หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

2,177 สรุปแนวทางคำแนะนำในการตรวจรักษาโรคไตจากเบาหวาน (diabetic nephropathy) โดย ADA 2013

คำแนะนำทั่วไป
-ให้การควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงหรือชะลอการดำเนินของโรคไต
-ให้การควบคุมความดันโลหิตให้ดีที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงหรือชะลอการดำเนินของโรคไต
การตรวจคัดกรอง
-ทำการตรวจประจำปีเพื่อประเมินอัลบูมินในปัสสาวะในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ที่ได้รับวินิจฉัยตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปและในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตั้งแต่เริ่มให้การวินิจฉัย
-ตรวจเครียตินิน (creatinine, Cr) อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานทั้งหมดโดยไม่คำนึงถึงระดับอัลบูมินในปัสสาวะ โดยเครียตินินควรจะนำใช้ในการประมาณค่าการอัตราการกรองของไต (glomerular filtration rate,GFR) และระดับของโรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease, CKD) ถ้ามีโรคไตเรื้อรังร่วมด้วย
การรักษา
-ในการรักษาของผู้ป่วยซึ่งไม่ได้ตั้งครรภ์ที่มีระดับอัลบูมินในปัสสาวะสูงพอประมาณ (30-299 มก./วัน) หรือสูงกว่า (ตั้งแต่ 300 มก./วัน) แนะนำให้การรักษาด้วยยา ACEIs หรือ ARBs
-การลดการบริโภคโปรตีนที่ 0.8-1.0 กรัม/กิโลกรัม/วันในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น และ 0.8 กรัม/กิโลกรัม/วัน ในผู้ที่มีโรคไตเรื้อรังระยะที่เป็นมากแล้ว อาจช่วยให้การทำงานของไตดีขึ้น (อัตราการขับอัลบูมินออกมาในปัสสาวะ, GFR) เป็นสิ่งที่แนะนำ
-เมื่อมีการใช้ ACEIs, ARBs, หรือยาขับปัสสาวะ ให้ติดตามระดับเครียตินินและโปแตสเซียม  เนื่องอาจจะมีการเพิ่มขึ้นของค่าทั้งสองได้
-ตรวจติดตามอัลบูมินในปัสสาวะอย่างต่อเนื่องเพื่อการประเมินการตอบสนองต่อการรักษาและการดำเนินของโรคถือว่าเป็นสิ่งที่มีเหตุผล
-เมื่อ eGFR น้อยกว่า 60 มล/นาที/1.73 ม2 ให้ทำการประเมินและให้การดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคไตเรื้อรังร่วมด้วย
-พิจารณาส่งต่อไปยังแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการดูแลของโรคไต ในกรณีที่ไม่ทราบแน่ถึงสาเหตุของโรคไต, มีความยากในการดูแลรักษาหรือในกรณีที่เป็นมาก

Ref: http://care.diabetesjournals.org/content/36/Supplement_1/S4.full

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น