Heart failure สามารถให้คำนิยามว่าเป็นความผิดปกติของโครงสร้างหรือการทำงานของหัวใจที่นำไปสู่ความล้มเหลวของหัวใจในการที่จะส่งออกซิเจนในอัตราที่เพียงพอกับความต้องการเพื่อการเมตาโบลิซึมของเนื้อเยื่อ ถึงแม้ว่า fillling pressures จะปกติ (หรือเพียงแต่มีเหตุให้ filling pressures เพิ่มขึ้น) สำหรับวัตถุประสงค์ของแนวทางนี้ ภาวะหัวใจล้มเหลวจะถูกนิยามในทางคลินิกว่าเป็นกลุ่มอาการซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการทั่วๆ ไป (เช่น หอบเหนื่อยหายใจไม่สะดวก ข้อเท้าบวม และมีความเหนื่อยล้า) และอาการแสดง (เช่น ความดันเลือดดำ jugular เพิ่มขึ้น มีเสียง crackles ที่ปอดและมีการเปลี่ยนตำแหน่งของ apex beat) เป็นผลที่เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างหรือการทำงานของหัวใจ
การวินิจฉัยภาวะหัวใจล้มเหลวอาจเป็นเรื่องยาก หลายอาการของภาวะหัวใจล้มเหลวไม่สามารถแยกได้ ดังนั้นจึงมีความจำกัดของการวินิจฉัย หลายๆ อาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดขึ้นจากโซเดียมและน้ำคั่งและสามารถดีขึ้นได้อย่างรวดเร็วด้วยการให้ยาขับปัสสาวะหรืออาจจะไม่มีอาการแสดงดังกล่าวในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา การแสดงให้เห็นถึงโรคที่เป็นสาเหตุพื้นฐานของหัวใจถือเป็นจุดสำคัญของการวินิจฉัยภาวะหัวใจล้มเหลว โดยมักจะเป็นโรคของกล้ามเนื้อหัวใจซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติของการบีบตัวของหัวใจห้องล่าง อย่างไรก็ตามความผิดปกติการทำงานของหัวใจห้องล่างในช่วงคลายตัวหรือของลิ้นหัวใจ, เยื่อหุ้มหัวใจชั้นนอก, เยื่อหุ้มหัวใจชั้นใน, จังหวะการเต้นของหัวใจ และการนำกระแสไฟฟ้าหัวใจก็สามารถทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ (และอาจมีมากกว่าหนึ่งของความผิดปกติก็ได้) การระบุโรคพื้นฐานที่ก่อให้เกิดปัญหาของหัวใจยังเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการให้การรักษา เช่นเดีนวกับพยาธิวิทยาที่ถูกต้องจะกำหนดรักษาที่เฉพาะเจาะจง (เช่นการผ่าตัดสำหรับโรคลิ้นหัวใจ, การรักษาด้วยยาที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการทำงานที่ผิดปกติในช่วงการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย เป็นต้น)
Ref: http://www.escardio.org/guidelines-surveys/esc-guidelines/GuidelinesDocuments/Guidelines-Acute%20and%20Chronic-HF-FT.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น