วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

2,110 Resistant hypertension

Clinical review 
BMJ 2012; 345:e7473


Summary points
ความดันโลหิตสูงที่ดื้อต่อการรักษา (resistant hypertension) มีนิยามคือเป็นความดันโลหิตสูงที่ยังไม่สามารถควบคุมได้แม้ว่าจะให้การรักษาด้วยยาอย่างน้อย 3 ชนิด (ซึ่งโดยปกติจะมียาขับปัสสาวะอยู่ 1 ตัว) ในขนาดที่สามารถทนได้ดีที่สุด การวินิจฉัยความดันโลหิตสูงที่ดื้อต่อการรักษาควรจะทำหลังจากการประเมินอย่างละเอียดเพื่อตัดภาวะความดันโลหิตสูงที่ดื้อต่อการรักษาแบบหลอก (pseudo-resistant hypertension) ออกไป
การศึกษาและวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่าความดันโลหิตสูงที่ดื้อต่อการรักษาอยู่ที่ 10-20% ของประชากรที่เป็นความดันโลหิตสูงทั่วไป ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงที่ดื้อต่อการรักษากือบ 50% มีแนวโน้มที่จะมีเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ของหัวใจและหลอดเลือดเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้โดยยา 3 ชนิดหรือน้อยกว่าลงมา
จากการศึกษาระบุว่า 5-10% ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ดื้อต่อการรักษาจะมีความชุกของโรคเดิมพื้นฐานเดิมที่ก่อให้เกิดความดันโลหิตสูง (underlying secondary cause) ซึ่งทำให้ความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญมากกว่าประชากรที่เป็นความดันโลหิตสูงทั่วไป
ไม่มีการทดลองทางคลินิกที่เทียบประสิทธิภาพของสูตรยาที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการรักษาความดันโลหิตที่ดื้อต่อการรักษา จากหลักฐานที่ดีที่สุดที่มีอยู่ซึ่งสนับสนุนการใช้ spironolactone ในขนาดต่ำ โดยเป็นยาที่น่าใช้เป็นอันดับที่สี่ ถ้าระดับโพแทสเซียมเลือดของผู้ป่วยน้อยกว่าหรือเท่ากับ 4.5 mmol / L
การมีระดับโพแทสเซียมสูงในเลือด การให้การรักษาด้วยยา thiazide-like diuretic ควรจะได้รับการพิจารณา
การรักษาด้วยวิธี renal sympathetic denervation เป็นการรักษาที่มีแนวโน้มซึ่งอาจจะกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนการในการจัดการความดันโลหิตสูงที่ดื้อต่อการรักษา

Ref: http://www.bmj.com/content/345/bmj.e7473

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น