มีผู้ป่วยหญิงซึ่งสงสัยว่าอาจจะเป็น multiple sclerosis (MS) จึงส่งต่อ รพศ. ผลการตรวจวินิจฉัยพบว่าเป็น
multiple sclerosis จริง จึงสืบค้นเรื่องการวินิจฉัยพบดังนี้ครับ
ไม่มีการตรวจอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะสามารถให้การวินิจฉัยได้ การวินิจฉัยผู้ป่วยจะอาศัยข้อมูลหลักฐานได้แก่
1. มีอย่างน้อย 2 ตำแหน่งของรอยโรคที่แตกต่างกัน (plaques หรือ scars) ใน white matter matter (long tract damage) ของระบบประสาทส่วนกลาง (เป็นเกณฑ์ที่ช่วยบอกว่ามีการกระจายของตำแหน่งในการเกิดโรค)
2. มีอย่างน้อย 2 ช่วงเวลาที่แตกต่างกัน โดยมีช่วงแสดงอาการสลับกับช่วงพัก (เป็นเกณฑ์ที่ช่วยบอกว่ามีการกระจายของระยะเวลาของตำแหน่งในการเกิดโรค)
3. มีการอักเสบเรื้อรังของระบบประสาทส่วนกลาง จากการตรวจน้ำไขสันหลัง (เป็นเกณฑ์ที่ช่วยบอกว่ามีการอักเสบ)
การพบมีตั้งแต่หนึ่งเกณฑ์ขึ้นไปจะให้การวินิจฉัย MS ซึ่งอาจจะปรับเปลี่ยนสอดคล้องกับผลที่เกิดจากการดำเนินของโรค คณะทำงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับการวินิจฉัยของ MS แนะนำว่าเกณฑ์ที่ช่วยบอกว่ามีการกระจายของระยะเวลาควรได้รับการยืนยันโดยอาการแสดงทางคลินิกโดยการใช้ MRI ร่วมด้วย อย่างน้อย 3 เดือนหลังจากเหตุการณ์ทางคลินิกก่อนหน้านี้หรือ MRI ก่อนหน้านี้ และคณะทำงานยังแนะนำว่าเกณฑ์ที่ช่วยบอกว่ามีการอักเสบ สามารถใช้ทดแทนเกณฑ์ที่ช่วยบอกว่ามีการกระจายของตำแหน่ง เมื่อต่อมามีการขาดหายของลักษณะในระดับคลินิกและ paraclinical
ซึ่งการจะวินิจฉัยแพทย์ควรจะ
-พบหลักฐานของความเสียหายอย่างน้อย 2 ตำแหน่งที่แตกต่างกันในระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ สมอง, ไขสันหลัง และเส้นประสาทสมองคู่ที่ 2 (optic nerves)
-ระบุได้ว่ามีตำแหน่งความเสียหายที่เกิดขึ้นห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน
-ตัดสาเหตุอื่นๆ ที่อาจจะเป็นไปได้ออกไป
-สังเกตว่าอาการล่าสุดนานกว่า 24 ชั่วโมง และเกิดขึ้นในช่วงที่แตกต่างกันโดยห่างกันตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป
-ทำการตรวจด้วย MRI (เป็นวิธีการตรวจที่มีความไวสำหรับการตรวจ MS)
-ทำการตรวจโดยการเจาะน้ำไขสันหลังและตรวจหา oligoclonal bands
ซึ่งยังมีรายละเอียดในส่วนของการวินิจฉัย สามารถศึกษาได้เพิ่มเติมจากอ้างอิงตามลิ้งค์ครับ
Ref: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3351877/
http://sichon.wu.ac.th/file/pt-shh-20081122-110621-l2383.doc
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น