ในเวชปฏิบัติพบผู้ป่วยที่มีปัญหากลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้เรื่อยๆ จึงทบทวนชนิดของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ พบดังนี้ครับ
-ปัสสาวะเล็ดเมื่อมีแรงดันในช่องท้อง (stress incontinence) เกิดจากการอ่อนแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (pelvic floor muscles) และ/หรือการทำงานไม่สมบูรณ์ของหูรูดท่อปัสสาวะ (urethral sphincter) ทำให้ปัสสาวะเล็ดระหว่างการออกกำลังกาย ไอ จาม หัวเราะ หรือมีการเคลื่อนไหวร่างกายซึ่งทำให้เกิดแรงดันเพิ่มขึ้นในกระเพาะปัสสาวะ สามารถเกิดได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง การคลอดบุตร หรือในวัยหมดประจำเดือน ในคนที่ได้รับการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก เช่น การทำ radical prostatectomy
-ปัสสาวะทันทีทันใดหลังปวดปัสสาวะ (urge หรือ urgency incontinence) เมื่อปวดปัสสาวะจะไม่สามารถกลั้นได้จนไปถึงห้องน้ำได้ทันเวลา เกิดจากเส้นประสาทที่ผ่านจากกระเพาะปัสสาวะไปยังสมองถูกทำลาย ทำให้เกิดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะอย่างทันทีทันใดโดยไม่สามารถกลั้นไว้ได้ สาเหตุได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง สมองเสื่อม อัลไซเมอร์ และมัลติเปิ้ล สเคลอโรซิส โดย urgency incontinence นี้เป็นสาเหตุหลักของ overactive bladder
-ชนิดไหลท้น (retention-overflow incontinence) เกิดจากการที่มีปริมาณปัสสาวะเกินความจุของกระเพาะปัสสาวะแล้วใหลล้นออกมา อาจเกิดจากเบาหวาน การบาดเจ็บบริเวณเชิงกราน การผ่าตัดบริเวณเชิงกราน อวัยวะในอุ่งเชิงกรานโผล่ยื่นออกมาในผู้หญิง ต่อมลูกหมากโตในผู้ชาย การบาดเจ็บไขสันหลัง งูสวัด มัลติเปิ้ล สเคลอโรซิส โรคพากินสัน หรือโปลิโอ
-ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่จากข้อจำกัดของร่างกาย (functional incontinence) เป็นการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่การสูญเสียความสามารถในการเดินไปห้องน้ำเพื่อถ่ายปัสสาวะ โรคสมอง-จิตประสาท เ่ช่น ภาวะซึมเศร้า ภาวะสมองเสื่อม ภาวะซึมสับสนเฉียบพลัน
-ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ชนิดผสม (mixed incontinence) เกิดจากการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ทั้งชนิด stress และ urgency โดยอาจจะมีชนิดหนึ่งรุนแรงกว่าอีกชนิดหนึ่ง การรักษาจะเป็นการรักษาร่วมกันขึ้นอยู่กับชนิดที่เป็นและความรุนแรงในผู้ป่วยแต่ละราย
Ref: http://www.nafc.org/bladder-bowel-health/types-of-incontinence/
http://203.157.184.5/researchcenter/download/06012010/10.pdf
http://www.li.mahidol.ac.th/thesis/2549/cd390/4436613.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น