หน้าเว็บ

วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

2,159 T4 toxicosis

พบผู้ป่วยหญิงอายุ 50 ปี มาด้วยอาการและอาการแสดงที่สงสัยภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ผลการตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์พบดังนี้ FT3 6.1 (N 2.39-6.97 ng/ml), TSH 0.01 (N 0.3-5.0 ng/ml) จึงได้ส่งตรวจ FT4 ต่อ ผลเท่ากับ 2.7 (N 0.6-1.6 ng/ml) 

ซึ่งภาวะนี้เรียกว่า T4 toxicosis โดยเป็นภาวะที่พบได้น้อย จึงได้ทบทวนการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่องนี้และทำให้ได้ทบทวนการเลือกตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ตามข้อมูลหลักฐานทางการแพทย์ด้วย
ซึ่งเป็นการศึกษาในประชากรคนไทย โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่ามีอุบัติการณ์ของภาวะ T3 toxicosis สูงถึง 16.02%, T4 toxicosis 2.91% สำหรับการวินิจฉัยภาวะต่อมธัยรอยด์เป็นพิษนั้น การเลือก FT3 กับ TSH เป็นวิธีที่ใกล้ เคียงกับ gold standard มากที่สุดคือค่าความไว 97.57% ค่าความจำเพาะ 100% เมื่อเปรียบเทียบกับการเลือก FT4 กับ TSH ซึ่งมีค่าความไว 83.98% ความจำเพาะ 100% ซึ่งจากการศึกษานี้สามารถมาใช้ในการเลือกตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์เป็นพิษสำหรับประเทศไทยว่า ควรเลือกตรวจด้วย FT3, TSH ส่วนการตรวจ FT4 ควรจะทำในลำดับต่อมาถ้าสงสัย T4 toxicosis ซึ่งทำให้เกิดความเหมาะสมในการวินิจฉัยภาวะต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ และช่วยลดค่าใช้จ่าย

Ref: http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082542000661

2 ความคิดเห็น:

  1. ใน area ที่ I เยอะ จะเจอ FT4 thyrotoxicosis มากกว่า
    ประเทศไทยเจอ FT3 thyrotoxicosis มากกว่า ???

    ตอบลบ
  2. ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมครับ

    ตอบลบ