทที่ 4 ยารักษาวัณโรคแนวที่หนึ่ง
(first-line anti-tuberculosis drugs, FLD)
บทที่ 5 การรักษาผู้ป่วยวัณโรคในกรณีพิเศษต่างๆ
ภาคผนวก
วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2,208 เกณฑ์อนุมัติการใช้ยา peginterferon alfa (ชนิด 2a/2b) ในข้อบ่งใช้โรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง
พบผู้ป่วยซึ่งเป็นไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังเป็นช่วงๆ จึงสืบค้นเกณฑ์อนุมัติการใช้ยา peginterferon alfa
เกณฑ์อนุมัติการใช้ยา peginterferon alfa (ชนิด 2a/2b) ในข้อบ่งใช้โรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง (genotype 2, 3)
โดยมีเกณฑ์ครบทุกข้อตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
1 ต้องไม่เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย (terminally ill)
2 ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังที่สมควรได้รับการรักษา คือ (ทุกข้อต่อไปนี้)
2.1 ผู้ป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง ที่ไม่เคยได้รับการรักษาด้วย peginterferon alfa (ชนิด 2a/2b) ร่วมกับ ribavirin มาก่อน
2.2 มีความเข้าใจและพร้อมที่จะรับการรักษา พร้อมทั้งต้องมีการลงลายมือชื่อในใบแนะนำการปฏิบัติตนในการใช้ยา (ทั้งผู้รับการรักษาและคู่สมรส)
2.3 มีอายุ18-65 ปี
2.4 มีค่า alanine aminotransferase (ALT) มากกว่าหรือเท่ากับ 1.5 เท่า โดยไม่มีตับอักเสบจากสาเหตุอย่างอื่น เช่น ยาสมุนไพร แอลกอฮอล์ อ้วน (non-alcoholic steato hepatitis; NASH)
2.5 HCV genotype 2 และ 3 ที่มี RNA positive ≥ 5,000 IU/ml
2.6 ผลการเจาะตับพบว่ามี significant fibrosis (F2) (Metavir มากกว่าหรือเท่ากับ 2) หรือมีผล fibroscan ที่มีค่า pKA ≥ 7.5
2.7 ในกรณีที่มีตับแข็ง ต้องเป็นตับแข็งในระยะเริ่มต้นที่ตับยังทำงานได้ดี โดยมีค่า Child-Pugh score น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6
เพิ่มเติม: ผู้ป่วยระยะสุดท้าย (terminally ill) หมายถึง ผู้ป่วยโรคทางกายซึ่งไม่สามารถรักษาได้ (incurable) และไม่สามารถช่วยให้ชีวิตยืนยาวขึ้น (irreversible) ซึ่งในความเห็นของแพทย์ผู้รักษา ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในระยะเวลาอันสั้น
โดยผู้ป่วยดังกล่าวควรได้รับการรักษาแบบประคับประคอง (palliative care) โดยมุ่งหวังให้ลดความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมาน เป็นสำคัญ
Ref: http://www.nlem.in.th/sites/default/files/attachments/annex_3_jor_2_edit_2_0.pdf
เกณฑ์อนุมัติการใช้ยา peginterferon alfa (ชนิด 2a/2b) ในข้อบ่งใช้โรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง (genotype 2, 3)
โดยมีเกณฑ์ครบทุกข้อตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
1 ต้องไม่เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย (terminally ill)
2 ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังที่สมควรได้รับการรักษา คือ (ทุกข้อต่อไปนี้)
2.1 ผู้ป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง ที่ไม่เคยได้รับการรักษาด้วย peginterferon alfa (ชนิด 2a/2b) ร่วมกับ ribavirin มาก่อน
2.2 มีความเข้าใจและพร้อมที่จะรับการรักษา พร้อมทั้งต้องมีการลงลายมือชื่อในใบแนะนำการปฏิบัติตนในการใช้ยา (ทั้งผู้รับการรักษาและคู่สมรส)
2.3 มีอายุ18-65 ปี
2.4 มีค่า alanine aminotransferase (ALT) มากกว่าหรือเท่ากับ 1.5 เท่า โดยไม่มีตับอักเสบจากสาเหตุอย่างอื่น เช่น ยาสมุนไพร แอลกอฮอล์ อ้วน (non-alcoholic steato hepatitis; NASH)
2.5 HCV genotype 2 และ 3 ที่มี RNA positive ≥ 5,000 IU/ml
2.6 ผลการเจาะตับพบว่ามี significant fibrosis (F2) (Metavir มากกว่าหรือเท่ากับ 2) หรือมีผล fibroscan ที่มีค่า pKA ≥ 7.5
2.7 ในกรณีที่มีตับแข็ง ต้องเป็นตับแข็งในระยะเริ่มต้นที่ตับยังทำงานได้ดี โดยมีค่า Child-Pugh score น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6
เพิ่มเติม: ผู้ป่วยระยะสุดท้าย (terminally ill) หมายถึง ผู้ป่วยโรคทางกายซึ่งไม่สามารถรักษาได้ (incurable) และไม่สามารถช่วยให้ชีวิตยืนยาวขึ้น (irreversible) ซึ่งในความเห็นของแพทย์ผู้รักษา ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในระยะเวลาอันสั้น
โดยผู้ป่วยดังกล่าวควรได้รับการรักษาแบบประคับประคอง (palliative care) โดยมุ่งหวังให้ลดความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมาน เป็นสำคัญ
Ref: http://www.nlem.in.th/sites/default/files/attachments/annex_3_jor_2_edit_2_0.pdf
2,207 ข้อควรทราบรื่องยาบัญชี จ (2)
ยาบัญชี จ (2) เป็นข้อย่อยของยาในบัญชี จ เป็นรายการยาสำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นเพาะ เป็นยากลุ่มที่มีระดับความเข้มข้นในการควบคุมที่สุดเนื่องจากเป็นรายการยาที่มีแนวโน้มการสั่งใช้ยาอย่างไม่เหมาะสม หรือเป็นยาที่ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญเฉพาะโรค หรือใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และเป็นยาที่มีราคาแพงมาก หรือส่งผลอย่างมากต่อความสามารถในการจ่ายของสังคมและผู้ป่วย คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ จึงกำหนดให้โครงการประกันสุขภาพภาครัฐทั้งสามโครงการร่วมกันพัฒนาระบบกำกับการใช้ยาโดยจัดให้มีหน่วยงานกลางรับผิดชอบในการควบคุมกำกับการใช้ยา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาได้อย่างสมเหตุผลและคุ้มค่า ก่อประโยชน์สูงสุด โดยโรงพยาบาลจะต้องมีระบบการกำกับประเมินและตรวจสอบการใช้ยา และมีการเก็บข้อมูลการใช้ยาเหล่านั้นเพื่อการตรวจสอบและประเมินผลลัพธ์ต่อไป (ส่วนยาบัญชี จ (1) รายการยาสำหรับโครงการพิเศษของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐที่มีการกำหนดวิธีการใช้และการติดตามประเมินการใช้ยาตามโครงการ โดยมีหน่วยงานนั้นรับผิดชอบ และมีการรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะอนุกรรมการฯ เป็นระยะตามความเหมาะสม เพื่อพิจารณาจัดเข้าประเภทของยา (ก ข ค ง) ในบัญชียาหลักต่อไปเมื่อมีข้อมูลเพียงพอ)
โดยในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2555 ยาบัญชี จ (2) มียาและและแนวทางกำกับการใช้ยาดังนี้
1. แนวทางกำกับการใช้ยา Botulinum A toxin
ข้อบ่งใช้โรคคอบิด (cervical dystonia) ชนิดไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic)
2. แนวทางกำกับการใช้ยา Botulinum A toxin
ข้อบ่งใช้โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก (hemifacial spasm) ชนิดไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic)
3. แนวทางกำกับการใช้ยา Liposomal amphotericin B
ข้อบ่งใช้โรค invasive fungal infections ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถทนต่อยา Conventional amphotericin B
4. แนวทางกำกับการใช้ยา Leuprorelin acetate
ข้อบ่งใช้ภาวะ central (gonadotrophin dependent) precocious puberty
5. แนวทางกำกับการใช้ยา Docetaxel
ข้อบ่งใช้ มะเร็งเต้านมระยะลุกลาม
6. แนวทางกำกับการใช้ยา Docetaxel
ข้อบ่งใช้ มะเร็งปอดชนิด non-small cell ระยะลุกลาม
7. แนวทางกำกับการใช้ยา Docetaxel
ข้อบ่งใช้ มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย
8. แนวทางกำกับการใช้ยา Imatinib mesilate
ข้อบ่งใช้ chronic myelogenous leukemia (CML) ระยะ chronic stable phase
9. แนวทางกำกับการใช้ยา Imatinib mesilate
ข้อบ่งใช้ gastrointestinal stromal tumors (GISTs) ระยะลุกลามหรือมีการกระจายของโรค
10. แนวทางกำกับการใช้ยา Human normal immunoglobulin, intravenous (IVIG)
ข้อบ่งใช้ โรคคาวาซากิระยะเฉียบพลัน (acute phase of Kawasaki disease)
11. แนวทางกำกับการใช้ยา Human normal immunoglobulin, intravenous (IVIG)
ข้อบ่งใช้ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิ (primary immunodeficiency diseases)
12. แนวทางกำกับการใช้ยา Human normal immunoglobulin, intravenous (IVIG)
ข้อบ่งใช้ โรค idiopathic thrombocytopenic purpura (ITP) ชนิดรุนแรง
13. แนวทางกำกับการใช้ยา Human normal immunoglobulin, intravenous (IVIG)
ข้อบ่งใช้ autoimmune hemolytic anemia (AIHA) ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาตามขั้นตอนของมาตรฐานการรักษา และมีอาการรุนแรงที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
14. แนวทางกำกับการใช้ยา Human normal immunoglobulin, intravenous (IVIG)
ข้อบ่งใช้ โรค Guillain–Barré syndrome ที่มีอาการรุนแรง
15. แนวทางกำกับการใช้ยา Human normal immunoglobulin, intravenous (IVIG)
ข้อบ่งใช้ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้ายระยะวิกฤต
(myasthenia gravis, acute exacerbation หรือ myasthenic crisis)
16. แนวทางกำกับการใช้ยา Human normal immunoglobulin, intravenous (IVIG)
ข้อบ่งใช้ โรค pemphigus vulgaris ที่มีอาการรุนแรง และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยามาตรฐาน
17. แนวทางกำกับการใช้ยา Human normal immunoglobulin, intravenous (IVIG)
ข้อบ่งใช้ hemophagocytic lymphohistiocytosis (HLH)
18. แนวทางกำกับการใช้ยา Letrozole
ข้อบ่งใช้ มะเร็งเต้านมที่มี hormone receptor เป็นบวก
19. แนวทางกำกับการใช้ยา Epoetin alfa/beta (epoetin alpha/beta: EPO)
ข้อบ่งใช้ ภาวะเลือดจางจากโรคไตเรื้อรังที่ไม่พบสาเหตุอื่นที่รักษาได้
20. แนวทางกำกับการใช้ยา Verteporfin
ข้อบ่งใช้โรคจุดภาพชัดจอประสาทตาเสื่อมเหตุสูงวัยแบบเปียกที่มีเส้นเลือดงอกใหม่ใต้รอยบุ๋มจอตา
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบบคลาสสิก
21. แนวทางกำกับการใช้ยา Peginterferon alfa ชนิด 2a และ 2b ร่วมกับ Ribavirin
ข้อบ่งใช้รักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง (chronic hepatitis C genotype 2, 3)
โดยสามารถอ่านรายละเอียดของยาและและแนวทางกำกับการใช้ยาในอ้างอิงที่ 3
Ref: http://www.nlem.in.th/principles/medicine/measurement
http://www.hitap.net/research/9563
http://www.nlem.in.th/sites/default/files/attachments/annex_3_jor_2_edit_2_0.pdf
1. แนวทางกำกับการใช้ยา Botulinum A toxin
ข้อบ่งใช้โรคคอบิด (cervical dystonia) ชนิดไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic)
2. แนวทางกำกับการใช้ยา Botulinum A toxin
ข้อบ่งใช้โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก (hemifacial spasm) ชนิดไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic)
3. แนวทางกำกับการใช้ยา Liposomal amphotericin B
ข้อบ่งใช้โรค invasive fungal infections ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถทนต่อยา Conventional amphotericin B
4. แนวทางกำกับการใช้ยา Leuprorelin acetate
ข้อบ่งใช้ภาวะ central (gonadotrophin dependent) precocious puberty
5. แนวทางกำกับการใช้ยา Docetaxel
ข้อบ่งใช้ มะเร็งเต้านมระยะลุกลาม
6. แนวทางกำกับการใช้ยา Docetaxel
ข้อบ่งใช้ มะเร็งปอดชนิด non-small cell ระยะลุกลาม
7. แนวทางกำกับการใช้ยา Docetaxel
ข้อบ่งใช้ มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย
8. แนวทางกำกับการใช้ยา Imatinib mesilate
ข้อบ่งใช้ chronic myelogenous leukemia (CML) ระยะ chronic stable phase
9. แนวทางกำกับการใช้ยา Imatinib mesilate
ข้อบ่งใช้ gastrointestinal stromal tumors (GISTs) ระยะลุกลามหรือมีการกระจายของโรค
10. แนวทางกำกับการใช้ยา Human normal immunoglobulin, intravenous (IVIG)
ข้อบ่งใช้ โรคคาวาซากิระยะเฉียบพลัน (acute phase of Kawasaki disease)
