ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การพบ microalbuminuria อาจเกิดช่วงใดก็ได้เนื่องจากไม่ทราบระยะเวลาที่แน่ชัดก่อนการวินิจฉัยเบาหวาน โดยพบว่าประมาณร้อยละ 10 - 30 ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัย จะพบว่ามีโปรตีนในปัสสาวะอยู่แล้ว โดยที่ร้อยละ 75 ของผู้ป่วยจำนวนนี้เป็นระยะ microalbuminuria และร้อยละ 25 ได้กลายเป็นระยะ overt diabetic nephropathy ไปแล้ว แต่ผู้ป่วยไม่ทราบ โดย overt diabetic nephropathy หมายถึงการมีโปรตีนในปัสสาวะมากกว่า 300 มก./วัน (บางแนวทางใช้ที่ 500 มก/วัน) หรืออาจเรียกว่า clinical proteinuria หรือ macroproteinuria ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการบวม ความดันโลหิตสูง หลังจากนั้นหน้าที่การกรองของไตจะค่อยๆ ลดลง จนในที่สุดผู้ป่วยจะเข้าสู่ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (end stage renal disease)
ดังนั้นการตรวจหาภาวะ microalbuminuria ในปัสสาวะได้ตั้งแต่ระยะแรกของการเกิดโรคไตจากเบาหวาน จึงอาจมีความสำคัญในเชิงการป้องกันการดำเนินโรคไปสู่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยถ้าตรวจด้วย dipstick หากได้ผลบวก (มากกว่าหรือเท่ากับ 1+) ควรตรวจซ้ำเพื่อยืนยัน และเมื่อยืนยันผลแล้ว แสดงว่าผู้ป่วยน่าจะมีโรคแทรกซ้อนของไตจากเบาหวานแล้ว ควรประเมินการทำงานของไตและให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป ถ้าให้ผลลบให้ตรวจเพื่อหา microalbuminuria ต่อตามวิธีและขั้นตอนต่อไปซึ่งสามารถอ่านได้จากอ้างอิงข้างล่าง
Ref: แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2554
http://care.diabetesjournals.org/content/28/1/164.full
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น