การรักษาด้วยยา ACEIs หรือ ARBs ควรจะเริ่มที่ขนาดปานกลาง และขนาดยาสามารถจะเพิ่มขึ้นที่ 4 - 8 สัปดาห์ ร่วมกับการติดตามผลข้างเคียงอย่างเหมาะสม ซึ่งมีความหลากหลายเป็นอย่างมากของระยะเวลาในการออกฤทธิ์ของยา ACEIs ชนิดต่างๆ โดยถ้ามากกว่า 50% ของการออกฤทธิ์สูงสุดยังคงอยู่ที่ 24 ชั่วโมงจะสามารถให้วันละครั้ง ส่วนยาที่การออกฤทธิ์สูงสุดเหลือน้อยกว่า 50% ที่ 24 ชั่วโมง ควรจะให้วันละสองครั้ง การใช้ยาลดความดันโลหิตวันละครั้งจะเป็นที่นิยมมากกว่า เนื่องจากการยอมรับและสามารถปฏิบัติตามได้ของผู้ป่วย ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพของการรักษา และมีความผันผวนของระดับความดันโลหิตที่อยู่ในระดับปกติน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการให้วันละสองครั้ง
โดยการปรับยาเพื่อควบคุมให้ได้ตามเป้าหมาย ได้แก่ความดันโลหิต ปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ ซึ่งยา ACEIs หรือ ARBs สามารถลดการขับโปรตีนลงได้ประมาณ 35-40% โดยในแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2555 ได้เขียนไว้ว่า
-ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงซึ่งพบโปรตีนในปัสสาวะ ควรปรับยาจนปริมาณโปรตีนถึงเป้าหมายโดยให้อัตราส่วนโปรตีนต่อครีอะตินินในปัสสาวะ (urine protein/creatinine ratio-UPCR) น้อยกว่า 0.5-1.0 กรัม/กรัมครีอะตินิน
-ในผู้ป่วยเบาหวานควรลดปริมาณโปรตีนให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้
-ผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน และยังคงมีปริมาณโปรตีนในปัสสาวะสูงกว่าเป้าหมาย อาจพิจารณาให้ ACEIs ร่วมกับ ARBs ได้ และควรได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด หรืออยู่ในการดูแลของอายุแพทย์โรคไต
-ซึ่งระดับความดันโลหิตที่ช่วยชลอดำเนินของโรคไตโดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง (chronic kidney diseaseม CKD) หรือเป็นเบาหวาน คือน้อยกว่า 130/80 มม.ปรอท
แนวทางการรักษาโรความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2555
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2554
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น