11. แนวทางกำกับการใช้ยา Human normal immunoglobulin, intravenous (IVIG)
ข้อบ่งใช้ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิ (primary immunodeficiency diseases)
12. แนวทางกำกับการใช้ยา Human normal immunoglobulin, intravenous (IVIG)
ข้อบ่งใช้ โรค idiopathic thrombocytopenic purpura (ITP) ชนิดรุนแรง
13. แนวทางกำกับการใช้ยา Human normal immunoglobulin, intravenous (IVIG)
ข้อบ่งใช้ autoimmune hemolytic anemia (AIHA) ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาตามขั้นตอนของมาตรฐานการรักษา และมีอาการรุนแรงที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
14. แนวทางกำกับการใช้ยา Human normal immunoglobulin, intravenous (IVIG)
ข้อบ่งใช้ โรค Guillain–Barré syndrome ที่มีอาการรุนแรง
15. แนวทางกำกับการใช้ยา Human normal immunoglobulin, intravenous (IVIG)
ข้อบ่งใช้ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้ายระยะวิกฤต
(myasthenia gravis, acute exacerbation หรือ myasthenic crisis)
16. แนวทางกำกับการใช้ยา Human normal immunoglobulin, intravenous (IVIG)
ข้อบ่งใช้ โรค pemphigus vulgaris ที่มีอาการรุนแรง และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยามาตรฐาน
17. แนวทางกำกับการใช้ยา Human normal immunoglobulin, intravenous (IVIG)
ข้อบ่งใช้ hemophagocytic lymphohistiocytosis (HLH)
18. แนวทางกำกับการใช้ยา Letrozole
ข้อบ่งใช้ มะเร็งเต้านมที่มี hormone receptor เป็นบวก
19. แนวทางกำกับการใช้ยา Epoetin alfa/beta (epoetin alpha/beta: EPO)
ข้อบ่งใช้ ภาวะเลือดจางจากโรคไตเรื้อรังที่ไม่พบสาเหตุอื่นที่รักษาได้
20. แนวทางกำกับการใช้ยา Verteporfin
ข้อบ่งใช้โรคจุดภาพชัดจอประสาทตาเสื่อมเหตุสูงวัยแบบเปียกที่มีเส้นเลือดงอกใหม่ใต้รอยบุ๋มจอตา
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบบคลาสสิก
21. แนวทางกำกับการใช้ยา Peginterferon alfa ชนิด 2a และ 2b ร่วมกับ Ribavirin
ข้อบ่งใช้รักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง (chronic hepatitis C genotype 2, 3)
โดยสามารถอ่านรายละเอียดของยาและและแนวทางกำกับการใช้ยาในอ้างอิงที่ 3
Ref: http://www.nlem.in.th/principles/medicine/measurement
http://www.hitap.net/research/9563
http://www.nlem.in.th/sites/default/files/attachments/annex_3_jor_2_edit_2_0.pdf
วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2,206 แนะนำห้องสมุดอิเล็กทรอนิคส์ E-library สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
มีหนังสือ วารสาร คู่มือ แนวทาง สถานการณ์ รายงานต่างๆ คู่มือสำหรับผู้ป่วยและประชาชน ที่เกี่ยวกับ โรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มากกมายให้ดาวน์โหลดเพื่อศึกษา เป็นแบบ E-Book ลองเข้าศึกษาดูนะครับดีจริงๆ ครับ
มีหนังสือ วารสาร คู่มือ แนวทาง สถานการณ์ รายงานต่างๆ คู่มือสำหรับผู้ป่วยและประชาชน ที่เกี่ยวกับ โรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มากกมายให้ดาวน์โหลดเพื่อศึกษา เป็นแบบ E-Book ลองเข้าศึกษาดูนะครับดีจริงๆ ครับ
2,205 คู่มือปฎิบัติงานดูแลรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 2553
โดยกลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
บทที่ 1 การดูแลรักษาผู้มารับบริการ ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
บทที่ 2 แนวทางการให้บริการให้บริการสำหรับพนักงานบริการชายที่มีเพศสัมพันธ์ชาย
บทที่ 3 การตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
บทที่ 4 การให้การปรึกษาและสุขศึกษาเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัย
บทที่ 5 การให้การศึกษาเพื่อตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี
บทที่ 6 การติดตามผู้สัมผัสโรค
บทที่ 7 การทำรายงานโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตามแบบ ก.1 และ ก.2
สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
บทที่ 1 การดูแลรักษาผู้มารับบริการ ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
บทที่ 2 แนวทางการให้บริการให้บริการสำหรับพนักงานบริการชายที่มีเพศสัมพันธ์ชาย
บทที่ 3 การตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
บทที่ 4 การให้การปรึกษาและสุขศึกษาเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัย
บทที่ 5 การให้การศึกษาเพื่อตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี
บทที่ 6 การติดตามผู้สัมผัสโรค
บทที่ 7 การทำรายงานโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตามแบบ ก.1 และ ก.2
ลิ้งค์ดาวน์โหลด http://www.aidsstithai.org/medias/download/131
วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2,204 Specific phobia ชนิด altophobia (โรคกลัวความสูง) และ tachophobia (โรคกลัวความเร็ว)
พบผู้ป่วยชายอายุ 20 ปี มีปัญหาการกลัวความสูงไม่สามารถขึ้นที่สูงและขึ้นลิฟท์ได้ กลัวความเร็วโดยไม่สามารถนั่งรถที่ขับเร็วๆ ได้ แต่ความจำและการเรียนรู้ต่างๆ อยู่ในเกณฑ์ดี จึงสืบค้นเกี่ยวกับเรื่องนี้พบว่า
น่าจะเข้าได้กับโรค phobia ซึ่งเป็นความกลัวที่แตกต่างจากความกลัวทั่วๆ ไป คือ กลัวแบบไม่มีเหตุผลอันสมควร ไม่เหมาะสมกับสิ่งที่มากระตุ้น ผู้ป่วยจะพยายามหลีกเลี่ยงหรือหลบหนีจากสิ่งที่ทำให้กลัวนั้นๆ
โดย phobia แบ่งใหญ่ๆ ได้เป็น 2 อย่างคือ social phobia และ specific phobia
-Social phobia เป็นความกลัวต่อการไปอยู่ในสถานที่ผู้ป่วยอาจถูกจ้องมองจากผู้อื่น
-Specific phobia เดิมเรียกว่า simple phobia เป็นความกลัวต่อสัตว์ สิ่งของ สถานที่ หรือเหตุการณ์บางอย่าง
ซึ่งผู้ป่วยน่าจะเข้าได้กับ specific phobia ชนิด altophobia (โรคกลัวความสูง) และ tachophobia (โรคกลัวความเร็ว)
