หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

2,095 ข้อควรทราบเรื่อง ocular myasthenia gravis

พบผู้ป่วยชายหนังตาซ้ายตก ได้ตรวจร่างกาย ตรวจทางห้องปฏฺบัติการและการถ่ายภาพรังสีแล้วสงสัยว่าอาจจะเป็น ocular myasthenia gravis (MG) จึงสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้พอจะสรุปได้ดังนี้ครับ

-ผู้ป่วยอาจจะเห็นภาพซ้อนเนื่องจากความผิดปกติกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวลูกตา หรือมองเห็นภาพไม่ชัด หรือมีหนังตาตก อาจจะเกิดขึ้นกับตาข้างเดียวหรือทั้งสองตาก็ได้ โดยความรุนแรงมีได้มากน้อยแตกต่างกัน มักมีการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงของวันหรือในแต่ละวัน โดยมักจะเป็นมากในช่วงท้ายของวันหรือหลังจากการใช้งานเป็นเวลานาน อาจดีขึ้นได้ด้วยการพักปิดตาชั่วคราว ผู้ป่วยมักจะไม่มีปัญหาการกลืนลำบาก การพูด การหายใจ หรือการอ่อนแรง แขนขา และถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะมีปัญหาเฉพาะที่ตา แต่ประมาณครึ่งหนึ่งจะเกิดมีกล้ามเนื้ออ่อนแรงแบบทั่วๆ และถ้าเกิดเฉพาะที่ตาเป็นเวลา 5 ปีขึ้นไปแล้วมักจะไม่เกิดมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง
-เหตุผลที่ว่าทำไมมักเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อตา ยังไม่เป็นที่เข้าใจนัก แต่มีสมมติฐานว่าผู้ป่วยมักจะสังเกตได้ที่ตาแม้จะมีการอ่อนแรงเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับที่อื่น ส่วนสมมติฐานอื่นๆ กล่าวว่ากล้ามเนื้อของหนังตามีโครงสร้างที่แตกต่างไปจากกล้ามเนื้อที่อื่นๆ ของร่างกาย เช่น อาจจะมี acetylcholine receptors น้อยกว่า หรือการที่กล้ามเนื้อเกี่ยวกับตามีการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วกว่ากล้ามเนื้ออื่นๆ จึงทำให้อ่อนล้าได้ง่ายกว่า หรือการตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันที่แตกต่างกันของกล้ามเนื้อ ซึ่งสามารถอธิบายได้โดยการเป็นอวัยวะเป้าหมายดังเช่นในโรคภูมิคุ้มกันต่อตนเองของอวัยวะอื่นๆ เช่น autoimmune thyroid disease
-การรักษา จะต้องให้เกิดสมดุลย์ระหว่างความรุนแรงกับความเสี่ยงและประโยชน์ที่ได้รับ โดยถ้าอาการไม่รุนแรงอาจพิจารณาการ เช่น การใส่แว่นดำในช่วงแสงจ้า, การใช้เทปชนิดพิเศษในการดึงหนังตาร่วมกับการใช้ยาเปลี่ยนแปลงระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ glucocorticoids (prednisone หรือยาที่คล้ายคลึงกัน), azathioprine (Imuran®), cyclosporine หรือ mycophenolate mofetil, ใช้ eyelid crutches ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ติดอยู่กับแว่นตาและช่วยในการพยุงหนังตาขึ้น และการใช้ eyeglass prisms ถ้ามองเห็นภาพซ้อน
ในกรณีที่เป็นรุนแรง ยาที่ทำให้ neuromuscular transmission ดีขึ้น เช่น mestinon® ซึงมักจะได้ประโยชน์ในกรณีหนังตาตก แต่มักไม่ค่อยได้ประโยชน์ในกรณีมองเห็นภาพซ้อน การผ่าตัดไทมัสออก (thymectomy) มักจะไม่ทำใน ocular MG ยกเว้นว่ามีอาการรุนแรงหรือเกิดการสูญเสียสมรรถภาพการทำงาน การผ่าตัดหนังตาหรือกล้ามเนื้อกลอกตามักเป็นข้อห้ามในผู้ปวย MG

Ref: http://www.myasthenia.org/LinkClick.aspx?fileticket=uT52jMdiL6I%3D

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น