อาจจะมีบางหน่วยงานที่ใช้การตรวจหาไมโครอัลบูมิน โดยการใช้แถบสีจุ่ม หรือ microalbuminuria strip test (ซึ่งไม่ใช่ dipstck สำหรับตรวจ macroalbumin ที่เคยได้ใช้แต่เดิมนะครับ) พอดีกำลังทำวิจัยเริ่องการโรคไตจากเบาหวาน จึงทบทวนเรื่องนี้ไว้ด้วยครับ
มีการศึกษาพบว่าหากใช้บุคลากรที่เชี่ยวชาญตรวจปัสสาวะหาปริมาณไมโครอัลบูมินด้วยวิธีใช้แถบสีจุ่ม (microalbuminuria strip test) ซึ่งเป็นการวัดเชิงกึ่งปริมาณ (semi-quantitative) จะมีความไว (sensitivity) ร้อยละ 95 และความจำเพาะ (specificity) ร้อยละ 93 ตามลำดับ ส่วนบางอ้างอิงพบมีความไวร้อยละ 80% - 97% , ความจำเพาะร้อยละ 33% - 80% และจะมีความไว 83% - 98%, ความจำเพาะ 59% - 86% ในกรณีที่ใช้แบบ qualitative ดังนั้นในกรณีที่ไม่สามารถตรวจหาปริมาณไมโครอัลบูมิน ในปัสสาวะด้วยวิธี quantitative ได้ การตรวจปัสสาวะโดยการใช้แถบสีจุ่ม (dipstick) แทน ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและให้ผลรวดเร็วแต่มีปัจจัยที่ทำให้ แต่มีข้อจำกัด คือ เป็นการตรวจหาความเข้มข้นของสารอัลบูมินโดยไม่ได้เปรียบเทียบกับความเข้มข้นของสารครีอะตินีนในปัสสาวะ จึงอาจจะเกิดความคลาดเคลื่อนได้หาก ปัสสาวะมีความเข้มข้นมาก หรืออาจเกิดผลบวกปลอม และผลลบปลอม หลายประการ เช่น กรณีที่ปัสสาวะมีความเข้มข้นสูง, ภาวะปัสสาวะเป็นเลือด, ภาวะปัสสาวะเป็นด่าง ดังนั้นถ้าตรวจตัวอย่างปัสสาวะด้วยวิธี microalbuminuria strip test แล้วพบไมโครอัลบูมินควรตรวจยืนยันด้วยการตรวจที่มีความจำเพาะมากกว่า โดยสถาบัน National kidney Foundation (NKF) รวมถึงคู่มือการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น ปี 2555 โดยสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยยอมรับการใช้แถบสีจุ่มในการตรวจคัดกรองโปรตีนในปัสสาวะ
Ref: http://www.dms.moph.go.th/imrta/images/pdf_cpg/2553/53-3.pdf
http://www.mukhos.go.th/site/data/research_1333503317_sutep.pdf
http://www.smj.ejnal.com/e-journal/showdetail/?show_detail=T&art_id=1181
http://www.kidney.org/professionals/kdoqi/guidelines_ckd/p5_lab_g5.htm
http://bestpractice.bmj.com/best-practice/monograph/875.html
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20214148
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น