โดยทั้ง social phobia และ specific phobia ต้องมีอาการอย่างน้อย 6 เดือนจึงจะเข้ากับเกณฑ์การวินิจฉัย
ซึ่งอาจต้องวินิจฉัยแยกโรคจาก โรคทางกาย เช่น การใช้สารเสพติด โดยเฉพาะ hallucinogen, sympathomimetics และโรคทางจิตใจ เช่น paranoid personality disorder, hypoichondriasis, major depressive disorder และ schizoid personality disorder
อ้่างอิง: จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี โดย อ. มาโนช หล่อตระกูล, อ. ปราโมทย์ สุคนิชย์
น่าจะเข้าได้กับโรค phobia ซึ่งเป็นความกลัวที่แตกต่างจากความกลัวทั่วๆ ไป คือ กลัวแบบไม่มีเหตุผลอันสมควร ไม่เหมาะสมกับสิ่งที่มากระตุ้น ผู้ป่วยจะพยายามหลีกเลี่ยงหรือหลบหนีจากสิ่งที่ทำให้กลัวนั้นๆ
โดย phobia แบ่งใหญ่ๆ ได้เป็น 2 อย่างคือ social phobia และ specific phobia
-Social phobia เป็นความกลัวต่อการไปอยู่ในสถานที่ผู้ป่วยอาจถูกจ้องมองจากผู้อื่น
-Specific phobia เดิมเรียกว่า simple phobia เป็นความกลัวต่อสัตว์ สิ่งของ สถานที่ หรือเหตุการณ์บางอย่าง
ซึ่งผู้ป่วยน่าจะเข้าได้กับ specific phobia ชนิด altophobia (โรคกลัวความสูง) และ tachophobia (โรคกลัวความเร็ว)
โดยทั้ง social phobia และ specific phobia ต้องมีอาการอย่างน้อย 6 เดือนจึงจะเข้ากับเกณฑ์การวินิจฉัย
ซึ่งอาจต้องวินิจฉัยแยกโรคจาก โรคทางกาย เช่น การใช้สารเสพติด โดยเฉพาะ hallucinogen, sympathomimetics และโรคทางจิตใจ เช่น paranoid personality disorder, hypoichondriasis, major depressive disorder และ schizoid personality disorder
อ้่างอิง: จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี โดย อ. มาโนช หล่อตระกูล, อ. ปราโมทย์ สุคนิชย์
วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2,203 Designing tomorrow's vaccines
Review article
Global health
N Engl J Med February 7, 2013
การให้วัคซีนในรูปแบบเดิมที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นถึงประวัติการณ์ของความสำเร็จในการป้องกันโรคติดเชื้อของมนุษย์และการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนโดยการลดการเสียชีวิตและความทุกข์ทรมานจากโรคภัยของจุลินทรีย์ก่อโรคต่างๆ
ความสำเร็จของการรักษาดังกล่าวได้ประกาศการมาถึงของยุคใหม่สำหรับการให้วัคซีน โดยความเข้าใจที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับภูมิต้านทานของมนุษย์และจุลินทรีย์ได้เร่งความก้าวหน้าทางประวัติการณ์ที่สามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงสุขภาพของประชาชน
แม้จะเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างต่อเนื่อง โดยความพยายามของรัฐบาลและองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรในการขยายการใช้ประโยชน์จากการฉีดวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพทั่วโลกได้เติบโตขึ้น ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์และเทคโนโลยีด้านชีววิทยา ก่อให้เกิดการปรับปรุงการใช้วัคซีนที่มีอยู่และขยายขอบเขตสำหรับการฉีดวัคซีนในวันพรุ่งนี้
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Scientific Discovery in the Current Vaccine Era
Structural Biology and Pathogen Entry
Rational Vaccine Design
Interactions between Host and Pathogen
Immune Biomarkers of Protection
Dendritic Cells and Adjuvants
Modes and Sites of Vaccine Delivery
-Clinical Translation and Implementation
Correlates of Protection and Innovative Clinical Trial Design
From Licensure to Effective Distribution
-A Look to the Future
Beyond Immunologic Mimicry
Life-Cycle Management of Vaccines
Next-Generation Vaccines
-Conclusions
-Source Information
อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1204186
Global health
N Engl J Med February 7, 2013
การให้วัคซีนในรูปแบบเดิมที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นถึงประวัติการณ์ของความสำเร็จในการป้องกันโรคติดเชื้อของมนุษย์และการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนโดยการลดการเสียชีวิตและความทุกข์ทรมานจากโรคภัยของจุลินทรีย์ก่อโรคต่างๆ
ความสำเร็จของการรักษาดังกล่าวได้ประกาศการมาถึงของยุคใหม่สำหรับการให้วัคซีน โดยความเข้าใจที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับภูมิต้านทานของมนุษย์และจุลินทรีย์ได้เร่งความก้าวหน้าทางประวัติการณ์ที่สามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงสุขภาพของประชาชน
แม้จะเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างต่อเนื่อง โดยความพยายามของรัฐบาลและองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรในการขยายการใช้ประโยชน์จากการฉีดวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพทั่วโลกได้เติบโตขึ้น ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์และเทคโนโลยีด้านชีววิทยา ก่อให้เกิดการปรับปรุงการใช้วัคซีนที่มีอยู่และขยายขอบเขตสำหรับการฉีดวัคซีนในวันพรุ่งนี้
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Scientific Discovery in the Current Vaccine Era
Structural Biology and Pathogen Entry
Rational Vaccine Design
Interactions between Host and Pathogen
Immune Biomarkers of Protection
Dendritic Cells and Adjuvants
Modes and Sites of Vaccine Delivery
-Clinical Translation and Implementation
Correlates of Protection and Innovative Clinical Trial Design
From Licensure to Effective Distribution
-A Look to the Future
Beyond Immunologic Mimicry
Life-Cycle Management of Vaccines
Next-Generation Vaccines
-Conclusions
-Source Information
อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1204186
