ในเวชปฏิบัติยังพบเห็นการให้ FFP เพื่อทดแทนภาวะการขาดอัลบูมินเป็นบางครั้ง
ซึ่งจากการสืบค้นพบว่า ในผู้ป่วยซึ่งขาดอัลบูมิน ควรสั่งให้สารละลายอัลบูมิน (human albumin solution) ไม่ควรให้ fresh frozen plasma (FFP) เพราะใน FFP มีอัลบูมินน้อย โดยจากการศึกษาพบว่าใน FFP 100 มล. มีโปรตีน 5.5 กรัม โดยเป็นอัลบูมิน 60% (ดังนั้นคิดเป็นอัลบูมิน 3.3 กรัม) ส่วนสารละลาย 25% อัลบูมิน 1 ขวด 50 มล.จะมีอัลบูมิน 12.5 กรัม และยังเสียงต่อการเกิดโรคติดเชื้อด้วย นอกจากนั้นการให้ FFP ปริมาณมากๆ อย่างรวดเร็ว อาจพบปฏิกิริยาแพ้เฉียบพลัน และรุนแรงถึงกับเสียชีวิตได้ รวมถึงต้องมีการตรวจเพื่อให้ตามหมู่ ABO และมีการตรวจคัดกรองแอนติบอดี้ใน FFP ก่อนให้ โดยในแนวทางหรือคู่มือการใช้โลหิตและส่วนประกอบของโลหิตต่างๆ ก็ไม่ได้กล่าวถึงข้อบ่งชี้นี้และยังเป็นข้อห้ามด้วย ซึ่งอัลบูมินถึงแม้จะได้จากผู้บริจาคโดยนำพลาสมามารวมกัน แล้วผ่านกระบวนการแยกทางอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสมา (plasma fractional) และมีขั้นตอนการทำลายเชื้อโรค ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อน้อยมาก
อ้างอิง -คู่มือบริการงานธนาคารเลือด โรงพยาบาลราชวิธี
-การใช้โลหิตและส่วนประกอบโลหิตอย่างเหมาะสม, คู่มือแพทย์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3943320
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น