Clinical therapeutics
N Engl J Med December 27, 2012
การบำบัดทดแทนไตชนิดที่ทำแบบต่อเนื่อง (continuous renal-replacement therapy) ได้แก่สเปกตรัมของวิธีการล้างไตซึ่งได้พัฒนาในช่วงปี 1980 สำหรับการรักษาผู้ป่วยหนักซึ่งมีการทำงานของไตบกพร่องเฉียบพลันที่ไม่สามารถรับการฟอกเลือดเป็นช่วงๆ แบบดั้งเดิม (traditional intermittent hemodialysis) ได้ โดยเฉพาะที่ระบบการไหลเวียนโลหิต (hemodynamic instability) ไม่คงที่ หรือในผู้ที่การฟอกเลือดเป็นช่วงๆ แบบดั้งเดิมไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายหรือการควบคุมเมตาโบลิซึมได้
การค่อยๆ กรองตัวถูกละลายออกอย่างช้าๆ และการดึงของเหลวออกต่อหน่วยของเวลาในการบำบัดทดแทนไตอย่างต่อเนื่องนี้เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดความมั่นคงของระบบไหลเวียนโลหิตดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการฟอกเลือดเป็นช่วงๆ แบบดั้งเดิม
ในทางปฏิบัติในปัจจุบันวงจรโลหิตสำหรับการบำบัดทดแทนไตอย่างต่อเนื่องโดยปกติจะเป็นวงจรระหว่างเส้นเลือดดำ-เส้นเลือดดำ เลือดดำถูกนำออกจากระบบไหลเวียนของผ่านทางรูด้านหนึ่งของอุปกรณ์ที่มีสองทาง (double-lumen), สายสวนที่มีรูขนาดใหญ่ซึ่งจะผ่านเข้าเครื่องสูบฉีดโลหิตที่เป็นลักษณะการบีบตัวอย่างต่อเนื่องเป็นช่วงๆ (peristaltic) ซึ่งจะก่อให้เกิดแรงซึมผ่านผลักดันเกิดการกรองของพลาสม่าโดยผ่านเยื่อบางๆ (ultrafiltration) ข้ามเยื่อชีวสังเคราะห์ (biosynthetic hemofiltration membrane) ซึ่งจะเป็นการดึงน้ำออก ตัวถูกละลายจะถูกนำออกโดยการนำพา (continuous venovenous hemofiltration) การแพร่ผ่าน (continuous venovenous hemodialysis) หรือทั้งสอง (continuous venovenous hemodiafiltration)
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-The Clinical Problem
-Pathophysiology and Effect of Therapy
-Clinical Evidence
-Clinical Use
-Adverse Effects
-Areas of Uncertainty
-Guidelines
-Recommendations
-Source Information
อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMct1206045
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น