2,202 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรังในประเทศไทย ปี 2555
Thailand practice guideline for management of chronic hepatitis B and C 2012
โดยสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย
โดยสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย
วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2,201 ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำในภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย
พบผู้ป่วยชายอายุ 82 ปี มาด้วยโซเดียมในเลือดต่ำเื้รื้อรัง ผลการตรวจหาสาเหตุพบว่ามีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย (hypothyroidism) โดยผล
-Na 120 mg/dl
-TSH 92.65 (N 0.3-5.0 uIU/ml)
-FT4 0.3 (N 0.6-1.6 ng/dl)
จึงสืบค้นเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้
ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำในภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยพบได้ประมาณ 10% โดยส่วนใหญ่มักจะไม่รุนแรงและไม่มักแสดงอาการอะไร กลไกที่ก่อให้เกิดการมีโซเดียมในเลือดต่ำจากการมีภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยยังไม่เป็นที่เข้าใจชัดเจนหนัก ความผิดปกติหลักคือการที่ไม่สามารถกด antidiuretic hormone ได้อย่างเต็มที่ (inappropriate release of ADH) ซึ่งมักเกิดจากการลด cardiac output แล้วนำมาสู่การหลั่ง antidiuretic hormone ผ่านทาง carotid sinus baroreceptors
และยังพบว่าการกรองของไตลดลงใน hypothyroidism ซึ่งสามารถก่่อให้เกิดการลดการขับ free water เนื่องจากการลดการส่งน้ำไปยังส่วนที่ทำหน้าที่เจือจาง (diluting segments) ซึ่งกลไกหลังนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งของการเกิดมีโซเดียมในเลือดต่ำในกรณีที่มีการหลั่ง ADH อย่างเหมาะสม
เมื่อเกิดการขับถ่ายน้ำลดลงทำให้น้ำที่รับประทานเข้าไปคั่งค้าง เกิดการลดความเข้มข้นของโซเดียมในเลือดจากการเจือจางนั่นเอง
Ref: http://www.usmleforum.com/files/forum/2009/2/386072.php
http://www.endocrine-abstracts.org/ea/0015/ea0015p364.htm
http://www.medscape.com/viewarticle/514125_6
-Na 120 mg/dl
-TSH 92.65 (N 0.3-5.0 uIU/ml)
-FT4 0.3 (N 0.6-1.6 ng/dl)
จึงสืบค้นเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้
ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำในภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยพบได้ประมาณ 10% โดยส่วนใหญ่มักจะไม่รุนแรงและไม่มักแสดงอาการอะไร กลไกที่ก่อให้เกิดการมีโซเดียมในเลือดต่ำจากการมีภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยยังไม่เป็นที่เข้าใจชัดเจนหนัก ความผิดปกติหลักคือการที่ไม่สามารถกด antidiuretic hormone ได้อย่างเต็มที่ (inappropriate release of ADH) ซึ่งมักเกิดจากการลด cardiac output แล้วนำมาสู่การหลั่ง antidiuretic hormone ผ่านทาง carotid sinus baroreceptors
และยังพบว่าการกรองของไตลดลงใน hypothyroidism ซึ่งสามารถก่่อให้เกิดการลดการขับ free water เนื่องจากการลดการส่งน้ำไปยังส่วนที่ทำหน้าที่เจือจาง (diluting segments) ซึ่งกลไกหลังนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งของการเกิดมีโซเดียมในเลือดต่ำในกรณีที่มีการหลั่ง ADH อย่างเหมาะสม
เมื่อเกิดการขับถ่ายน้ำลดลงทำให้น้ำที่รับประทานเข้าไปคั่งค้าง เกิดการลดความเข้มข้นของโซเดียมในเลือดจากการเจือจางนั่นเอง
Ref: http://www.usmleforum.com/files/forum/2009/2/386072.php
http://www.endocrine-abstracts.org/ea/0015/ea0015p364.htm
http://www.medscape.com/viewarticle/514125_6
วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2,200 หนังสือ หลักสูตรการศึกษาเพือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อ สำหรับบุคลากรสาธารณสุข
โดยสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
หน่วยที่ 1 แนวคิดกำรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภำพด้วย Health Coaching
หน่วยที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อ
หน่วยที่ 3 พิษภัยและแนวทางการเลิกบุหรี่สุราด้วยตนเอง
หน่วยที่ 4 อาหาร สมดุลพลังงานและอาหารแลกเปลี่ยนการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อ
หน่วยที่ 5 การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและป้องกันโรค
หน่วยที่ 6 การจัดการอารมณ์ (Emotional Management)
หน่วยที่ 7 แนวคิดทฤษฎีและธรรมชาติของมนุษย์
หน่วยที่ 8 หลักการการปรึกษาพื้นฐาน
หน่วยที่ 9 การเพิ่มแรงจูงใจ (Motivational Interviewing: MI) ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
ลิงค์ดาวโหลด คลิกที่นี่
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
หน่วยที่ 1 แนวคิดกำรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภำพด้วย Health Coaching
หน่วยที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อ
หน่วยที่ 3 พิษภัยและแนวทางการเลิกบุหรี่สุราด้วยตนเอง
หน่วยที่ 4 อาหาร สมดุลพลังงานและอาหารแลกเปลี่ยนการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อ
หน่วยที่ 5 การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและป้องกันโรค
หน่วยที่ 6 การจัดการอารมณ์ (Emotional Management)
หน่วยที่ 7 แนวคิดทฤษฎีและธรรมชาติของมนุษย์
หน่วยที่ 8 หลักการการปรึกษาพื้นฐาน
หน่วยที่ 9 การเพิ่มแรงจูงใจ (Motivational Interviewing: MI) ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2,199 ABCD2 Score การประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองภายหลังการเกิด TIA
เป็นการประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองภายหลังการเกิด TIA ในช่วง 2 วันแรก โดยประเมินจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังนี้
