November 2012 vol. 79 11 797-806
Abstract
การลดลงของฮอร์โมนเพศชาย (testosterone) ตามอายุที่มากขึ้นมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและอายุขัย แม้ความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุและผลอาจจะยังไม่ชัดเจนนัก ในขณะที่วัยหมดประจำเดือนของผู้หญิงเป็นไปอย่างรวดเร็วและสามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน "วัยหมดประจำเดือนของผู้ชาย" (male menopause) โดยแอนโดรเจนในผู้ชายที่มีอายุมากจะค่อยๆ ลดลง และไม่มีอาการที่จำเพาะ จึงทำให้การวินิจฉัยโรคจากการขาดฮอร์โมนเพศชายที่แท้จริงและการทำนายการตอบสนองต่อการบำบัดทดแทนฮอร์โมนเพศชาย (TRT) เป็นสิ่งที่ท้าทาย
(testosterone เป็นฮอร์โมน androgen ชนิดหนึ่ง)
Key points
-ประโยชน์ต่อสุขภาพทั่วไปและความปลอดภัยของ การให้ฮอร์โมนทดแทนในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการยังไม่มีการกำหนดอย่างชัดเจนจากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน
-การรักษาภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำโดยที่ยังไม่มีอาการทางคลินิกเป็นสิ่งที่ยังไม่แนะนำ
-การตรวจดูระดับฮอร์โมนเพศชายในช่วงเช้า ควรจะได้รับการทำภายหลังจากพิจารณาตัดสาเหตุอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดอาการออกไปแล้ว และควรจะตรวจซ้ำเพื่อยืนยันการขาดแอนโดรเจน
-การขาดแอนโดรเจนในผู้ชายที่มีอายุมากมีความเกี่ยวข้องกับ metabolic syndrome, เบาหวานชนิดที่ 2, โรคอ้วน, โรคกระดูกพรุนโรค, ไตวาย, โรคโลหิตจาง และการที่เคยได้รับการรักษาด้วยสเตียรอยด์หรือโอปิออยด์มาก่อน
-การให้ฮอร์โมนทดแทนในผู้ชายที่มีประวัติมะเร็งต่อมลูกหมากยังเป็นที่โต้แย้ง ข้อมูลเท่าที่มีอยู่อย่างจำกัดแสดงให้เห็นว่าการให้ฮอร์โมนทดแทนมีความปลอดภัยหลังจากให้การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากหายแล้ว ผู้ป่วยที่ได้รับรักษาควรจะมีการติดตามอย่างใกล้ชิดและได้รับการแจ้งข้อมูลให้ทราบถึงความเสี่ยงที่อาจดำเนินไปมากขึ้นของโรคมะเร็งและการกลับเป็นซ้ำในขณะที่ได้รับการให้ฮอร์โมนทดแทน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น