A: Age อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 1 คะแนน
B. Blood pressure ตั้งแต่ 140/90 มม.ปรอท ในช่วงแรกของการประเมิน 1 คะแนน
C. Clinical features of the TIA
-อ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง: 2 คะแนน
-มีปัญหาการพูดการออกเสียงโดยไม่มีอ่อนแรง: 1 คะแนน
-อาการอื่นๆ: 0 คะแนน
D. Duration of symptoms
-น้อยกว่า 10 นาที: 0 คะแนน
-10-59 นาที: 1 คะแนน
-ตั้งแต่ 60 นาทีขึ้นไป: 2 คะแนน
D. Diabetes mellitus
-ถ้าเป็นเบาหวานร่วมด้วย 1 คะแนน
การแปลผล
-คะแนน 1-3 (ต่ำ)
2 วัน ความเสี่ยง = 1.0%
7 วัน ความเสี่ยง = 1.2%
-คะแนน 4-5 (ปานกลาง)
2 วัน ความเสี่ยง = 4.1%
7 วัน ความเสี่ยง = 5.9%
-คะแนน 6–7 (สูง)
2 วัน ความเสี่ยง = 8.1%
7 วัน ความเสี่ยง = 11.7%
Ref: http://www.mdcalc.com/abcd2-score-for-tia/
http://en.wikipedia.org/wiki/ABCD%C2%B2_score
A: Age อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 1 คะแนน
B. Blood pressure ตั้งแต่ 140/90 มม.ปรอท ในช่วงแรกของการประเมิน 1 คะแนน
C. Clinical features of the TIA
-อ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง: 2 คะแนน
-มีปัญหาการพูดการออกเสียงโดยไม่มีอ่อนแรง: 1 คะแนน
-อาการอื่นๆ: 0 คะแนน
D. Duration of symptoms
-น้อยกว่า 10 นาที: 0 คะแนน
-10-59 นาที: 1 คะแนน
-ตั้งแต่ 60 นาทีขึ้นไป: 2 คะแนน
D. Diabetes mellitus
-ถ้าเป็นเบาหวานร่วมด้วย 1 คะแนน
การแปลผล
-คะแนน 1-3 (ต่ำ)
2 วัน ความเสี่ยง = 1.0%
7 วัน ความเสี่ยง = 1.2%
-คะแนน 4-5 (ปานกลาง)
2 วัน ความเสี่ยง = 4.1%
7 วัน ความเสี่ยง = 5.9%
-คะแนน 6–7 (สูง)
2 วัน ความเสี่ยง = 8.1%
7 วัน ความเสี่ยง = 11.7%
Ref: http://www.mdcalc.com/abcd2-score-for-tia/
http://en.wikipedia.org/wiki/ABCD%C2%B2_score
วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2,198 ผลของยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) ต่อไต
1. การลดอัตราการกรองของไต
การได้รับ NSAIDs ทำให้เกิดการยับยั้ง prostaglandins จึงไม่มี prostaglandins ในการที่จะไปทำหน้าที่ให้เกิดการขยายตัวของ afferent arterioles ทำให้เลือดเข้าสู่ไตลดลง โดยเฉพาะถ้ากำลังมีสาเหตุ ปัจจัยหรือโรคร่วมที่มีแนวโน้มจะทำให้เกิดภาวะไตวายอยู่แล้ว (โดยปกติแล้ว prostaglandins โดยเพาะ PGE2 และ PGI2 จะทำให้เกิดการขยายตัวของเส้นเลือด afferent arterioles ของ glomeruli)
2. การคั่งของเกลือโซเดียมและภาวะบวมน้ำ
เกิดจากการยับยั้ง PGE2 ซึ่งในสภาวะปกติ PGE2 มีบทบาทในลดการดูดกลับของเกลือโซเดียมที่บริเวณ thick ascending loop of Henle และ collecting ducts จึงทำให้เกิดมีการคั่งของโซเดียมและน้ำ
3. ความดันโลหิตสูง
เกิดจากการมีการคั่งของโซเดียมและน้ำดังที่กล่าวข้างต้น และการใช้ NSAIDs จะรบกวนการทำงานของ RAAS เพราะ PGE2 และ PGI2 มีฤทธิ์กระตุ้นให้เซลล์ juxtaglomerular หลั่งเรนินออกมา NSAIDs จึงลดประสิทธิผลของยาลดความดันโลหิตโดยเฉพาะยา ACEIs, ยา ARBs, และยายังยับยั้งตัวรับบีตา (beta blocker) นอกจากนี้ NSAIDs ยังลดประสิทธิผลของยาขับปัสสาวะโดยเฉพาะขัดขวางกลไกการออกฤทธิ์ของยากลุ่ม thiazide และยาซึ่งออกฤทธิ์ที่ Henle’s loop
4. ภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูง
เกิดจากการยับยั้งการหลั่ง rennin-aldosterone system รวมทั้งการที่ผู้ป่วยอาจจะมีปัจจัยอื่นร่วมด้วยทำให้การขับออกของโปแตสเซียมลดลง เช่นมีภาวะไตวาย ใช้ยาที่มีผลข้างเคียงให้โปแตสเซียมในเลือดสูง
5. Nephrotic syndrome with interstitial nephritis กลไกการเกิดไม่ทราบแน่ชัด อาจเกิดจากการยับยั้ง COX pathway ทำให้การเปลี่ยนแปลง arachidinic metabolytes เปลี่ยนเป็น lipoxygenase pathway
แทน ทำให้เกิดเป็น leukotrienes และเป็นสาเหตุของการเกิดการมีโปรตีนออกมาในปัสสาวะ
6. Papillary necrosis เกิดจากการได้ NSAIDs เกินขนาดในภาวะที่มีการขาดน้ำ (dehydration)
Ref: http://www.thairheumatology.org/journal/NSAID.pdf
http://en.wikipedia.org/wiki/Non-steroidal_anti-inflammatory_drug
http://www.med.tu.ac.th/uploads/article/PDF/bkv1_7_8_52.pdf
http://www.med.tu.ac.th/uploads/article/PDF/non-steroidal_anti-inflammatory_drugs.pdf
การได้รับ NSAIDs ทำให้เกิดการยับยั้ง prostaglandins จึงไม่มี prostaglandins ในการที่จะไปทำหน้าที่ให้เกิดการขยายตัวของ afferent arterioles ทำให้เลือดเข้าสู่ไตลดลง โดยเฉพาะถ้ากำลังมีสาเหตุ ปัจจัยหรือโรคร่วมที่มีแนวโน้มจะทำให้เกิดภาวะไตวายอยู่แล้ว (โดยปกติแล้ว prostaglandins โดยเพาะ PGE2 และ PGI2 จะทำให้เกิดการขยายตัวของเส้นเลือด afferent arterioles ของ glomeruli)
2. การคั่งของเกลือโซเดียมและภาวะบวมน้ำ
เกิดจากการยับยั้ง PGE2 ซึ่งในสภาวะปกติ PGE2 มีบทบาทในลดการดูดกลับของเกลือโซเดียมที่บริเวณ thick ascending loop of Henle และ collecting ducts จึงทำให้เกิดมีการคั่งของโซเดียมและน้ำ
3. ความดันโลหิตสูง
เกิดจากการมีการคั่งของโซเดียมและน้ำดังที่กล่าวข้างต้น และการใช้ NSAIDs จะรบกวนการทำงานของ RAAS เพราะ PGE2 และ PGI2 มีฤทธิ์กระตุ้นให้เซลล์ juxtaglomerular หลั่งเรนินออกมา NSAIDs จึงลดประสิทธิผลของยาลดความดันโลหิตโดยเฉพาะยา ACEIs, ยา ARBs, และยายังยับยั้งตัวรับบีตา (beta blocker) นอกจากนี้ NSAIDs ยังลดประสิทธิผลของยาขับปัสสาวะโดยเฉพาะขัดขวางกลไกการออกฤทธิ์ของยากลุ่ม thiazide และยาซึ่งออกฤทธิ์ที่ Henle’s loop
4. ภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูง
เกิดจากการยับยั้งการหลั่ง rennin-aldosterone system รวมทั้งการที่ผู้ป่วยอาจจะมีปัจจัยอื่นร่วมด้วยทำให้การขับออกของโปแตสเซียมลดลง เช่นมีภาวะไตวาย ใช้ยาที่มีผลข้างเคียงให้โปแตสเซียมในเลือดสูง
5. Nephrotic syndrome with interstitial nephritis กลไกการเกิดไม่ทราบแน่ชัด อาจเกิดจากการยับยั้ง COX pathway ทำให้การเปลี่ยนแปลง arachidinic metabolytes เปลี่ยนเป็น lipoxygenase pathway
แทน ทำให้เกิดเป็น leukotrienes และเป็นสาเหตุของการเกิดการมีโปรตีนออกมาในปัสสาวะ
6. Papillary necrosis เกิดจากการได้ NSAIDs เกินขนาดในภาวะที่มีการขาดน้ำ (dehydration)
Ref: http://www.thairheumatology.org/journal/NSAID.pdf
http://en.wikipedia.org/wiki/Non-steroidal_anti-inflammatory_drug
http://www.med.tu.ac.th/uploads/article/PDF/bkv1_7_8_52.pdf
http://www.med.tu.ac.th/uploads/article/PDF/non-steroidal_anti-inflammatory_drugs.pdf
วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2,197 การวินิจฉัยผู้ป่วยที่มาด้วยอาการเจ็บหน้าอกเฉียบพลัน
Outpatient Diagnosis of Acute Chest Pain in Adults
American Family Physician
February 1 2013 Vol. 87 No. 3
ประมาณร้อยละ 1 ของผู้ป่วยที่มายังสำนักงานหรือหน่วยบริการปฐมภูมิจะมาด้วยอาการเจ็บหน้าอกและร้อยละ 1.5 ของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเป็นของอาการปวดเค้นไม่เสถียร (unstable angina) หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (acute myocardial infarction) เป้าหมายแรกในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกคือการตรวจสอบว่าผู้ป่วยมีความจำเป็นจะต้องส่งต่อเพื่อการตรวจเพิ่มเติมในการที่จะวินิจฉัยหรือการตัดออก (to rule in or out) ของโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน (acute coronary syndrome) และกล้ามเนื้อหัวใจตาย
แพทย์ควรพิจารณาลักษณะของผู้ป่วยและปัจจัยเสี่ยงที่จะช่วยประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น การตรวจคลื่นหัวใจสิบสองลีดเป็นการตรวจทางเลือกที่ทำโดยทั่วไปจะเพื่อมองหาการมี การเปลี่ยนแปลงของ ST segment, left bundle branch block ที่เกิดขึ้นใหม่, การมี Q waves, T wave inversions ที่เกิดขึ้นใหม่
ในกรณีที่สงสัยการมีหัวใจขาดเลือดจะต่ำกว่า การวินิจฉัยอื่น ๆ ที่ควรพิจารณาถึง ได้แก่ ความเจ็บปวดบริเวณผนังหน้าอก / การอักเสบบริเวณรอยต่อของกระดูกซี่โครงอ่อนกับซี่โครงแข็ง (costochondritis) ซึ่งจะมีการปวดเฉพาะที่จากการคลำ, โรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease) ซึ่งจะมีอาการปวดแสบร้อนใต้กระดูกสันอก ร่วมกับการใหลย้อนของกรดและรู้สึกมีรสเปรี้ยวหรือขมในปาก และมีความความผิดปกติทางจิตใจชนิดหวาดกลัว/วิตกกังวล (panic disorder/anxiety state)
ความผิดปกติอื่น ๆ ที่พบน้อยกว่าแต่มีสำคัญในการพิจารณาเพื่อการวินิจฉัยได้แก่ โรคปอดบวม (ไข้, เสียงการหายใจเป็นลักษณะ egophony และการเคาะทึบ), หัวใจล้มเหลว, เส้นเลือดปอดอุดตัน (โดยใช้เกณฑ์พิจารณาของเวลส์), เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเฉียบพลัน (acute pericarditis) และผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ในทรวงอกปริแยกเฉียบพลัน (acute thoracic aortic dissection) โดยจะพบว่ามีอาการเจ็บหน้าอกเฉียบพลันหรือปวดหลังร่วมกับการมีชีพจรแตกต่างกันในแขนแต่ละข้าง) ในผู้ที่มีความน่าจะเป็นสูงของการมีโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันควรจะส่งต่อไปยังแผนกฉุกเฉินหรือโรงพยาบาล
เพิ่มเติม
Egophony หมายถึง การเพิ่มขึ้นของเสียงก้อง เป็นลักษณะเสียงหายใจที่มีความถี่สูงคล้ายเสียงหายใจของแพะ ได้ยินในตำแหน่งที่มีการอักเสบของเยื่อหุ้มปอดหรือมีน้ำในเยื่อหุ้มปอด
American Family Physician
February 1 2013 Vol. 87 No. 3
ประมาณร้อยละ 1 ของผู้ป่วยที่มายังสำนักงานหรือหน่วยบริการปฐมภูมิจะมาด้วยอาการเจ็บหน้าอกและร้อยละ 1.5 ของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเป็นของอาการปวดเค้นไม่เสถียร (unstable angina) หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (acute myocardial infarction) เป้าหมายแรกในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกคือการตรวจสอบว่าผู้ป่วยมีความจำเป็นจะต้องส่งต่อเพื่อการตรวจเพิ่มเติมในการที่จะวินิจฉัยหรือการตัดออก (to rule in or out) ของโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน (acute coronary syndrome) และกล้ามเนื้อหัวใจตาย
แพทย์ควรพิจารณาลักษณะของผู้ป่วยและปัจจัยเสี่ยงที่จะช่วยประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น การตรวจคลื่นหัวใจสิบสองลีดเป็นการตรวจทางเลือกที่ทำโดยทั่วไปจะเพื่อมองหาการมี การเปลี่ยนแปลงของ ST segment, left bundle branch block ที่เกิดขึ้นใหม่, การมี Q waves, T wave inversions ที่เกิดขึ้นใหม่
ในกรณีที่สงสัยการมีหัวใจขาดเลือดจะต่ำกว่า การวินิจฉัยอื่น ๆ ที่ควรพิจารณาถึง ได้แก่ ความเจ็บปวดบริเวณผนังหน้าอก / การอักเสบบริเวณรอยต่อของกระดูกซี่โครงอ่อนกับซี่โครงแข็ง (costochondritis) ซึ่งจะมีการปวดเฉพาะที่จากการคลำ, โรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease) ซึ่งจะมีอาการปวดแสบร้อนใต้กระดูกสันอก ร่วมกับการใหลย้อนของกรดและรู้สึกมีรสเปรี้ยวหรือขมในปาก และมีความความผิดปกติทางจิตใจชนิดหวาดกลัว/วิตกกังวล (panic disorder/anxiety state)
ความผิดปกติอื่น ๆ ที่พบน้อยกว่าแต่มีสำคัญในการพิจารณาเพื่อการวินิจฉัยได้แก่ โรคปอดบวม (ไข้, เสียงการหายใจเป็นลักษณะ egophony และการเคาะทึบ), หัวใจล้มเหลว, เส้นเลือดปอดอุดตัน (โดยใช้เกณฑ์พิจารณาของเวลส์), เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเฉียบพลัน (acute pericarditis) และผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ในทรวงอกปริแยกเฉียบพลัน (acute thoracic aortic dissection) โดยจะพบว่ามีอาการเจ็บหน้าอกเฉียบพลันหรือปวดหลังร่วมกับการมีชีพจรแตกต่างกันในแขนแต่ละข้าง) ในผู้ที่มีความน่าจะเป็นสูงของการมีโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันควรจะส่งต่อไปยังแผนกฉุกเฉินหรือโรงพยาบาล
เพิ่มเติม
Egophony หมายถึง การเพิ่มขึ้นของเสียงก้อง เป็นลักษณะเสียงหายใจที่มีความถี่สูงคล้ายเสียงหายใจของแพะ ได้ยินในตำแหน่งที่มีการอักเสบของเยื่อหุ้มปอดหรือมีน้ำในเยื่อหุ้มปอด
วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2,196 ความสัมพันธ์ของรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและผลลัพท์ในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีการกำเริบเฉียบพลันซึ่งได้รับยาสเตียรอยด์ร่วมด้วย
Association Between Antibiotic Treatment and Outcomes in Patients Hospitalized With Acute Exacerbation of COPD Treated With Systemic Steroids
CHEST. 2013;143(1):82-90
ที่มา: ยาปฏิชีวนะที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีการกำเริบเฉียบพลัน (AE-COPD) แต่ประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นของรักษารวมถึงในกรณีที่มีการใช้สเตียรอยด์ร่วมด้วยยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน โดยประเมินความสัมพันธ์ระหว่างยาปฏิชีวนะและผลลัพท์ในกลุ่มผู้ป่วยจำนวนมากที่รักษาด้วยสเตียรอยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการกำเริบเฉียบพลัน และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะสามชนิดที่ใช้กันทั่วไป
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังของผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ในโรงพยาบาลในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีการกำเริบเฉียบพลัน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2006 ถึง 1 ธันวาคม 2007 จาก 410 โรงพยาบาลซึ่งดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการเฉียบพลันทั่วทั้งสหรัฐอเมริกา
ผลการรักษา: มีผู้ป่วยจำนวน 53,900 คนที่เข้าได้กับเกณฑ์การคัดเลือก, 85% ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะใน 2 วันแรกของการรักษาในโรงพยาบาล, 50% ได้รับการรักษาด้วย quinolone, 22% ด้วยยา macrolides ร่วมกับ cephalosporin และ 9% ด้วยยา macrolide
เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ผู้ที่ได้รับยาปฏิชีวนะมีอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า (1% ต่อ 1.8%, p น้อยกว่า 0.0001), ในการวิเคราะห์หลายตัวแปรพบว่าการได้รับยาปฏิชีวนะเกี่ยวข้องกับการลดลง 40% ของความเสี่ยงของการเสียชีวิตในโรงพยาบาล (RR, 0.60, 95% CI, 0.50-0.73) และลดลง 13% ของความเสี่ยงของการกลับมานอน รพ. ซ้ำภายใน 30 วัน สำหรับปอดอุดกั้นเรื้อรัง (RR, 0.87, 95% CI, 0.79-0.96)
ความเสี่ยงของการนอน รพ. ซ้ำเนื่องจาก Clostridium difficile ไม่มีความแตกต่างระหว่างทั้งสองกลุ่ม เราพบความแตกต่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ของผลลัพท์ของยาปฏิชีวนะสามตัวที่เลือกใช้บ่อยๆ
สรุป: จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการให้ยาปฏิชีวนะในการรักษาในผู้ที่ได้รับเตียรอยด์ร่วมด้วยจะมีประโยชน์ต่อผลลัพท์ในระยะสั้นที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีการกำเริบเฉียบพลัน
Ref: http://journal.publications.chestnet.org/article.aspx?articleid=1216510
CHEST. 2013;143(1):82-90
ที่มา: ยาปฏิชีวนะที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีการกำเริบเฉียบพลัน (AE-COPD) แต่ประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นของรักษารวมถึงในกรณีที่มีการใช้สเตียรอยด์ร่วมด้วยยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน โดยประเมินความสัมพันธ์ระหว่างยาปฏิชีวนะและผลลัพท์ในกลุ่มผู้ป่วยจำนวนมากที่รักษาด้วยสเตียรอยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการกำเริบเฉียบพลัน และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะสามชนิดที่ใช้กันทั่วไป
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังของผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ในโรงพยาบาลในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีการกำเริบเฉียบพลัน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2006 ถึง 1 ธันวาคม 2007 จาก 410 โรงพยาบาลซึ่งดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการเฉียบพลันทั่วทั้งสหรัฐอเมริกา
ผลการรักษา: มีผู้ป่วยจำนวน 53,900 คนที่เข้าได้กับเกณฑ์การคัดเลือก, 85% ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะใน 2 วันแรกของการรักษาในโรงพยาบาล, 50% ได้รับการรักษาด้วย quinolone, 22% ด้วยยา macrolides ร่วมกับ cephalosporin และ 9% ด้วยยา macrolide
เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ผู้ที่ได้รับยาปฏิชีวนะมีอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า (1% ต่อ 1.8%, p น้อยกว่า 0.0001), ในการวิเคราะห์หลายตัวแปรพบว่าการได้รับยาปฏิชีวนะเกี่ยวข้องกับการลดลง 40% ของความเสี่ยงของการเสียชีวิตในโรงพยาบาล (RR, 0.60, 95% CI, 0.50-0.73) และลดลง 13% ของความเสี่ยงของการกลับมานอน รพ. ซ้ำภายใน 30 วัน สำหรับปอดอุดกั้นเรื้อรัง (RR, 0.87, 95% CI, 0.79-0.96)
ความเสี่ยงของการนอน รพ. ซ้ำเนื่องจาก Clostridium difficile ไม่มีความแตกต่างระหว่างทั้งสองกลุ่ม เราพบความแตกต่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ของผลลัพท์ของยาปฏิชีวนะสามตัวที่เลือกใช้บ่อยๆ
สรุป: จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการให้ยาปฏิชีวนะในการรักษาในผู้ที่ได้รับเตียรอยด์ร่วมด้วยจะมีประโยชน์ต่อผลลัพท์ในระยะสั้นที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีการกำเริบเฉียบพลัน
Ref: http://journal.publications.chestnet.org/article.aspx?articleid=1216510
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)